ICT 4 D ตอนที่ ๑ การเดินทางสู่อุบล พื้นที่นำร่องในการทำงานด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์สำหรับเด็ก เด็กไร้สัญชาติ และ เด็กชายแดน


การเดินทางไปประชุมกรรมการชุมชนเพื่อจัดทำร้านเกมคาเฟ่ ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ที่จังหวัดอุบลราชธานีครั้งนี้ เป็นการลงไปทำงานต่อจากการประชุมครั้งที่แล้วเมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๐ ทีผ่านมา โดยจังหวัดอุบลราชธานีนั้น ทางทีมงานเห็นความพร้อมในทุกจุดทั้งภาคนโยบาย โดยเฉพาะทางคุณวิโรจน์ ท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดและทางวัฒนธรรมจังหวัดที่สามารถทำงานร่วมกับเครือข่ายผู้ประกอบการได้ ทางตำรวจที่เข้าใจและร่วมมือในการคุ้มครองผูป้ระกอบการที่สร้างสรรค์ อีกทั้ง เครือข่ายผู้ประกอบการที่มองเห็นความสำคัญของการดูแล คุ้มครองเด็ก เยาวชนและสังคม พร้อมที่จะทำงานร่วมกับเครือข่ายภาคส่วนต่างๆ อีกทั้ง เครือข่ายภาคพ่อแม่ ผู้ปกครอง เครือข่ายชุมชนที่แสดงพลังในการทำงานร่วมกันอย่างเต็มที่ และที่สำคัญทุกฝ่ายพร้อมใจเปิดรับแนวคิดระหว่างกัน

 

        วันที่ ๑๕ - ๑๖ กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ทางโครงการวิจัยและพัฒนาระบบการจัดระดับความเหมาะสมของสื่อ หรือ ME ๑๒ คน นำทีมโดย อ.วิจารณ์ อ.แหวว อ.เหม่ง อ.โก๋ เหยียน น้องอี๋ น้องแน็ท น้องนัท แมว เอช คิว เดินทางมาถึงอุบลราชธานี ในการเดินทางมาครั้งนี้เรามีเป้าหมายหลักอยู่ ๔ ประการ

           ประการที่ ๑       ปฏิบัติการในการจัดตั้งกรรมการชุมชนตามโจทย์เดิมที่ตั้งไว้ในเกี่ยวกับการจัดทำโครงการร้านเกมคาเฟ่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ เพื่อสร้างพื้นที่ในการเข้าถึงสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ให้กับเด็ก เยาวชนและครอบครัว โดยเน้นการสร้างการมีส่วนร่วมในการกำกับดูแลโดยภาคชุมชนที่เกรียกว่า "กรรมการชุมชน" โดยภาครัฐเน้นกระบวนการ "ส่งเสริม"  ต่อจากการประชุมร่วมกับท่านรองผู้ว่าวิโรจน์ และเครือข่ายภาคีทั้งจากภาคนโยบาย ภาคผู้ประกอบการร้านเกมคาเฟ่ ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา การประชุมครั้งนี้จัดที่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุบลราชธานี

          ประการที่ ๒      แสวงหาความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์ในการจัดเรตติ้งเกมคอมพิวเตอร์ โดยจัดทำกระบวนการห้องทดลองเชิงปฏิบัติการ หรือเรามักจะเรียกว่า เรตติ้งแล็บ กับกลุ่มเด็ก เยาวชน ผู้ปกครอง กลุ่มผู้ประกอบการ โดยจัดที่โครงการจัดตั้งร้านอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (Internet Cafe : TNET) ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ที่มีพี่สมหมายเป็นผู้จัดการ

           ประการที่ ๓      การลงพื้นที่เพื่อศึกษาสถานการณ์และเก็บข้อมูลเบื้องต้นรวมถึงดูความเป็นไปได้ในการทำงานเกี่ยวกับการบันทึกข้อมูลและการเข้ามาช่วยจัดการปัญหาเด็กไร้รัฐเด็กไร้สัญชาติที่บ้านห้วยสะคราม อำเภอโขงเจียม การเดินทางลงพื้นที่ครั้งนี้ได้ประสานผ่านทางคุณโต องค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานด้านนี้ในการลงพื้นที่

         ประการที่ ๔       ข้อนี้อาจารย์แหววได้เพิ่มเติมขึ้นระหว่างการเดินทาง ก็เลยหยิบยกขึ้นมาเป็นเป้าหมายในการทำงานด้วย ก็คือ การลงไปสำรวจเส้นทางการค้าบริเวณชายแดนระหว่างไทย-ลาว เพื่อศึกษาสถานการณ์ของการค้าระหว่างประเทศไทยกับลาวตามแนวตะเข็บชายแดน

 

     พวกเราเดินทางเป็น ๒ ทีม คือทีมอาจารย์นั้นเดินทางมาถึงวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์เลย แต่ทีมน้องๆเดินทางมาถึงวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ก่อนเพื่อมาเตรียมงานและซักซ้อมความพร้อมกับเครือข่ายในพื้นที่

     การทำงานในครั้งนี้เรามากันสามวัน วันแรกเป็นการประชุมเพื่อจัดตั้งกรรมการชุมชนเพื่อจัดทำและดูแลโครงการร้านเกมคาเฟ่ปลอดภัยและสร้างสรรค์

     วันที่สอง จัดทำห้องทดลองเชิงปฏิบัติการในการจัดระดับความเหมาะสมของเกมคอมพิวเตอร์และสำรวจสถานการณ์ด้านคนไร้สัญชาติ และคนไร้รัฐที่ ห้วยสะคราม

      วันที่สาม ไปสำรวจแนวทางและความเป็นไปได้ในการจัดทำโครงการวิจัยด้านการค้าชายแดน

หมายเลขบันทึก: 168631เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2008 14:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ชอบการเดินทางครั้งนี้มากค่ะโก๋

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท