moomiกะป้าบวม
นางสาว ชุติมา พรหมศร/ บงกช พิณทอง

วัยใส...


เรียนรู้...เข้าใจเรื่องเพศศึกษา

          หลายวัยก่อนมีโอกาสเข้าไปเป็นช่วยโครงการส่งเสริมวัยใสเรียนรู้และเข้าใจเรื่องเพศศึกษา ซึ่งเป็นโครงการของป้าหน่อย(คนสวย)ของเด็กๆ วัตถุประสงค์ของโครงการนี้เป็นไปตามชื่อของโครงการ คือ เพื่อให้เด็กๆที่เริ่มเข้าสู่วัยรุ่นได้เรียนรู้และเข้าใจเรื่องเพศศึกษา ในครั้งนี้มีเด็กๆเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 9 คนซึ่งมีอายุอยู่ระหว่าง 10 - 14 ปี ส่วนวิทยากรที่เข้ามาช่วยจัดกิจกรรมก็ยังคงเป็น "ป้าแบน กะ ลุงศักดิ์" แล้วก็มีป้าเจี๊ยบกะmoomiเป็นผู้ช่วยป่วน เอ๊ย ผู้ช่วยวิทยากร

          ก่อนเริ่มกิจกรรม ป้าแบนได้ทำข้อตกลงกับเด็กๆว่าเราจะใช้เวลากันนานเท่าไหร่? เด็กๆอยากจะเรียนรู้อะไรกันบ้าง? ซึ่งเด็กๆได้ให้คำตอบกับป้าแบนว่า "เราจะเลิกทำกิจกรรมกันในเวลา 15.00 น. (moomiแอบได้ยินเด็กๆบางคนบอกมาแค่ 2 ชั่วโมงเองเหรอ...น้อยไปไหมเนี่ย) และอยากเรียนรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์กับเพศศึกษา

          กิจกรรมแรก ป้าแบนกระตุ้นให้เด็กๆช่วยกันแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่อไปนี้

  1. สิ่งที่วัยรุ่นอยากรู้หรือกังวลเกี่ยวกับเพศมีอะไรบ้าง (เด็กๆบอกว่า เรื่องการอนาจารทางเพศกับการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร)
  2. วัยรุ่นเรียนรู้เรื่องเพศจากที่ไหน / จากใคร (ข้อนี้เด็กๆบอกว่า จากรายการทางโทรทัศน์ พ่อ-แม่ เพื่อน คอมพิวเตอร์ หนังสือ ครู)
  3. เพศศึกษาคืออะไร (เด็กๆบอกว่าเป็การศึกษาเรื่องเพศ)
  4. สถานการณ์ / ปัญหาทางเพศที่อาจเกิดขึ้นกับวัยรุ่น มีอะไรบ้าง (เด็กๆบอกว่า การข่มขืน การชกต่อย เอาหินปารถ...อันนี้ไม่แน่ใจว่าเกี่ยวกันอย่างไง?)

          กิจกรรมต่อไปเป็นเรื่อง "ร่างกายของเรา" คราวนี้ป้าแบนมีภาพวาดรูปคนแต่ยังขาดอวัยวะให้เด็กๆช่วยกันเติม แต่ก่อนจะเริ่มกิจกรรมป้าแบนได้โชว์รูป(เขียน)อวัยวะให้เด็กๆดูและตอบว่าคืออะไร ซึ่งเด็กๆก็ช่วยกันตอบอย่างชัดถ้อยชัดคำ จนมาถึงรูป(เขียน)อวัยวะเพศหญิงและอวัยวะเพศชาย เราแอบสังเกตเห็นเด็กบางคนมีท่าทีเขินอาย บางคนยิ้ม/หัวเราะแก้เก้อ แต่ไม่มีใครยอมตอบว่าที่เห็นนั้นคือรูปอะไร คราวนี้ก็เดือดร้อนทั้งป้าแบนและลุงศักดิ์ต้องกระตุ้นให้เด็กๆตอบ (คงเพื่อให้เด็กๆได้เรียนรู้ว่าการพูดเรื่องเพศเป็นเรื่องธรรมชาติ) ผ่านไปเกือบ 5 นาทีพวกเราก็ได้ยินเสียงกระซิบเบามาว่า..."มันเรียกว่า...ครับ"

          หลังจากนั้นป้าแบนก็ให้เด็กๆช่วยกันแต่งเติมอวัยวะที่ขาดหายไป แล้วให้เด็กๆออกมาพูดให้เพื่อนๆฟังว่า รูปที่เราแต่งเติมนั้นเป็นรูปผู้หญิงหรือผู้ชาย แล้วจากวัยเด็กไปสู่วัยรุ่น มีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง เด็กๆก็ยังคงมีอาการเขินอายอยู่บ้างแต่น้อยลงกว่าครั้งแรก

          กิจกรรมตอบคำถามเป็นกิจกรรมถัดไป คราวนี้ป้าแบนมีคำถามถามเด็กๆทั้งหมด 8 ข้อ โดยแต่ละข้อจะมีคำตอบให้เลือกคือ ใช่ ไม่ใช่ และไม่แน่ใจ ซึ่งข้อไหนที่เด็กๆยังไม่เข้าใจหรือเข้าใจผิดป้าแบนก็จะอธิบายให้เด็กๆฟัง อย่างเช่น ประจำเดือนคืออะไร ตัวอสุจิ (ซึ่งลุงศักดิ์บอกว่ามันคือตัวกำเนิดทารก) หน้าตาเป็นอย่างไร

          จากนั้น ป้าแบนก็ให้เด็กๆเป็นจราจรคอยยกป้ายวงกลม: สีแดงคือหยุด สีเหลืองคือไม่แน่ใจ สีเขียวคือไป โดยป้าแบนก็มีคำถามให้เด็กๆช่วยกันคิดและตอบ เช่น เด็กๆควรไปเล่นในที่เปลี่ยว / ในที่ที่ไม่มีคน (คำตอบในข้อนี้ก็คือ สีแดง (เด็กๆไม่ควรไปเล่นในที่เปลี่ยวเพราะอาจถูกทำร้าย) เป็นต้น

          กิจกรรมสุดท้าย คือ การพับกล่องเพื่อเก็บความฝันของเรา (บางคนบอกว่าเป็นกล่องวิเศษ) โดยป้าแบนจะให้เด็กๆวาดรูปสิ่งที่ตัวเองฝันอยากเป็น จากนั้นก็ใช้กระดาษที่วาดพับเป็นกล่องเพื่อเก็บความฝันนั้นไว้

          การที่เข้ามาช่วยทำกิจกรรมในครั้งนี้ ทำให้เราอดชื่นชมป้าแบนและลุงศักดิ์ไม่ได้ เพราะทั้งคู่ค่อนข้างเข้าใจธรรมชาติของเด็ก ไม่ว่าเด็กจะเข้าใจในเรื่องนั้นๆไม่ถูกต้อง แต่ก็ไม่ได้ยินคำตำหนิหรือคำว่า "เป็นคำตอบที่ผิด" เลย ทำให้เด็กๆกล้าพูดคุย ไม่เคอะเขิน หรือรู้สึกอายถ้าตอบผิด ซึ่งอาจถือว่าเป็นจุดสำคัญจุดหนึ่งหากต้องพูดเรื่องเพศกับเด็กๆ เพราะถ้าเด็กๆรู้สึกว่าเรื่องเพศเป็นเรื่องที่น่าอาย หรือผู้ใหญ่เห็นว่าความเข้าใจผิดของเด็กๆเป็นเรื่องขบขัน ก็จะทำให้เด็กๆก็คงไม่กล้าพูดหรือกล้าถามอีกเลย

หมายเลขบันทึก: 171191เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2008 21:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

มาเก็บเกี่ยวค่ะ

กิจกรรมน่าสนใจจัง  อิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท