การประกันคุณภาพกับอาชีวศึกษา


ระบบประกันคุณภาพช่วยให้อาชีวศึกษาดีขึ้นจริงหรือ

 

          ในส่วนของอาชีวศึกษาซึ่งถูกจัดให้อยู่ในกระบวนการประกันคุณภาพ ที่ถูกประเมินโดย สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)  ก็คงหนีไม่พ้นคำถามว่าสถาบันอาชีวศึกษาจะจัดการอย่างไร จึงจะบรรลุวัตถุประสงค์ของสถาบันอย่างมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับทั้งจากภายในและภายนอก เช่น เป้าหมายของอาชีวศึกษาที่ต้องการพัฒนาคนให้เป็นผู้มี  "ฝีมือเป็นเยี่ยม  วิชาการเป็นเลิศ  คุณธรรมสูงยิ่ง " (วิทยาลัยเทคนิคสิชล: 2538) ชาวอาชีวศึกษาคงต้องมาช่วยกันคิดว่าจะจัดกระบวนการปฏิบัติอย่างไรให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวอย่างเป็นที่ยอมรับ ซึ่งคงต้องมาประเมินความเป็นจริงในปัจจุบันว่าสถาบันอาชีวศึกษาได้พยายามปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวอย่างมีคุณภาพเพียงใด เพราะภาพที่เห็นในขณะนี้ก็คือ "กองกระดาษ" จำนวนมากมายที่ชาวอาชีวศึกษารีบเร่งผลิตกันอย่างเป็นลํ่าเป็นสัน เพื่อนำ เสนอ "ความมีคุณภาพ...?" ให้ผู้ประเมินดู ซึ่งเป็นการเพียงพอหรือยังที่จะสร้างคุณภาพของการอาชีวศึกษาได้ เมื่อมองย้อนกลับไปพิจารณาเป้าหมายของการอาชีวศึกษาจะพบว่าทั้งหมดมุ่งเน้น ไปที่ความมีคุณภาพของผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็น ทักษะ คุณธรรม วิชาการ การใช้เวลา ล้วนปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นคุณสมบัติที่ชาวอาชีวศึกษาหวังให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนทั้งสิ้น ดังนั้นการประกันคุณภาพบนแผ่นกระดาษจะทำให้เกิดสิ่งที่คาดหวังได้หรือไม่

 

หมายเลขบันทึก: 168788เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2008 10:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท