เล่าเรื่อง “ความคืบหน้า” ของกรรมการชุมชนที่อุบลราชธานี : วันแรกของการประชุม อาหารเช้าเชิงวัฒนธรรม กระชับความสัมพันธ์ของคนทำงานที่ครัวเช้า


เราเร่มต้นของวันประชุมด้วยการทานข้าวเช้าเชิงวัฒนธรรมด้วยกันระหว่างทีมงานและชุมชน ได้ยินอาจารย์วิจารณ์เรียกว่าเป็นอาหารเช้าเชิงวัฒนธรรม ผมก็เลยหยิบยืมมาใช้เลยครับเ พราะเห็นด้วยอย่างยิ่ง การทานข้าวเช้าด้วยกันนี้เอง เป็นการเริ่มต้นของวันประชุมที่ได้เห็นวัฒนธรรมอาหารการกิน และยังได้เร่มต้นกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทีมงานนักวิจัยและเครือข่ายชุมชน ทั้งยังได้เห็น ได้แลกเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยกวับการดูแลสังคมระหว่างกัน ทำให้การทำงานของเราในฐานะกัลยาณมิตรเริ่มต้นด้วยหลักการเดียวกัน

เริ่มต้นก่อนการประชุมเพื่อจัดทำกรรมการชุมชนในการพัฒนาร้านเกมคาเฟ่ ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ ปลอดภัยและสร้างสรรค์ ในวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๑ อาหารเช้าที่ครัวเช้า วัฒนธรรม และ ความสัมพันธ์

เช้าวันที่ ๑๕  อาหารเช้า โจ๊กถั่วเขียว ไข่กระทะ แฮมเบอร์เกอร์หมูยอ เอกลักษณ์เฉพาะเมืองอุบล กับ เครือข่ายเมืองอุบล

         

       ทีมงานเดินทางมาถึงพร้อมกันที่ร้านอาหาร "ครัวเช้า" ในตอนเช้าประมาณสัก ๗ โมงเช้า เป็นเพราะไม่ได้บอกอาจารย์วิจารณ์ก่อนขึ้นเครื่องว่า เราจะเดินทางมาทานอาหารเช้าที่นี่ ก็เลยมีแต่ อ.แหวว อ.โก๋ อ.เหม่ง เหยียน ที่ไม่ได้ทานอาหารบนเครื่องบิน แต่พอมาถึงที่นี่ เริ่มต้นจากซุปนำสำรองที่มีเม็ดแปะก้วย ใส่พริกไทยทำให้หอมน่าทานขึ้น แฮมเบอร์เกอร์หมูยอและกุนเชียงรับรองหาทานที่ไหนไม่ได้นอกจากที่นี่ ตามด้วยโจ๊กถั่วเขียวที่ทำจากถั่วเขียวจริงๆ และยังมีไข่กระทะ เป็นไข่ดาวที่มีมหูยอ กุนเชียงในกระทำเล็กๆ ทำให้อาจารย์วิจารณ์และคณะอดใจไหว ทานเกือบทุกอย่างทีเดียว

   

       ได้ยินอาจารย์วิจารณ์เรียกว่าเป็นอาหารเช้าเชิงวัฒนธรรม เห็นด้วยอย่างย่ง เป็นการเริ่มต้นของวันประชุมที่ได้เห็นวัฒนธรรมอาหารการกิน ก็เลยหยิบยืมคำพูดอาจารย์มาใช้

                  ท่ามกลางอาหารบนโต๊ะยังมีเครือข่ายภาคีที่มาร่วมทานอาหารเช้า ทั้งจากอุทัย พรหมโคตรผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุบลราชธานี ธีรชง ทองน้อย หัวหน้าเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมพี่สมหมายจากกลุ่มผู้ประกอบการร้านเกมคาเฟ่ ร้านอินเทอร์เน็นคาเฟ่ ผศ. ดร. อาคม อดีตรองอธิการบดี มรภ. อุบล จากกลุ่มผู้ปกครองในจังหวัดอุบลราชธานี การทานอาหารเช้าร่วมกันทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน โดยเฉพาะเรื่องของการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนจากภาคชุมชน

     เป็นบรรยากาศของการเร่มต้นการประชุมที่ได้ทำความรู้จักกันบนโต๊อาหารเช้าเชิงวัฒนธรรม ทำให้เรามองเห็น กัลยาณมิตรที่น่ารัก และเห็นแนวทาง เห็นแนวคิดในการดูแลสังคมระหว่างกันที่ชัดเจนมากขึ้น

 หลังจากอาหารเช้า เราเดินทางไปยังสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพื่อร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการในการจัดตั้งกรรมการชุมชนกับหลายภาคส่วน กล่าวคือ จากภาคนโยบาย เช่น คุณธีรพงศ์ ทองน้อย (หัวหน้างานเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมจังหวัด) เทศบาลนคอุบลราชธานี โดย รองนายกเทศมนตรี เขตการศึกษาพื้นที่ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอุบลราชธานี ว่าที่ร้อยตรี อุทัย แจ่มศรี ปลัดอำเภอวารินทร์ชำราบ ปกครองจังหวัด ปลัดสุขสันต์ ณ อุบล และ ผู้แทนเจ้าหน้าที่ตำรวจ จากภาคประชาชน เช่น คุณผาณิตย์ แจ่มเงิน (รองประธานเครือข่ายผู้ปกครองกองทุนและชุมชน)  คุณวิรัตน์ แสงชาติ (ประธานชมรมผู้ปกครองโรงเรียนวัดศรีอุบลรัตนาราม) สภาเยาวชนจังหวัดอุบลราชธานี จากเครือข่ายภาคประชาสังคม คุณวิทยา บุญฉวี จากภาคเอกชน โดยเฉพาะเครือข่ายผู้ประกอบการร้านเกมคาเฟ่ ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ นำทีมโดยพี่สมหมาย ศรีจันทร์ รวมไปถึง ร้านเกมอื่นๆเช่น เกมเพลย์ และ ทีมงานจากกรุงเทพที่สวมหมวกในภาควิชาการ นำทีมโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร อ.อิทธิพล ปรีติประสงค์

  

หมายเลขบันทึก: 168637เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2008 14:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤษภาคม 2012 19:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท