บักหำโต้น
นาย อินทนนท์ นายอินท์ อินทนพ

การถ่ายโอน สถานีอนามัย


ถ่ายโออนามัยไป อบต. ประชาชนได้อะไร

การกระจายอำนาจด้านสุขภาพให้กับท้องถิ่น

รัฐธรรมนูญกับการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น

หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 78         รัฐต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการท้องถิ่นได้เอง พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่นให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น

 

-                   ประชาชนในท้องถิ่นสามารถ พึ่งตนเอง และมีอำนาจในการ ตัดสินใจในกิจการของท้องถิ่นเอง

-                   การปรับปรุงกฎหมายท้องถิ่น และการบังคับใช้

-                   ความเป็นอิสระของท้องถิ่นในการ ที่จะพึ่งตนเอง/ตัดสินใจในการดำเนิน กิจกรรมของตนเอง

กระจายอำนาจจากส่วนกลางไปสู่ส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ท้องถิ่นสามารถพึ่งตนเองและสามารถตัดสินใจในกิจการของท้องถิ่นได้เอง

 

ประชาชนจะได้อะไร ?
จากการกระจายอำนาจ

v ได้รับการบริการสาธารณะที่ดีขึ้น

v มีบทบาทในการตัดสินใจ กำกับดูแล และตรวจสอบ

v มีโอกาสเข้าร่วมในการบริหารงานขององค์กร

ท้องถิ่นได้อะไร ?
จากการกระจายอำนาจ

v ความเป็นอิสระในการบริหารจัดการ

v มีความเข้มแข็งและพึ่งตัวเองได้

v มีความชัดเจนในการจัดการด้านบริการสาธารณะ และมีบุคลากรเพิ่มขึ้น

v ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง

อำนาจหน้าที่ของคณะผู้บริหารส่วนตำบล

v บริหารกิจการขององค์การบริหารส่วนตำบล ให้เป็นไปตามมติ ข้อบังคับ และแผนพัฒนาตำบล และรับผิดชอบการบริหารกิจการขององค์การบริหารส่วนตำบลต่อสภาองค์การบริหารส่วนตำบล

v จัดทำแผนพัฒนาตำบลและการใช้จ่ายเงิน

v รายงานการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายเงิน

v ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ทางราชการมอบหมาย

อำนาจหน้าที่ของคณะผู้บริหารส่วนตำบล

อำนาจหน้าที่ที่ต้องทำ

v จัดให้มีการบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก

v รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

v ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ

v ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

v ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

อำนาจหน้าที่ของคณะผู้บริหารส่วนตำบล

อำนาจหน้าที่ที่ต้องทำ

v  ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ

v  คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

v  บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

v  ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมาย โดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากรให้ตามความจำเป็นและสมควร

อำนาจหน้าที่ของคณะผู้บริหารส่วนตำบล

อำนาจหน้าที่ที่อาจทำได้ตามความจำเป็นหรือตามความสามารถ

v จัดให้มีน้ำ ไฟฟ้า/แสงสว่าง ทางระบายน้ำ สถานที่ประชุม

v ส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์

v อุตสาหกรรมในครอบครัว

v บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพ

v ทรัพย์สินอันเป็นสาธารณะสมบัติ

v หาผลประโยชน์จากทรัพย์สิน

อำนาจหน้าที่ของคณะผู้บริหารส่วนตำบล

อำนาจหน้าที่ที่อาจทำได้ตามความจำเป็นหรือตามความสามารถ

v ตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม

v กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์

v การท่องเที่ยว

v การผังเมือง

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับระบบสาธารณสุข

      ตาม พ.ร.บ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ได้กำหนดอำนาจและหน้าที่ ในหมวด 2 มาตรา 16 ซึ่งมีงานที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของประชาชน ดังนี้

      (3) การจัดให้มีการควบคุมตลาด

      (10) การพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส

      (12) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด และการจัดการที่อยู่อาศัย

      (13) การจัดให้มีการบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

      (17) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับระบบสาธารณสุข

      ตาม พ.ร.บ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ได้กำหนดอำนาจและหน้าที่ ในหมวด 2 มาตรา 16 ซึ่งมีงานที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของประชาชน ดังนี้

      (18) การเก็บขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย

      (19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล

      (21) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์

      (23) การอนามัยในโรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่นๆ

      (28) การควบคุมอาหาร

ความหมายของการสาธารณสุข

การสาธารณสุขจะครอบคลุมงานด้าน:

vการป้องกันโรค

vการส่งเสริมสุขภาพ

vการรักษาพยาบาล

vการฟื้นฟูบำบัด

การสาธารณสุข (Public Health)

ตามความหมายของ WHO  

หมายถึง ศาสตร์และศิลปะในการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และช่วยให้ชีวิตยืนยาว โดยอาศัยการรวมพลังทั้งมวลของสังคม

 

(Acheson Report, London, 1988)

การส่งเสริมสุขภาพ
(Health Promotion)

vกิจกรรมหรือการสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตัวกำหนดสุขภาวะ ไม่เพียงแต่เฉพาะแต่ละบุคคล แต่ยังรวมถึงด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และการทำงาน (WHO)

vกระบวนการเพิ่มสมรรถนะให้ประชาชนมีความสามารถในการควบคุมและพัฒนาสุขภาพตนเอง อันจะเป็นผลต่อสุขภาวะที่สมบูรณ์ทางกาย ทางจิต และทางสังคม (กฎบัตรออตตาวา)

การป้องกันโรค
(Disease Prevention)

v การลด การกำจัด ป้องกันโรคและภาวะแทรกซ้อน และผลที่ตามมาของโรค (WHO)

 

      ดังนั้น การดูสังคมต้องดูในภาพรวม

      ดูความสัมพันธ์ของระบบของปัจจัย

      ขององค์ประกอบต่างๆ ด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้อง

      กับอำนาจหน้าที่ในการดำเนินงานตามกฎหมาย

สาระสำคัญของแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2543

vเป็นแผนที่กำหนดกรอบรางวัล เป้าหมาย และแนวทางการกระจายอำนาจ ให้เป็นไปตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542

vโดยยึดหลักการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย

vไม่เป็นแผนที่เบ็ดเสร็จ มีกระบวนการที่ยืดหยุ่น

vและสามารถปรับวิธีการให้สอดคล้องกับสถานการณ์

วิสัยทัศน์การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น

vช่วงที่ 1 พ.ศ. 2544-2547

vช่วงที่ 2 พ.ศ. 2548-2553

vช่วงเวลาหลังจากปีที่ 10 (พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป)

หลักการและสาระสำคัญของการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น

vด้านความเป็นอิสระในการกำหนดนโนบาย

vด้านการบริหารราชการแผ่นดิน

vด้านประสิทธิภาพการบริหาร

 

เป้าหมายของแผนการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น

vให้มีการถ่ายโอนภารกิจให้แก่ท้องถิ่นภายใน 4 ปี หากดำเนินการไม่ได้         ให้ดำเนินการถ่ายโอนภายใน 10 ปี

vกำหนดการจัดสรรภาษีและอากร เงินอุดหนุน และรายได้อื่นๆในปี 2544      ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 และในปี 2549 ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 35 ของรายได้รัฐบาล

vจัดตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี โดยให้รัฐจัดสรรเงินอุดหนุน

vจัดระบบถ่ายโอนบุคลากรจากหน่วยงานของรัฐให้สอดคล้องกับการถ่ายโอนภารกิจ

vปรับปรุงกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับการถ่ายโอนอำนาจและหน้าที่

ขอบเขตการถ่ายโอนภารกิจด้านสาธารณสุข

vกระทรวงสาธารณสุขมีบทบาทในการกำกับดูแลและบริหารจัดการระบบสุขภาพในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเท่าเทียม

vมีคณะกรรมการสุขภาพระดับพื้นที่ (กสพ.)

vมีการถ่ายโอนงานด้านการพัฒนาสุขภาพอนามัยให้ กสพ. และ กสพ. พิจารณามอบหมายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

vกสพ. เป็นกลไกของท้องถิ่น ที่มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นเจ้าของร่วมกันภารกิจที่ต้องถ่ายโอน

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

vการก่อสร้างสถานบริการใหม่

vโครงการประกันสุขภาพ

vสนับสนุนเงินอุดหนุนเพื่อการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ

ภารกิจที่ต้องถ่ายโอน

กรมอนามัย

vการแก้ไขปัญหาเด็กน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์

vส่งเสริมสุขภาพกลุ่มแม่และเด็ก  กลุ่มวัยทำงานและกลุ่มผู้สูงอายุ

vงานทันตสาธารณสุข งานโภชนาการ งานวางแผนครอบครัว

vงานส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ

vสนับสนุนเงินอุดหนุนพี่เลี้ยงเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

vการจัดหาและพัฒนาน้ำสะอาด งานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สุขาภิบาลอาหาร

ภารกิจที่ต้องถ่ายโอน

กรมควบคุมโรค

vรูปแบบการถ่ายโอนเป็นลักษณะร่วมมือกันระหว่างส่วนกลาง กับ กสพ. หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น การจัดหาเวชภัณฑ์  และการสนับสนุนการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในท้องถิ่น

ภารกิจที่ต้องถ่ายโอน

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

vอย. ต้องถ่ายโอนงานและงบประมาณด้านการคุ้มครองผู้บริโภค

vการสร้างและขยายเครือข่าย การมีส่วนร่วมในงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข (คบส.) ของผู้บริโภคในท้องถิ่น

พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545

มาตรา 47 กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้

ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้ อบต. หรือ เทศบาล ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่การมีส่วนร่วมในการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

ลำดับขั้นการดำเนินการกองทุนฯตำบล

หมายเลขบันทึก: 167822เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2008 01:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2012 16:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท