เล่าเรื่อง “ความคืบหน้า” ของกรรมการชุมชนที่อุบลราชธานี : กรรมการชุมชนที่อุบลราชธานี เริ่มก่อร่างสร้างรูป


ในการประชุมครั้งนี้ คุณวิโรจน์ ท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัด ร่วมประชุมด้วย โดยหลังจากการประชุมท่านเสนอให้มีการจัดประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดทำโครงการร้านเกมคาเฟ่ ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ปลอดภัยและสร้างสรรค์อีกรอบเพื่อให้เกิดความเข้าใจ และ ความพร้อมในการทำงานในพื้นที่นำร่องในจังหวัดอุบลราชธานีอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งอาจารย์แหววเสนอให้ทางจังหวัดเป็นผู้กำหนดวันเวลาในการประชุม เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการทำงานเต็มรูปแบบของประชาคมจังหวัอุบลราชธานี โดยเป้าหมายของการประชุมครั้งหน้านั้นก็คือ การตอบโจทย์หลักทั้ง ๘ ข้อ อีกครั้งที่มีวิธีการที่มีความชัดเจนมากขื้น พร้อมทั้งการเตรียมจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระดับภาคเกี่ยวกับการใช้ไอซีทีปลอดภัยและสร้างสรรค์

คำตอบ ๘ ข้อ เพื่อการเดินหน้าการจัดทำโครงการร้านเน็ตคาเฟ่ ร้านเกมคาเฟ่ปลอดภัยและสร้างสรรค์

 

 หลังจากที่มีการหารือกันที่จังหวัดอุบลราชธานีเมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๕๐ ที่ผ่านมา ต่อมาในเดือนมกราคม ๒๕๕๑ ภาคนโยบายได้มีการจัดทำวาระเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ใน ๒ ประเด็นหลัก ก็คือ การจัดทำกองทุนสื่อสร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชน รวมทั้ง การพัฒนาร้านเกมคาเฟ่ ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ นั่นหมายความว่า วันนี้เป็นการกลับมาทำงานสานต่อจากเรื่องเดิมที่เคยคุยกันไว้ในเรื่องของการพัฒนาแนวทางในการทำงานด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

 

  เป้าหมายสุดท้ายของเวทีกรรมการชุมชนในครั้งนี้ อาจจะไม่ใช่อยู่ที่ตัวบกฎหมาย แต่อยู่ที่ การสร้างกระบวนการ การสร้างแนวคิด ในการพัฒนาร้านเกมคาเฟ่ ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ ร่วมกันระหว่างทุกภาคส่วน ในฐานะของ "มิตร" ที่มองถึงตัวเด็ก เยาวชน เป็นเป้าหมายหลักของการทำงาน ที่สำคัญ ก็คือ การสร้างระบบการสนับสนุนผู้ประกอบการ "น้ำดีที่รับผิดชอบต่อสังคม"

 

    การทำงานเพื่อติดตามคำตอบในโจทย์ที่วางไว้ร่วมกันในคราวที่แล้วที่อุบลราชธานีใน ๘ ข้อ เพื่อตอบสนองต่อการจัดทำโครงการร้านเกมคาเฟ่ ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ปลอดภัยสร้างสรรค์

 

     คำตอบข้อที่ ๑    องค์ประกอบของกรรมการชุมชนควรเป็นอย่างไร

     (๑)   เป็นการสร้างกรรมการชุมชนขึ้นใหม่ โดยมีโครงสร้างใน ๒ ระดับ ก็คือ ระดับจังหวัด และ ระดับอำเภอ เพื่อทำให้เกิดการทำงานอย่างทั่วถึง

     (๒)  สัดส่วนขององค์ประกอบนั้น ประกอบด้วย ภาคราชการ ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ อัยการ ศาล ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด กระทรวงไอซีที พมจ.เทศบาล ตำรวจ การศึกษา (มหาวิทยาลัย โรงเรียนอาชีวะ การศึกษาขั้นพื้นฐาน) สาธารณสุขจังหวัด วัฒนธรรมจังหวัด สำนักงานพระพุทธศาสนา จังหวัดอุบลฯ ภาควิชาการ ประกอบด้วย ผู้แทนจากมหาวิทยาลัย ภาคประชาชนและภาคเอกชน ผู้ปกครอง สภาวัฒนธรรมอำเภอ เครือข่ายเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม สื่อมวลชน ชมรมผู้ประกอบการ ร้านอินเทอร์เน็ตและเกมคอมพิวเตอร์ จังหวัดอุบลฯ องค์กรทางศาสนา (คริสต์ อิสลาม อื่นๆ) ภาคเด็กและเยาวชน สภาเยาวชนแห่งประเทศไทย 

      (๓)   วาระการประชุม ยังคงต้องหาคำตอบในการประชุมครั้งหน้าเพื่อกำหนดความชัดเจน โดยมีหลักการของการคิดเรื่องนี้ก็คือ การประชุมตามวาระ หรือ การประชุมในกรณีพิเศษ รวมทั้ง การจัดกิจกรรมเวทีประเมินสถานการณ์

    คำตอบข้อที่ ๒    ภาระหน้าที่ของกรรมการชุมชนในการพัฒนาร้านเกมคาเฟ่ ร้านอินเทอร์เน็นคาเฟ่ปลอดภัยสร้างสรรค์ สามารถวางกรอบในเบื้องต้นได้ใน ๖ ประการ

    (๑)   การรับสมัครร้านที่เป็นพื้นที่ของสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

    (๒)  การกำหนดเกณฑ์ของร้านที่เป็นพื้นที่สื่อปลอดภัยสร้างสรรค์

   (๓)   การกำหนดเกณฑ์การเข้าร้านของเด็กและเยาวชน โดยใช้เกณฑ์เรื่องของอายุเป็นหลัก ไม่ได้คำนึงถึงเรื่องของภาระทางการเรียนของเด็ก

  (๔)   การตรวจร้านในวัตถุประสงค์หลัก ๓ ประการ ก็คือ (๑) การตรวจเยี่ยมเพื่อให้อนุญาตในการเข้าร่วมโครงการฯ (๒)  การตรวจร้านเพื่อเยี่ยมเยียน แลกเปลี่ยนแนวทางในการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง และ (๓) ในการตรวจเยี่ยมหากพบการกระทำความผิดก็ให้เจ้าหน้าที่ตามกฎหมายดำเนินการกับผู้กระทำความผิด

   (๕)   กำหนดระยะเวลาปิดเปิดร้าน โดยคำนึงถึงความพร้อมของสังคมเป็นหลักการในการกำหนดเรื่องของเวลา

   (๖)   สร้างกิจกรรมในร้านเด็ก เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่เด็ก เช่น การให้ครอบครัวเข้ามาใช้บริการร่วมกับลูก จัดอบรมผู้ปกครองในการใช้อินเทอร์เน็ต อบรมครูในการใช้เทคโนโลยีในการศึกษาของ Microsoft

คำตอบข้อที่ ๓    การรับสมัครร้านเกมคาเฟ่ ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่เพื่อเข้าร่วมโครงการร้านเกมคาเฟ่ ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ เห็นตรงกันว่าเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างภาคการศึกษา เช่น มหาวิทยาลัย และ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด

คำตอบข้อที่ ๔    สิทธิประโยชน์ที่จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการสนับสนุนการจัดทำร้านที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ แบ่งได้เป็น ๒ เรื่อง ก็คือ การได้สิทธิประโยชน์ด้านเงินทุน และ การได้สิทธิประโยชน์ในการตรวจแบบตรวจเยี่ยม โดยในประการแรกนั้น ต้องทำการบ้านต่อใน ๓ เรื่อง เรื่องแรก ก็คือ การประชุมร่วมกับธนาคารออมสินในการให้กูเงินในการลงทุนประกอบการร้านปลอดภัยและสร้างสรรค์ในราคาถูก เรื่องที่ ๒ ก็คือ การหารือร่วมกับไมโครซอฟท์ในการสนับสนุนซอฟท์แวร์ราคาถูก ซึ่งในข้อหลังนี้ ทางทีมงานได้หารือกับไมโครซอฟท์เกี่ยวกับราคาของ Operating System ในโปรแกรม Windows XP ที่ซื้อขาดในราคาประมาณ ๑,๐๐๐ บาท และ เรื่องที่สาม ที่เป็นข้อที่ได้จากการทำงานกับเครือข่ายร้านเน็ตคาเฟ่ เกมคาเฟ่ในห้องทดลองเชิงปฏิบัติการก็คือ การหารือร่วมกับ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม

ในการสนับสนุนด้านเงินทุนในการประกอบการ ในข้อหลังนี้ ทางทีมงานได้หารือร่วมกับ ศ.เศรษฐพร คูศรีพิทักษ์ เมื่อวันอังคารที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งอาจารย์เศณษบพร จะเดินทางไปยังพื้นที่ที่จังหวัดเชียงใหม่ด้วยเพื่อประชุมร่วมกับเครือข่ายในโจทย์ทั้ง ๘ ข้อด้วย โดย กทช มีสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค ตรงนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของภารกิจในสถาบันฯด้วย เท่ากับว่า โอกาสในการได้รับการส่งเสริมจาก กทช นั้นเป็นไปได้ และในการประชุมครั้งหน้าที่เชียงใหม่ ทางบริษัทไมโคซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด จะเดินทางไปประชุมร่วมกับทีมงานด้วย

  คำตอบข้อที่ ๕    การจัดการอบรมความรู้ให้กับผู้ประกอบการ เพื่อให้เกิดความรู้ที่เกี่ยวข้องในการประกอบการใน ๓ ส่วน (๑) ความรู้ในด้านกฎหมาย ทั้งในเรื่องของกฎหมายสารบัญญัติที่เกี่ยวข้องในการประกอบธุรกิจ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองเด็ก กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับลิขสิทธิ์  กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ รวมถึง กฎหมายวิธีสบัญญัติ ซึ่งเป็นกฎหมายในส่วนของการกระบวนวิธีพิจารณาความ เช่น เรื่อง การค้น การยึด อายัด การจับ การพิจารณาคดีในศาล (๒) เรื่องของเทคโนโลยี ที่จะช่วยให้เกิดการต้นทุนในการประกอบการในราคาถูก การใช้โปรแกรมที่ช่วยดูแลความปลอดภัยในร้านและ (๓) เรื่องของแนวทางในการประกอบการบนพื้นฐานของความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งเป็นพื้นฐานของการจัดทำโครงการร้านคาเฟ่ ร้านเกมคาเฟ่ ปลอดภัยและสร้างสรรค์ การจัดอบรมความรู้นี้ ทางมูลนิธิ ศาสตราจารย์ คนึง ฦๅไชย กำลังดำเนินการร่วมกับทางกระทรวงวัฒนธรรม

   คำตอบข้อที่ ๖    การทดลองใช้กระบวนการยุติธรรม เป็นการนำกรณีตัวอย่างเพื่อศึกษาถึงนวทางในการใช้กระบวนการยุติธรรม โดยทางมูลนิธิศาสตราจารย์ คนึง ฦๅไชย ได้เริ่มต้นในการศึกษากรณีตัวอย่างใน ๔ กรณีศึกษา ทั้งในเรื่องของ (๑) การดำเนินคดีในกรณีกระทำความผิดเกี่ยวกับการประกอบการ (๒) กรณีการดำเนินคดีเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ (๓) กรณีของการหมิ่นประมาทออนไลน์ (๔) กรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินคดีกับเจ้าของร้านโดยนำเด็กเข้าห้องขังพร่อมกับแม่ที่จังหวัดราชบุรี ซึ่งทางมูลนิธิ ฯ กำลังดำเนินการอยู่ และ (๕) กรณีของการรับเงิน หรือ ประโยชน์อื่นใดอันมิชอบด้วยกฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐ

    คำตอบที่ ๗       การประชุมร่วมกันระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบการร้านเกมคาเฟ่ ร้านเน็ตคาเฟ่ ซึ่งเรามักจะเรียกว่า การประเมินสถานการณ์ หรือ ที่เครือข่ายเรียกว่า การเล่าสารทุกข์สิขดิบ ระหว่างกัน ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ มีการเล่าถึงความทุกข์อยู่

    ความทุกข์ที่ ๑    ส่วนแบ่งการตลาดและต้นทุนในการประกอบการ เพราะต้นทุนในการประกอบการสูง ทั้งค่าลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์ การขายซอฟท์แวร์แบบพ่วง รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่จ่ายให้กับเจ้าหน้าที่โดยมิชบอด้วยกฎหมาย อีกทั้ง ร้านเกมคาเฟ่ ร้านเน็ตคาเฟ่ที่มีจนำวนมากขึ้น ทำให้ส่วนแบ่งการตลาดของผู้ประกอบการน้อยลง  ต้นทุนในการประกอบการ ค่าใช้จ่าย ค่าเช่าสถานประกอบการที่มีราคาสูงขึ้น ล้วนแต่เป็นต้นทุนที่ทำให้ผู้ประกอบการต้องแสวงหากำไรสูงสุดเพื่อความอยู่รอดในทางธุรกิจ ทำให้ผู้ประกอบการบางรายจำเป็นต้องใช้กลวิธีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในหลายรูปแบบ รวมทั้งกระบวนการที่ละเมิดต่อการให้ความคุ้มครองเด็ก เยาวชนและสังคม ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงเสนอให้รัฐส่งเสริมการลงทุนให้กับการประกอบการ จะทำให้การประกอบการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและการเละเมิดต่อการให้ความคุ้มครองเด็ก นั้นลดลงได้ด้วย

    ความทุกข์ที่ ๒    ระยะเวลาเปิด- ปิด และ เวลาที่ห้ามเด็กและเยาวชนเข้าใช้บริการหลัง ๒๒.๐๐ น. ผู้ประกอบการร้านเกมคาเฟ่สะท้อนปัญหาเรื่องของเวลาเปิด ปิดที่น่าสนใจว่าในกรณีที่เด็กๆมีความจำเป็นที่จะต้องใช้บริการในตอนดึกหลัง ๒๒.๐๐ น.เพื่อทำงานส่งอาจารย์ที่โรงเรียน หรือกรณีของชาวต่างชาติที่ต้องการใช้บริการในตอนดึกหลังเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่อนุญาตให้เปิดร้าน ผู้ประกอบการและเครือข่ายผู้ปกครองเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาใน ๓ แนวทาง แนวทางแรก ก็คือ การเสนอให้เปิดร้านได้ ๒๔ ชั่วโมง แนวทางที่ ๒ เสนอให้มีการจัดทำพื้นที่เฉพาะ หรือ โซนนิ่ง พื้นที่ที่สามารถเปิดร้านได้ ๒๔ ชั่วโมง และ แนวทางสุดท้าย การตั้งชมรมผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตในรูปแบบของการทำบัตรสมาชิก เพื่อเชื่อมต่อฐานข้อมูลท้องถิ่น โดยทางเครือข่ายชมรมผู้ปกครองเสนอว่าจะยกร่างระเบียบข้อบังคับของชมรมผู้ใช้บริการมาเสนอในการประชุมครั้งหน้า

     ความทุกข์ที่ ๓    การคุ้มครองเด็ก เครือข่ายผู้ปกครองและเครือข่ายภาคนโยบายก็สะท้อนให้เห็นถึงความทุกข์ที่ผู้ประกอบการบางรายไม่ได้ให้ความคุ้มครองกับเด็ก และเยาวชน เช่น การให้เด็กเข้าใช้บริการในตอนดึกหลัง ๒๒.๐๐ น. การให้เด็กและเยาวชนมาใชบริการในช่วงเวลาเรียนและให้บริการเปลี่ยนชุดนักเรียน ในการแก้ปัญหาในเรื่องนี้ ที่ประชุมเสนอให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา โดยสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลเด็กๆ การมีส่วนร่วมในการใช้งานและการเล่นเกมคอมพิวเตอร์กับเด็ก ซึ่งนั่นหมายความว่า จะต้องมีการสร้างห้องเรียนพ่อแม่ และ ชุมชน โดยการใช้กระบวนการห้องทดลองเชิงปฏิบัติการเรตติ้มเกมคอมพิวเตอร์ หรือ เรตติ้งอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการจัดทำห้องเรียนสร้างความรู้ความเข้าใจร่วมกับพ่อแม่

    ความทุกข์ที่ ๔    ปัญหาเรื่องส่วย จากการสะท้อนปัญหาเรื่องส่วยจากผู้ประกอบการ พบว่า ลักษณะของส่วยเกิดขึ้นจาก ๒ ลักษณะ ลักษณะแรก ผู้ประกอบการไม่ผิดแต่ยอมจ่าย และ ลักษณะที่ ๒ กระทำผิดจริงและยินดีจ่าย โดยฐานความผิดในการตั้งประเด็นข้อหา โดยหลักมี ๓ เรื่อง ก็คือ ซอฟท์แวร์ เวลาเปิด - ปิด การอนุญาตให้เด็กเข้าร้าน

    ความทุกข์ที่ ๕    ผู้ประกอบการขาดความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบการ โดยเฉพาะเรื่องของกฎหมาย ทำให้ผู้ประกอบการอยู่ในฐานะของ "ผู้กระทำความผิด"  และ อยู่ในฐานะของ "เหยื่อ"  ดังนั้นผู้ประกอบการจึงเสนอให้มีการจัดอบรมความรู้เกี่ยวกับกฎหมายทั้งในเรื่องของการประกอบการ โดยเฉพาะเรื่องลิขสิทธิ์ เพราะมีปัญหาอย่างมาก อีกทั้ง กฎหมายว่าด้วยการดำเนินคดี ในประการหลังนี้เอง ที่ทางผู้แทนจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เสนอให้มีการจัดทำเอกสารความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนในการดำเนินคดี รวมทั้ง แนวปฏิบัติเกี่ยวกับคดีละเมิดลิขสิทธิ์ ในกรณีของการดำเนินการยึดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการกระทำความผิดในคดีลิขสิทธิ์ว่ายึดได้อย่างไร จำนวนเท่าไหร่

ในส่วนของความสุขที่เห็นได้ชัดในการลงมาทำงานในครั้งนี้ พบว่ามี ๔ เรื่อง

     ความสุขเรื่องที่ ๑           เกิดการทำงานในรูปแบบของประชาคม มีการรวมตัวเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบการร้านเกมคาเฟ่ ร้านเน็ตคาเฟ่ปลอดภัยและสร้างสรรค์เพื่อสังคมที่ชัดเจนมากขึ้น การทำงานในลักษณะพันธมิตร เป็นประชาคม หรือ ประชาคม (citizen sector)

    ความสุขเรื่องที่ ๒           เกิดแนวทางในการทำงาน ฉันท์มิตรที่เริ่มต้นเป็นรูปธรรมมากขึ้น การทำงานในลักษณะนี้เอง ที่อาจารย์วิจารณ์เรีกยว่า Good Governance เป็นการสร้างกลไกในการกับดูแลกันเองอย่างเป็นธรรม เป็นการกำกับด้วยความดีไม่ได้ใช้อำนาจ

    ความสุขเรื่องที่ ๓           นอกจากนั้นยังเห็นแนวทางในการสร้างระบบและเกณฑ์การประเมินการจัดโครงการร้านเกมคาเฟ่ ร้านเน็ตคาเฟ่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ "ร่วมกัน" โดยชาวประชาคม นับเป็นปรากฎการณN

ความสุขเรื่องที่ ๔           เราเห็นการทำงานที่มุ่งไปยังตัวเด็ก เยาวชนและครอบครัว เป็นหลัก เห็นแนวทางในการสร้างกิจกรรมในการใช้ไอซีทีอย่างสร้างสรรค์ที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะตัวเด็ก เยาวชน เท่านั้น ยังขยายวงไปยังกลุ่มเครือข่ายพ่อแม่ผู้ปกครอง และชุมชน ซึ่งเป็นกระบวนการในการสร้างความเข้มแข็งและแนวทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยกวับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในระยะยาวที่ยั่งยืน

คำตอบข้อที่ ๘    การจัดทำกิจกรรมในเชิงสร้างสรรค์ ประเด็นนี้ ท่านอาจารย์วิจารณ์เคยได้ให้ข้อสังเกตว่า ควรสร้างและพัฒนาให้เด็ก และเยาวชนเป็นผู้ผลิตสื่อสร้างสรรค์ มากกว่าจะอยู่ในฐานะของผู้รับสื่อ ผู้เสพสื่อเพียงอย่างเดียว ยกตัวอย่างเช่น การทำเว็บไซต์เกี่ยวกับแนวทางในการรักษาลุ่มน้ำของชุมชนโดยเยาวชน การทำงานในลักษณะนี้ เป็นการสร้างแนวทางในการจัดการปัญหาที่ยั่งยืนมากขึ้น โดยทางเครือข่ายผู้ประกอบการร้านเกมคาเฟ่ ร้านเน็ตคาเฟ่ในจังหวัดอุบลราชธานี ก็ได้จัดกิจกรรมให้เด็ก และเยาวชนไช้ไอซีทีในทางวัฒนธรรม ตรงนี้เองที่ทางกรรมการชุมชนต้องรีบหาทางในการสนับสนุนกิจกรรมแบบนี้ให้มีจำนวนมากขึ้น

 

             ในการประชุมครั้งนี้ คุณวิโรจน์ ท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัด ร่วมประชุมด้วย โดยหลังจากการประชุมท่านเสนอให้มีการจัดประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดทำโครงการร้านเกมคาเฟ่ ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ปลอดภัยและสร้างสรรค์อีกรอบเพื่อให้เกิดความเข้าใจ และ ความพร้อมในการทำงานในพื้นที่นำร่องในจังหวัดอุบลราชธานีอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งอาจารย์แหววเสนอให้ทางจังหวัดเป็นผู้กำหนดวันเวลาในการประชุม เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการทำงานเต็มรูปแบบของประชาคมจังหวัอุบลราชธานี โดยเป้าหมายของการประชุมครั้งหน้านั้นก็คือ การตอบโจทย์หลักทั้ง ๘ ข้อ อีกครั้งที่มีวิธีการที่มีความชัดเจนมากขื้น พร้อมทั้งการเตรียมจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระดับภาคเกี่ยวกับการใช้ไอซีทีปลอดภัยและสร้างสรรค์

หมายเลขบันทึก: 168640เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2008 15:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 17:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท