เรื่อง รูปแบบการจัดการความรู้ในสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะบุคลากรให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้


การจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างให้บุคลากรเป้นบุคคลแห่งการเรียนรู้

การจัดการความรู้(Knowledge  Management) 

ปัจจุบันเรื่องของการจัดการความรู้ (Knowledge Management - KM) กำลังได้รับความสนใจจากองค์กรในประเทศไทย ทั้งภาครัฐ และภาคธุรกิจ ผนวกกับการ ปรับตัวสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) เพื่อรองรับคนทำงานยุคใหม่ที่ผันตัวเองจากการเป็น Labour Worker สู่การเป็น Knowledge Worker และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงสู่การเป็นสังคมอุดมปัญญา (Knowledge Society)

ความหมายของการจัดการความรู้  Knowledge Management (KM)

                      มีผู้ให้ความหมายของการจัดการความรู้ไว้มากมายแต่มีความหมายใกล้เคียงกัน  แตกต่างกันในรายละเอียดเล็กน้อย เช่น

                      วิจารณ์   พานิช (๒๕๔๗ ก : ๖๓)  กล่าวว่า  การจัดการความรู้เป็นการเรียนรู้แบบใหม่       ที่เรียนจากการปฏิบัติเป็นตัวนำเป็นตัวเดินเรื่องไม่ใช่แค่เรียนจากครูหรือตำรา ตำรานั้นเป็นการเรียนรู้แบบเก่า ซึ่งเน้นเรียนรู้แบบเก่า และเน้นเรียนทฤษฏี   ขณะที่การเรียนรู้ แบบ KM  ก็เป็นทฤษฏี  แต่ว่าเน้นที่การเรียนรู้แบบปฏิบัติ เพราะการปฏิบัติทำให้เกิดประสบการณ์  การจัดการความรู้ไม่ใช่เรื่องของคนๆ  เดียวเป็นเรื่องของคนหลายคนที่ทำงานร่วมกัน  เพราะฉะนั้นเวลาปฏิบัติแต่ละคนจะมีประสบการณ์ไม่เหมือนกัน  เมื่อนำมาแลกเปลี่ยนกันแล้ว อาจเห็นส่วนที่เหมือนกัน ซึ่งจะเป็นการยืนยันว่าเข้าใจตรงกันเมื่อเอาแลกเปลี่ยนกันมาก ๆ จะทำให้ยกระดับความรู้ความเข้าใจขึ้นไปอีกจะเห็นว่าการจัดการความรู้เราจะเน้นที่การเรียนรู้จากการปฏิบัติ  แล้วก็เน้นตัวความรู้ที่เป็นความรู้ใจคน หรือที่เรียกว่า Tacit Knowledge ทั้งนี้ ความรู้จากเอกสารตำรา หรือที่เรียกว่า Explicit Knowledge นั้นก็สำคัญ เพียงแต่ว่าเรามักจะละเลยความรู้ที่อยู่ในคน

                      เกรียงศักดิ์   เจริญวงศ์ศักดิ์  (๒๕๔๗ : ๖๓)  กล่าวว่า การจัดการความรู้ คือความรู้เกิดจากการประมวลสังเคราะห์ และจำแนกแยกแยะสารสนเทศ เพื่อนำไปสู่การตีความและทำความเข้าใจกับสารสนเทศ เหล่านั้นจนกลายเป็นความรู้ ซึ่งความรู้นี้ครอบคลุมทั้งส่วนของความรู้โดยนัย  (Tacit Knowledge)  ที่ซ่อนอยู่ในความคิดของพนักงาน และที่ฝังตัวอยู่ในองค์กรกับความรู้แจ้งชัด  (Explicit  Knowledge)  ที่ปรากฏในเอกสารที่บันทึกหรือรายงานต่าง ๆ ขององค์กร การจัดการความรู้ทั้งสองประเภทนี้ ให้เป็นระบบระเบียบ เพื่อให้คนที่ต้องการเข้าถึงได้ง่าย และดึงออกมาใช้งานได้          โดยสะดวก การจัดการความรู้จะเกิดขึ้นในระดับทีมงาน หรือระดับกลุ่มในองค์กรที่ต้องการปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกแต่ละคน  เพราะการจัดการความรู้จะเกิดขึ้นได้ ต่อเมื่อมีการปฏิสัมพันธ์ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างทีม ซึ่งอาจเป็นปฏิสัมพันธ์บนเครือข่าย  Cyber  Space  หรืออาจผ่านการพบปะพูดคุยกันต่อหน้าก็ได้

                      ศุภามนต์   ศุภกานต์  (๒๕๔๗ : ๒๘-๒๙)  กล่าวว่าการจัดการความรู้เป็นเรื่องของการที่องค์กรหนึ่งจะสกัดคุณค่าจากทรัพย์สินทางปัญญาของคนออกมาให้ประโยชน์อย่างสูงสุดได้อย่างไร จุดสำคัญสำหรับการริเริ่มเกี่ยวกับ KM คือ ความรู้ที่ถือว่ามีค่าสำหรับองค์กรมักจะเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ ทัศนคติและพฤติกรรมของบุคคลเป็นส่วนใหญ่

                      บุญดี   บุญญากิจ และคนอื่นๆ  (๒๕๔๗ : ๒๓ ก)  กล่าวว่าการจัดการความรู้เป็นกระบวนการในการนำความรู้ที่มีอยู่ หรือเรียนรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร โดยผ่านกระบวนการต่าง ๆ เช่น การสร้าง รวบรวม แลกเปลี่ยน และใช้ความรู้      เป็นต้น

                      อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์  (2549 : ) กล่าวว่า  การจัดการความรู้ (Knowledge Management) เป็นกระบวนการที่สำคัญที่จะทำให้คนรู้จักหาความรู้ และนำความรู้มาใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบ การจัดการความรู้จำเป็นต้องมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง (Continuous Learning) อยู่ตลอดเวลา เพราะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องจะทำให้เป็นคน ที่มีโลกทัศน์และวิสัยทัศน์       ที่กว้างไกล รู้ว่าควรทำอะไรไม่ควรทำอะไรในช่วงเวลาไหน รับรู้ถึงข้อดีข้อเสียจากการเลือกปฏิบัติในแนวทางใดทางหนึ่ง ซึ่งความสามารถต่าง ๆ เหล่านี้เองที่จะสะท้อนถึงคุณค่า (Value) ของตัวคุณที่คุณเองในฐานะของพนักงานอาจไม่เห็นผลชัดเจนในช่วงเวลานี้ แต่หากคุณเติบโตก้าวหน้าเป็น       ผู้บริหารแล้วล่ะก็ ความสามารถต่าง ๆ นี้จะทำให้คุณมีข้อได้เปรียบเหนือกว่า คนอื่น และนั่นก็        หมายความว่าคุณจะมีผลการปฏิบัติงานที่ดี และมีศักยภาพในการทำงานในตำแหน่งงานที่สูงขึ้นต่อไป  

            สรุปได้ว่า การจัดการความรู้ Knowledge Management (KM) หมายถึง การรวบรวมความรู้สู่การปฏิบัติ (Tacit Knowledge) ซึ่งเป็นความรู้ที่เกิดจาก  การเรียนรู้  เจตคติในงาน  ประสบการณ์การทำงาน  และพฤติกรรมการทำงานของแต่ละบุคคล  ซึ่งปฏิบัติงานเรื่องเดียวกันหรือคนละเรื่อง แล้วประชุมหรือสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกันและกัน  แลกเปลี่ยนประสบการณ์  เมื่อรวบรวมแล้วก็มีการนำความรู้ที่ได้มาสังเคราะห์ วิเคราะห์ (Analysis) หรือจัดระบบใหม่ เพื่อสร้างเป็น   องค์ความรู้ใหม่  ยอมรับข้อดีและจุดที่เป็นปัญหาของกันและกัน  มีการจัดเก็บข้อสรุปทั้งมวล            อย่างเป็นระบบเพื่อนำไปสู่การยอมรับในกฎกติกาขององค์กรที่ทุกคนยอมรับ  แล้วนำมาเผยแพร่ความรู้ เพื่อให้เกิดการต่อยอดความรู้หรือสร้างประโยชน์จากความรู้และนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและองค์กร รวมทั้งเป็นแบบอย่างต่อหน่วยงานอื่น อันจะยังประโยชน์ใน        วงวิชาการและงานการศึกษาต่อไป 

องค์ประกอบในการจัดการความรู้  ประกอบด้วย

                              1.     การสร้างวัฒนธรรมการทำงานในองค์กร

                              2.     การเปลี่ยนแปลงค่านิยมและพฤติกรรมการทำงานของบุคคล

                              3.     การสื่อสารให้เข้าใจจุดมุ่งหมาย  เป้าหมาย  ขององค์กร

                              4.     กระบวนการและเครื่องมือในการจัดการความรู้  กระบวนการทางสติปัญญา

                              5.     การประเมิน  การวัดผลการจัดการความรู้

 

              รูปแบบของการจัดการความรู้   มีหลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับหน่วยงานและการนำไปใช้ประโยชน์ฯ เช่น

1.   รูปแบบ IT4U ’s KM Model   เป็นการผสมผสาน หรือบูรณาการทฤษฎีที่เคยมีอยู่แล้ว จนกลายเป็น Model ใหม่  เนื่องจากการจะยึดทฤษฎีใดเพียงทฤษฎีหนึ่งนั้นยังไม่เพียงพอ เพราะแบบหนึ่งจะดีอย่าง และอีกแบบก็ดีอย่าง  ซึ่งอธิบายด้วยภาพประกอบด้านล่าง

 

โมเดลปลาทู  ประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ

      1. หัวปลา (Knowledge Vision :KV) หมายถึง  ผู้บริหารของ ลท.(ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อบริการลูกค้า) ทั้งในระดับฝ่าย ผู้ช่วยฝ่าย และ ผู้จัดการส่วน ต่างให้ความสำคัญต่อการจัดการความรู้ และช่วยผลักดันให้เกิดการดำเนินกิจกรรมต่างๆ  และเข้าใจว่า ทำ KM ไปเพื่ออะไร และร่วมประชุมหารือเพื่อหาแนวทางให้เกิดการกระบวนการจัดการความรู้ขึ้น
      2. ตัวปลา (Knowledge Sharing :KS) หมายถึง วิธีการและกระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้  ตาม KM Action plan เพื่อให้พนักงานทุกคนใน ลท. มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการความรู้ทั้งของ กสท และ ลท.ในทิศทางเดียวกัน โดยมองถึงความรู้ที่ทุกคนสามารถเข้าใจได้เหมือนกัน ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นการสร้างพลังที่แข็งแกร่ง ถ่ายทอดไปยังส่วนหางของปลาทูต่อไป
      3. หางปลา Knowledge Asset : KA) หมายถึง การจัดเก็บในคลังความรู้ขององค์กรอย่างเป็นระบบ เกิดเป็นชุมชนนักปฏิบัติที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน ว่ายน้ำไปในทิศทางเดียวกัน
      ลท. พบว่าปลาทูเพียงอย่างเดียวนั้นยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในการจัดการความรู้ หากว่าปลาทูตัวนั้นเป็นปลาที่ตายแล้ว ลอยไปตามทิศทางของกระแสน้ำ อยู่ในน้ำเสีย นั่นหมายถึง สภาพแวดล้อมที่ทำให้ปลาตัวนี้ตาย  ดังนั้น ลท. จึงจำเป็นต้องหาวิธีการที่ทำให้ปลามีชีวิตควบคู่กันไปด้วย
       ปลาเป็นเท่านั้นที่จะใช้ตามองไปข้างหน้าได้ จะใช้ลำตัวที่แข็งแรงเคลื่อนไหวได้ และจะใช้หางอันทรงพลังขับเคลื่อนไปสู่ทิศทางที่ต้องการได้ เหมือนคนทำงาน ที่ไม่ได้ต้องการแค่มีชีวิตไปทำงานเท่านั้น แต่ต้องการความมีชีวาในการทำงานด้วย ปลาเป็นบางตัวแม้มีชีวิตแต่ก็อาจไม่สามารถว่ายไปสู่สิ่งที่ฝันไว้ได้ หากถูกขังอยู่ในตู้ปลาเล็กๆ คงทำได้แค่ว่ายไปว่ายมาเพื่อไว้โชว์ตัวให้คนนอกตู้แวะเวียนมาดูแล้วก็ผ่านไปเท่านั้น   ดังนั้นการสร้างบรรยากาศให้เกิดกระบวนจัดการความรู้อย่างต่อเนื่องจึงเป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน  ลท.จึงจำเป็นต้องสร้างบรรยากาศของการมีส่วนร่วมของทุกคนภายในฝ่าย  ซึ่งก็เหมือนกับการสร้างไข่ไก่ขึ้นมา 1 ฟองที่ประกอบด้วยเปลือกไข่ ไข่ขาว และ ไข่แดง หากแยกจากกันเมื่อไร ไข่ก็จะแตกในทันที

 

โมเดลไข่ประกอบไปด้วย  5 ขั้นตอน ที่ไม่ต้องเรียงลำดับหากแต่ ผสมผสานกันจนกลายเป็นไข่ทั้งฟอง
      1. การจัดการให้เกิดการเรียนรู้(Learning) เพื่อมุ่งหวังว่าจะสามารถสร้างภาพฝันร่วมกันของพนักงานทุกคนใน ลท. ได้อย่างง่ายๆ (Simplify)ไปกับงานประจำเดิมที่ทำอยู่ พร้อมกับสร้างสภาพแวดล้อม(Surrounding) ต่างๆขององค์การให้เอื้อต่อการเรียนรู้ เนื่องจากการเรียนรู้เป็นบ่อเกิดของความรู้และปัญญา โดยต้องมีการเตรียมคน เตรียมทีม เตรียมกิจกรรม เตรียมเครื่องมือเทคโนโลยีและเตรียมบรรยากาศองค์การที่ดีที่จะทำให้คนเกิดการเรียนรู้ได้ดี มีความคิดสร้างสรรค์ ในขั้นตอนนี้คุณเอื้อจะมีบทบาทหลัก ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญที่ ลท. ได้เลือก การใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ เป็นหัวข้อเรื่องในการจัดการความรู้ของ ลท. เนื่องจากทุกคนสามารถเข้าไปใช้งานได้ และมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่รองรับกิจกรรมการจัดการความรู้นี้อยู่แล้ว

      2. การจัดการให้เกิดองค์ความรู้(Knowledge Organizing) เพื่อให้พนักงานทุกคนใน ลท. รู้ว่าหน่วยงานของเราต้องมีความรู้อะไรจึงจะทำให้งานได้ผลดี เมื่อรู้แล้วจะไปหามาจากไหนได้บ้าง จะสร้าง จะค้นหามาไว้เพื่อนำเอามาจัดรวมให้เป็นวิธีการทำงาน หรือนวัตกรรมของ ลท. ซึ่งในขั้นตอนนี้คุณประกอบ หรือพนักงานทุกคนจะมีบทบาทหลัก

      3. การจัดการให้เกิดการใช้ความรู้(Knowledge Acting) เพื่อทำให้องค์ความรู้ที่มีอยู่นั้นได้มีโอกาสนำมาใช้หรือทดลองปฏิบัติจริงในหน่วยงานของ ลท. ดังนั้นใน ขั้นตอนนี้คุณกิจจะมีบทบาทหลักในการช่วยผลักดันให้พนักงานใน ลท. ร่วมกันใช้ความรู้ที่ได้จากการฝึกอบรมระบบสารสบรรณอิเล็กทรอนิกส์มาใช้จริงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

      4. การจัดการให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing) เพื่อให้คนทำงานที่ทำงานได้ผลดีได้นำเอาวิธีที่ปฏิบัติจนได้ผลดีนั้นมาเล่าแลกเปลี่ยนให้คนอื่นๆได้รับทราบและนำเอาไปประยุกต์ใช้ได้ โดยการสร้างปลาขึ้นจนครบทั้งหัว ตัวและหางปลา ทำให้เราได้วิธีการปฏิบัติที่ดีขึ้นขั้นนี้คุณอำนวย และคุณประสาน มีบทบาทหลัก

      5. การจัดการให้เกิดคลังความรู้ (Knowledge Asset) เพื่อให้มีการจัดเก็บ เผยแพร่ ทบทวน เข้าถึงความรู้ที่ดีที่ผ่านการนำไปปฏิบัติอย่างเห็นผลมาแล้ว ไว้ให้คนอื่นๆได้เอาไปดู ไปใช้ เอาไปต่อยอดได้ง่ายจนเกิดพลังความรู้มากขึ้นหรือยกระดับความรู้มากขึ้น(Spiral knowledge)ขั้นนี้คุณลิขิตมีบทบาทหลัก

      ดังนั้น โมเดลการจัดการความรู้ของ ลท. (IT4U ‘s KM Model) จึงเป็นการบูรณาการระหว่างโมเดลปลาทูและโมเดลไข่ จนเสริมพลังกันกลายเป็น Best P (Best Practice) ที่เปรียบเสมือนแหล่งโปรตีน (Protein) ชั้นเยี่ยมที่ช่วยเสริมสร้างให้องค์กรเกิดความแข็งแกร่งต่อไป

 

การเสริมสร้างสมรรถนะบุคลากรให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้   โดยส่วนตัวแล้วมีความคิดเห็นว่าการที่จะทำให้บุคคลในองค์กรการศึกษา เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ได้ จะต้องดำเนินการ ดังนี้

1.       การปรับเปลี่ยนค่านิยมในสถานศึกษา  โดยเน้นที่

-          ามขยัน อดทน ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์สุจริต รักษาเกียรติของอาชีพและมุ่งมั่น อุตสาหะในการทำงานให้มีคุณภาพ  รักและรับผิดชอบต่อสถาบันและตัวเอง

-     รณรงค์ในการสร้างระบบการทำงานใหม่ เน้นวัฒนธรรม   การประเมินการทำงานเป็นทีม   การทำงานตามมาตรฐานคุณภาพ โดยยึดความรู้ความสามารถและผลงานเป็นเกณฑ์ ในการพิจารณา  ความดี ความชอบ เน้นให้ผู้บริหารเป็นแบบอย่าง 

-          สร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมของการทำงานในสถานศึกษาให้เป็นมิตร อบอุ่น โดยทุกคนใช้   ปัญญาธรรม” “คารวะธรรมและ สามัคคีธรรมเป็นแนวปฏิบัติในการทำงาน  มีความรักและรับผิดชอบต่อตัวเอง  สถาบันและเพื่อนร่วมงาน

-          ปรับปรุงกระบวนการให้ขวัญกำลังใจ รางวัล และการลงโทษโดยดำเนินการด้วยความรวดเร็ว  ปรับปรุง  กระบวนการทางวินัยให้เกิดผลในทางปฏิบัติ

2.       การสื่อสารให้เข้าใจว่าทำไมจึงต้องมี การจัดการความรู้  จัดทำระบบสื่อสาร มีการสื่อสารการจัดการความรู้ให้เห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน เพื่อให้บุคลากรทุกคนได้รับข้อมูลข่าวสารพร้อมๆ กัน ทำให้เกิดความเข้าใจในการจัดการความรู้

3.       กระบวนการและเครื่องมือในการจัดการความรู้

                      เครื่องมือในการจัดการความรู้ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ถ้าเป็นการจัดการความรู้ประเภท Tacit Knowledge ก็จะใช้เครื่องมือที่อาจจะไม่ต้องเกี่ยวข้องกับสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศมากนัก เพราะการจัดการความรู้ประเภท Tacit Knowledge นั้น เป็นความรู้ที่เน้นการปฏิบัติ ซึ่งมาจากประสบการณ์การทำงาน      ดังนั้น กระบวนการ เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการความรู้ประเภท Tacit Knowledge ควรเป็นดังนี้

                              1.    การสัมมนาหรือประชุมเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงปฏิบัติการร่วมกัน

                              2.   การแบ่งปันความรู้ ข้อมูล

                              3.    การสอนงาน

                              4.    การเรียนรู้โดยการปฏิบัติ (Action Learning)

                              5.    การพบปะพูดคุยแบบไม่เป็นทางการ

                              6.    การจัดตั้งชุมชนนักปฏิบัติ

4.   การจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ในสถานศึกษา สามารถกระทำได้หลากหลายกิจกรรม เช่น

                              1.     การดึงความรู้ออกมาจากครูต้นแบบและกระจายความรู้ให้แก่ครูคนอื่น

              2.     จัดให้มีการประชุม แลกเปลี่ยนประสบการณ์ การจัดการเรียนการสอน            เพื่อพัฒนาคุณภาพ

              3.     จัดกระบวนการกลุ่มให้ครูผู้สอนในวิชาเดียวกันได้ระดมสมองแก้ปัญหา        การเรียนการสอน

              4.     ค้นหา และส่งเสริมครูผู้สอนผู้มีความสามารถพิเศษในด้านความรู้และทักษะการสอน

              5.     พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม และกิจกรรมเพื่อการพัฒนาครูรูปแบบต่างๆ

              6.     ส่งเสริม ยกย่องให้รางวัลแก่ ครูผู้สอนที่มีการจัดการความรู้ที่นำไปสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้

              7.     จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกในการค้นคว้าความรู้

หมายเลขบันทึก: 168521เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2008 21:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท