Eagle Model….ฝันให้ไกล...ไปให้ถึง...


ไม่ผูกมัด...แต่ผูกพัน..

                 Eagle Model หรือ โมเดล นกอินทรีย์ ซึ่งเป็นผลงานที่เกิดจาก อ. ชลภัสส์ วงษ์ประเสริฐ์  จาก ม. รังสิต ให้นศ.ออกแบบโมเดล ซึ่งเป็นปัจจัยสู่ความสำเร็จขององค์กร ในหน่วยงานตนเอง ซึ่งโมเดลนกอินทรีย์นี้ เป็นโมเดลในฝัน...ซึ่งอยาก ฝันให้ไกล....และไปให้ถึง...ดังนี้

            ตัวแบบและขบวนการต่างๆที่นำมาใช้ในการที่จะนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จเพื่อเป็นแนวทางนำไปสร้างโมเดล                                                                                                       

Peter Senge

Michael marquaedt

David a gavin

คิดอย่างเป็นระบบ

( System thanking)

การปรับเปลี่ยนองค์กร

(Organization transformation)

การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ

( System Problem Solving)

ความมุ่งมั่นใฝ่รู้

(Personal mastery)

การจัดการความรู้

(Knowledge Management)

การทดลองใช้วิธีการใหม่ๆ

(Experimentation with new  

     Approaches)

ความฝังใจ

( Mental Model)

การใช้เทคโนโลยี

(Technology application)

การเรียนรู้จากประสบการณ์ของตนและเรื่องในอดีต

(Learning form their own Experience and past history)

การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน

(Share vision)

การเพิ่มอำนาจบุคคล

(People Empowerment)

 

การเรียนรู้จากประสบการณ์และ best practice ของผู้อื่น

(Learning for the Experience and best practice of other  )

การเรียนรู้เป็นทีม

( Team Learning)

 

พลวัตแห่งการเรียนรู้

(Learning Dynamics)

การถ่ายทอดความรู้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

(Transferring Knowledge quickly and efficiently  )

 

KM Process

Management Activity

Change Management

1.       การบ่งชี้ความรู้

2.       การสร้างและแสวงหาความรู้

3.       การจัดความรู้ให้เป็นระบบ

4.       การประมวลและกลั่นกรองความรู้

5.       การเข้าถึงความรู้

6.       การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้

7.       การเรียนรู้

1.       การวางแผน

2.       การประสานงาน

3.       การควบคุม

4.       การตัดสินใจ

1.       การเตรียมการและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

2.       การสื่อสาร

3.       กระบวนการและเครื่องมือ

4.       การเรียนรู้

5.       การวัดผล

6.       การยกย่องชมเชยและให้รางวัล

                   

                  จากตัวแบบของ Peter Senge , Michael marquaedt , David a gavin และ การนำ KM Process , Management Activity , Change Management  นำมาปรับใช้พัฒนาองค์กรออกมาโดยการใช้การผสมผสานและวิเคราะห์ออกแบบองค์กร เป็น

 

                                              Eagle Model หรือ นกอินทรีโมเดล

อวัยวะ

ความหมาย

ดวงตา  ที่แหลมคม มองเห็นได้กว้างไกล

เปรียบเหมือน ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ กว้างไกล และสามารถนำองค์กรไปสู่เป้าหมายและยุทธ์ศาสตร์ที่วางไว้

ส่วนหัว  เหมือนศูนย์บัญชาการ

เปรียบเหมือน Knowledge Assets ที่จะนำองค์กรไปสู่ความก้าวหน้าและเป็น LO ทำให้สามารถสร้าง Innovation ใหม่ๆ

ปาก  เพื่อความอยู่รอดขององค์กร

เปรียบเหมือน Change Management ซึ่งต้องปรับตัวเพื่อให้องค์กรอยู่รอด

ลำตัว  ซึ่งอยู่ส่วนกลาง

เปรียบเหมือน กระบวนการจัดการความรู้ (KM Process) เป็นเครื่องมือที่ใช้พัฒนาองค์กร

ปีก 2 ข้าง  ใช้ในการขับเคลื่อน

เปรียบเหมือน เทคโนโลยีที่ใช้ในการขับเคลื่อน ขององค์กรให้การจัดการความรู้มีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จ

หาง  ช่วยในการทรงตัวและการขับเคลื่อน

เปรียบเหมือน Knowledge Sharing

เท้าและกรงเล็บ  เป้าหมาย

เปรียบเหมือน Goals โดยใช้ Management Activity

 

 

เหตุผลที่เลือกใช้ นกอินทรีย์เป็นโมเดล

1.      การที่เลือกนก เป็นโมเดล เนื่องจากนกเป็นตัวแทน ความอิสระทางความคิด ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ไม่อยู่ในกรอบความคิดที่ถูกจำกัด ไม่ผูกมัดทางความคิด แต่ผูกพันในองค์กร

2.      ส่วนที่เลือกนกอินทรีย์ เป็นตัวแทนขององค์กร เนื่องจาก นกอินทรีย์เป็นผู้นำที่ดูแล้ว สง่างาม มีอำนาจ เวลาบินงดงามน่าดู และมีดวงตาที่แหลมคม มองเห็นกว้างไกล เปรียบเหมือนวิสัยทัศน์ของผู้นำองค์กร ที่จะนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ ทำให้เห็นมุมมองที่กว้างไกลและลุ่มลึก

3.      ในสภาวะการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจเช่นนี้ ความอยู่รอดขององค์กรเป็นสิ่งสำคัญ  และนกอินทรีย์ ก็มีความสามารถปรับตัว ในการอยู่รอดไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใด

ผู้เขียนเป็นเพียงฟันเฟืองตัวเล็กๆขององค์กร หรืออาจจะเป็นเพียงขนนก 1 อัน บนตัวนกอินทรีย์ แต่ผู้เขียนอยากเห็น Eagle Model  กลายเป็นโมเดลขององค์กรแห่งความเป็นจริง ไม่รู้ว่าจะฝันไปหรือเปล่า?  ..แต่ถึงอย่างไร ก็อยาก..ฝันให้ไกล..ไปให้ถึง..

 

 

           

หมายเลขบันทึก: 169435เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2008 21:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤษภาคม 2012 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท