บักหำโต้น
นาย อินทนนท์ นายอินท์ อินทนพ

สถิติที่เหมาะสมสำหรับข้อมูลงานวิจัยต่าง ๆ


สถิติ งานวิจัย

 

สถิติที่เหมาะสมสำหรับข้อมูลงานวิจัยต่าง ๆ

 

ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จากงานวิจัย สามารถจำแนกตาม มาตรการวัดหรือสเกลการวัด (Measurement Scale) ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 สเกล ดังนี้

1. สเกลนามบัญญัติ
(Norminal Scale)

2. สเกลเรียงลำดับ
(Ordinal or Rating Scale)

3. สเกลอันตรภาค
(Interval Scale)

4. สเกลอัตราส่วน
(Ratio Scale)

เป็นการวัดที่หยาบที่สุด โดยจำแนกประเภทของสิ่งของต่าง ๆ เพื่อให้เห็นความแตกต่างเท่านั้น ไม่มีความหมายในเชิงปริมาณ และไม่สามารถนำตัวเลขเหล่านี้มา บวก ลบ คูณ หารกันได้ ข้อมูลนี้เป็นเพียงข้อความ เช่น เพศ กำหนดให้เป็นเลข 1 แทนเพศชาย และ 2 แทนเพศหญิง หรือจำแนกตามอาชีพเป็น แม่บ้าน ข้าราชการ ค่าขาย รับจ้าง หรือเกษตรกร เป็นต้น

เป็นการวัดเช่นเดียวกับมาตรวัดนามบัญญัติ ข้อมูลอาจเป็นข้อความหรือตัวเลข ซึ่งไม่มีความหมายในเชิงปริมาณ แต่สามารถบอกความแตกต่างในแต่ละระดับเป็นลำดับได้ ซึ่งกำหนดทิศทางว่าสูงกว่า ดีกว่า หรือด้อยกว่า จึงนำตัวเลขเหล่านี้มา บวก ลบ คูณ หารกันไม่ได้ เช่น ทัศนคติ เช่น ชอบมาก ชอบน้อย เฉย ๆ หรืออันดับการแข่งขัน เช่น อันดับที่ 1 อันดับที่ 2 อันดับที่ 3 หรือผลการสอบได้ลำดับขั้น A, B, C, D และ F เป็นต้น

ข้อมูลอยู่ในรูปตัวเลข เช่น คะแนนสอบ อุณหภูมิ ซึ่งเป็นการวัดข้อมูลที่สามารถบอกได้ว่ามีความแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด ซึ่งตัวเลขเหล่านี้นำมา บวก ลบได้ แต่คูณ หารกันไม่ได้ เช่น ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส ไม่ใช่มีความร้อนเป็น 2 เท่าของอุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส หรือนักศึกษาที่สอบได้ 80 คะแนน ไม่ได้หมายความว่า มีความสามารถเป็น 4 เท่าของนักศึกษาที่สอบได้ 20 คะแนน และศูนย์ของข้อมูลชนิดนี้เป็นศูนย์สมมติ ไม่ใช่ศูนย์แท้ (Non - Absolute Zero) เช่น ที่อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส ไม่ได้หมายความว่า ณ จุดนั้นไม่มีความร้อนอยู่เลย หรือนักศึกษาสอบได้ 0 คะแนน ไม่ได้หมายความว่า ไม่มีความรู้อยู่เลย แต่เป็นเพียงตัวเลขที่บอกว่าเขาทำข้อสอบไม่ได้เท่านั้น

ข้อมูลอยู่ในรูปตัวเลข โดยเป็นการวัดในระดับสูงสุด ที่มี ศูนย์แท้ (Absolute Zero) ซึ่งหมายถึง ไม่มีอะไรเลย และสามารถบอกความแตกต่างในเชิงปริมาณได้ ซึ่งตัวเลขเหล่านี้นำมา บวก ลบ คูณ หารกันได้ เช่น ความยาว น้ำหนัก ส่วนสูง ระยะทาง เวลา เป็นต้น

 

ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้อาจจำแนกตาม ลักษณะของข้อมูล ได้ 2 ประเภท คือ

1. ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data)

2. ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data)

เป็นข้อมูลที่แสดงความแตกต่างในปริมาณหรือขนาดในลักษณะของตัวเลข ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้จาก การชั่ง การตวง การวัด เช่น รายได้ อายุ น้ำหนัก ส่วนสูง คะแนนสอบ เป็นต้น ข้อมูลประเภทนี้วัดด้วยสเกลนามบัญญัติ และสเกลเรียงลำดับ

เป็นข้อมูลที่แสดงความแตกต่างเชิง คุณภาพ เช่น เพศ ฐานะ สถานภาพสมรส ศาสนา หมู่เลือด เป็นต้น ข้อมูลประเภทนี้วัดด้วยสเกลอัตรภาค และสเกลอัตราส่วน

 

การเลือกใช้สถิติวิเคราะหที่เหมาะสมสำหรับสเกลการวัดของข้อมูล ดังนี้

การวิเคราะห์

สเกลของข้อมูล

นามบัญญัติ

เรียงลำดับ

อันตรภาค และอัตราส่วน

การแจกแจง

1. ความถี่
2. ร้อยละ
3. สัดส่วน

 

1. ความถี่
2. ร้อยละ
3. สัดส่วน
4. ความเบ้
5. ความโด่ง

การวัดบอกตำแหน่ง

 

1. Percentile
2. Decile
3. Quartile

1. Percentile
2. Decile
3. Quartile

การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง

1. ฐานนิยม (Mode)

1. มัธยฐาน (Median)

1. ค่าเฉลี่ย (Mean)
2. มัธยฐาน (Median)
3. ฐานนิยม (Mode)

การวัดการกระจาย

 

1. พิสัย (Range)

1. พิสัย (Range)
2. ค่าเบี่ยงเบนเฉลี่ย (Mean Deviation)
3. ค่าเบี่ยงเบนควอไทล์ (Quartile Deviation)
4. ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

ความสัมพันธ์

1. Phi ข้อมูล 2 ทางแบบ 2x2
2. Contingency ข้อมูล 2 ทางที่มีทางใดทางหนึ่งแยกได้มากกว่า 2

1. Spearman-Rank ข้อมูลจัดอันดับ 2 ชุด
2. Gamma
3. Somer's d
4. Kendall ข้อมูลจัดอันดับมากกว่า 2 ชุด

1. Pearson's Product Moment ข้อมูลต่อเนื่อง 2 ชุด
2. Biserial ตัวแปรที่ 1 ต่อเนื่อง ตัวแปรที่ 2 ถูกบังคับให้แยกเป็น 2
3. Point-Biserial ตัวแปรที่ 1 ต่อเนื่อง ตัวแปรที่ 2 แยกเองออกเป็น 2
4. Tetrachoric ตัวแปรต่อเนื่องทั้ง 2 ตัว และต่างก็ถูกบังคับให้แยกเป็น 2
5. Regression Analysis

ประชากร 1 กลุ่ม

1. Binomial test
2. Chi-square one-sample test
3. Estimation of Proportion

1. Kolmogorov Smirnov one-sample test
2. One-sample Run test

1. t-test เทียบกับ ค่าเฉลี่ยของประชากร
2. Estimation of mean

ประชากร 2 กลุ่ม
ที่มีความสัมพันธ์กัน

1. McNemar test for the significance of Changes

1. Sign-test
2. Wilcoxon Matched-Pairs Signed-Ranks test

1. t-test (Pairs)

ประชากร 2 กลุ่ม
ที่อิสระกัน

1. Fisher exact Probability test
2. Chi-square test for two independent Samples

1. Median test
2. Mann-Whitey (U-test)
3. Kolmogorov-Smirnov two-Sample test
4. Wald-Wolfowitz run test
5. Moses test of extreme

1. t-test (Groups)
2. Z-test

ประชากร k กลุ่ม
ที่มีความสัมพันธ์กัน

1. Cochran (Q-test)

1. Friedman two way analysis of variance

1. ANOVA Repeated

ประชากร k กลุ่ม
ที่อิสระกัน

1. Chi-square test

1. Extention of Median test
2. Kruskal-Wallis One-Way analysis of Variance

1. ANOVA แบบ Groups

 

หมายเลขบันทึก: 167825เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2008 01:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท