PTOT Meeting ครั้งที่ 11


ขอขอบคุณสำหรับผู้เข้าร่วมประชุมและความคิดเห็นจากทุกๆท่าน นะคะ หัวข้อในวันนี้ที่ได้คุยกันมี 2 หัวข้อ หัวข้อแรกคือ “ ผลความก้าวหน้าของการเขียน SOAP Note และการใช้แฟ้มร่วมกันระหว่าง PT และ OT” และหัวข้อที่สองคือ “การเกิดอุบัติเหตุในระหว่างการรักษา”

                เริ่มจากหัวข้อแรก ผลความก้าวหน้าของการเขียน PTOT Note และการใช้แฟ้มร่วมกันระหว่าง PT และ OT”สืบเนื่องมาจากว่าเมื่อ PTOT Meeting  ครั้งที่ 10ที่ผ่านมาได้มีการเกริ่นนำว่าจะพูดประเด็นเกี่ยวกับผลของการใช้ PTOT Note ในการประชุมครั้งต่อไป ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ก็ได้มีการยกประเด็นปัญหาขึ้นมาว่า แฟ้ม PTOT NOTE ไม่มีความต่อเนื่อง จนหยุดนิ่งซึ่งสรุปสาเหตุจากความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมการประชุมได้คือตอนนี้PT และ OTยังใช้แฟ้มแยกกันคนละแฟ้มอยู่เนื่องจากไม่มีคนเดินแฟ้มให้     ดังนั้นทุกคนในที่ประชุมจึงได้เสนอแนวทางการแก้ไขซึ่งสรุปได้ดังต่อไปนี้

›   ให้ใช้แฟ้มเดียวกันโดยเก็บไว้ที่เวชระเบียนแล้วให้เวชระเบียนเป็นคนเดินส่งแฟ้มให้

›   ให้ทุกคนเริ่มทยอยส่งแฟ้มคืนตั้งแต่วันนี้และเขียน PTOT Note ให้เรียบร้อย

ส่วนในหัวข้อที่สอง การเกิดอุบัติเหตุในระหว่างการรักษา  ได้มีการยกประเด็นขึ้นมาถึงแนวทางการแก้ไขสถานการณ์เมื่อเกิดอุบัติเหตุกับผู้ป่วยในระหว่างการรักษา เช่น ผู้ป่วยหกล้ม เป็นลม ชัก ในระหว่างที่ผู้บำบัดกำลังให้การรักษาอยู่ เนื่องจากที่ผ่านมามีปัญหาว่าการเรียกรถพยาบาลมานั้นใช้เวลานานมาก ผู้ป่วยต้องนั่งรถแท็กซี่ไป ร.พ.เองและผู้ป่วยได้ complain ขึ้นมาในความไม่ได้รับความสะดวกสบายในการให้บริการ ในประเด็นนี้ อาจารย์ ศุภลักษณ์ เข็มทอง ได้เสนอว่ามีอยู่ 3 แนวทางด้วยกัน คือ

1.        ส่งเรื่องขึ้นไปในระบบของคณะกรรมการเพื่อส่งต่อไปยังผู้บริหาร

2.        กำหนดระยะเวลาในการให้ความช่วยเหลือและติดต่อโทรหาอาจารย์หรือพนักงานที่เกี่ยวข้อง

3.        เข้าที่ประชุม OD

  ดังนั้นพี่ขนิษฐาจึงได้เสนอว่าจะนำเรื่องเข้าที่ประชุม OD และจะพูดในประเด็นดังนี้คือ

›   แนวทางการแก้ไขปัญหาการนำผู้ป่วยไปส่งร.พ.อย่างสะดวกและรวดเร็ว และเป็นไปได้หรือไม่หากจะมีรถของคณะเพื่อไปส่ง ร.พ. และใช้ทำประโยชน์อย่างอื่นร่วมด้วยเนื่องจากโอกาสการเกิดอุบัติในปีหนึ่งๆมีน้อยมาก

จากนั้นได้มีการพูดถึงขั้นตอนการจัดการหลังเกิดอุบัติเหตุคือ

1.        ปฐมพยาบาลเบื้องต้น

2.        ติดต่อรถพยาบาลหรือนั่งแทกซี่ไปร.พ.และต้องมีคนนั่งไปกับผู้ป่วยด้วยซึ่งอาจเป็นผู้บำบัดหรือส่งตัวแทนไป

3.        เมื่อไปถึงร.พ. แล้วให้ติดต่อญาติผู้ป่วย

4.        ถ้าผู้ป่วยร้องเรียนก็ให้ดำเนินการต่อไป

ในการประชุมครั้งต่อไปเราจะมาติดตามดูว่าจากข้อเสนอแนะที่ได้ในวันนี้จะได้ผลมากน้อยเพียงใด  ใน PTOT Meeting ครั้งที่12 เวลา 8.00-9.00 . วันศุกร์ที่  28 มีนาคม2551

หมายเลขบันทึก: 168769เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2008 08:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท