วันแห่งการเรียนรู้


วันแห่งการเรียนรู้ RAE QA ก้อนกรวด

วันนี้เวลาประมาณ 9 เศษ ฟังรายการ 96.5 ของคุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย และ คุณวิชัย คุยเรื่องเกี่ยวกันธรรมะ แต่สิ่งที่จำได้จนถึงเย็นก็คือ ชีวิตเรามักมีก้อนกรวด หินดินทราย เข้ามากระทบเสมออยุ่ที่ว่าเราจะจัดการกับก้อนกรวดเหล่านี้อย่างไร เมื่อเช้ายังมีไอเดียอยู่เลยว่าจะเขียนต่อเรื่องนี้อย่างไร แต่วันนี้ก้อนหินกระทบเข้ามาเยอะมาก แต่เป็นก้อนหินที่มีคุณค่า อยากเล่าให้ฟังต่อ 

แต่ตอนนี้ลืมแล้ว เพราะวันนี้มีเรื่องน่าสนใจหลายเรื่องมาก

เรื่องที่สอง ช่วงเช้ามีการประชุมคณะกรรมการ KM ซึ่งกรรมการหลายท่านบอกว่า เราชาวไทยไม่ค่อยชอบ KM หมายถึงว่าไม่ค่อยมีใครอยากมาเล่าเรื่อง แต่ถ้าบอกให้ทำเขายินดีทำ แต่ในอีกมุมมองหนึ่ง อยากให้เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้จริง ๆ อยากให้มีการเล่าประสบการ หรือให้ข้อเสนอแนะเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ดีขึ้น ที่จริงวันนี้กรรมการนำเสนอไอเดียหลาย ๆ ดีมากเลย

ก็มีความคิดหลากหลายที่นำเสนอ กรรมการบางท่านก็เสนอให้มีการให้รางวัลผู้ที่นำเสนอแนวคิด ๆ และนำไปสู่การปฏิบัติแล้วประสบผลดี เหมือนภาคเอกชน แต่กรรมการบางท่านก็บอก การให้รางวัลอาจเกิดเหตุการณ์ล่ารางวัล แต่ไม่สามารถนำไปสู่การพัฒนาอย่างจริงจัง ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่ง

ตอนบ่าย ๆ มี Professor Neil Collenely จาก Britol มาบรรยาย QA และ RAE ในห้องประชุมมีคำถามหลายคำถามที่น่าสนใจมาก นำมาเล่าสูกันฟังดังนี้

1) ผู้บรรยาย เล่าให้ฟังว่าการทำ QA มหาวิทยาลัยไม่รู้หรอกว่าแต่ครั้งของการประเมินเข้าจะมีเกณฑ์ในการประเมินอย่างไร แต่แน่ ๆ คือถูกจัดลำดับ และผลการจัดลำดับนำไปสู่การจัดสรรงบประมาณ ซึ่งก็มีผู้เข้าร่วมสัมมนาถามว่า แล้วไม่รู้สึกรำคาญหรือ ในเมื่อไม่รู้ว่าต้องประเมินอะไร แล้วทำต้องทำ วิทยากรก็ตอบว่ามันผูกกับงบประมาณ เราต้องทำภาระกิจให้ดีที่สุด --- อยากจะสรุปหลาย ๆ อาจารย์หลาย ๆ ท่านที่ชอบถามว่าเมื่อไหร่ดัชนีจึงนิ่ง ซึ่งได้พยายามชี้แจงบ่อยครั้งว่า ถ้าหน่วยงานท่านทำดัชนีดังกล่าวดีแล้ว ดัชนีดังกล่าวก็หมดความหมายต้องหาตัวใหม่ต่อไป แต่ดูเหมือนหลาย ๆ ท่านไม่เข้าใจ ฝรั่งเค้าก็ทำ เค้ารู้แต่เพียงว่ามันมีผลต่อการจัดสรรงบประมาณ ถ้าไม่ได้ตามเกณฑ์ก็ต้องปิดหน่วยงานไป

2) ในการประชุมมีอาจารย์ท่านหนึ่งเล่าให้ฟัง เสมือนหนึ่งระบายความในใจที่บอกว่า ภาระกิจของอาจารย์สอนกับวิจัย แต่อาจารย์เล่าให้ฟังว่าเงินวิจัยที่ได้มาไม่ส่งเสริมให้ทำวิจัยเลย สู้รับจ้างสอนหนังสือจะดีกว่า รายได้จัดเจน --- เป็นข้อเท็จจริงใครละจะยอมทำงานเท่ากันแต่ได้รายได้น้อยกว่า

3) อีกคำถามที่น่าสนใจ วิสัยทัศน์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย แต่หน่วยงานหนึ่งมีอาจารย์ส่วนใหญ่ที่ไม่ขอบทำวิจัย แต่ชอบสอน ถามวิทยากรว่าคำทำอย่างไร วิทยากรก็ตาม ต้องย้อนกลับไปดูวิสัยทัศน์ของหน่วยงาน ถ้าไม่ได้ล้อตามมหาวิทยาลัย หน่วยงานดังกล่าวยังสามารถสนับสนุนมหาวิทยาลัยในด้านใดได้บ้าง หรือไม่งันก็ต้องปิดตัวเองลง

   เรื่องที่น่าสนใจ คือ ต่างประเทศ เค้าปิดภาคได้ง่าย แต่ไทย คงเป็นไปได้ยากเหมือนกันนะ

4) อาจารย์ท่านหนึ่งบอกว่า การทำงานราชการเสมือนหนึ่งได้รับทุนตลอดชีวิต ไม่ทำงานก็ไม่มีใครสามารถไล่ออกได้ --- ต้องหาระบบประเมินที่เที่ยง 

5) มีคำถามที่น่าสนใจอีกคำถามหนึ่งซึ่งมาจากนิสิตบัณฑิตศึกษาที่กำลังเตรียมตัวไปเรียนต่อต่างประเทศ คำถามก็ถือเงือนไขการเรียนจบระดับปริญญาเอกต้องมีผลงานตีพิมพ์กี่ผลงาน ซึ่งวิทยากรก็ตอบว่าไม่ใช่ข้อกำหนดในการขอจบการศึกษา แต่การทำวิจัยต้องมีการตีพิมพ์ แต่ไม่ใช่ข้อบังคับ --- วัฒนธรรม ไทย กับตะวันตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เค้ารู้ว่าการเป็นอาจารย์ นักวิจัยต้องทำอะไร แต่ไทยเราไม่ทราบ ต้องให้ใครก็ไม่รู้มาตั้งกฎ แล้วทำตามกฎ (เดียวนี้ขอทุนวิจัยก็ต้องระบุว่าจะไปตีพิมพ์ที่ใหน) ทำให้นึกถึงนักจัดรายการท่านหนึ่ง เค้าอ่านหนังสือเล่มหนึ่งให้ฟัง (ขออภัยจำไม่ได้) แต่สิ่งที่เค้าเล่าให้ฟัง ก็คือการทำอะไรก็ตาม ต้องมีความรู้สึก (Feel it) หรือต้องรู้ว่ากำลังทำอะไร ทำไปเพื่ออะไร

      ถ้า RAE ถูกนำมาใช้ในการจัดสรรทุนจริง ยังคิดอยู่ว่ามันจะยุติธรรมหรือไม่ ผู้ทีลงแรงไปแล้วได้รับเป็นทุนกลับมาจริงหรือไม่

     ระบบราชการหลายอย่างยังรอการปรับปรุง แต่ก็สงสัยในใจเหมือนกันนะว่าเราจะมีระบบที่เที่ยง ยุติธรรม โปร่งใส หรือไม่

     เย็น ๆ ได้นั่งคุยกับ นิสิตในความดูแล เรื่อง One stop Service หรือ การประยุกต์ E-Government ถึงแม้ว่าหลายหน่วยงานมีการปรับปรุงไปเยอะมาก ระบบที่ติดใจมากคือ กรมการขนส่งทางบก ที่เปลี่ยนรูปโฉมการทำงานเสร็จในเวลาไม่เกิน 5 นาที (ได้ใช้บริการมาสองปี แล้ว)

    ก็เลยคิดต่อกับลูกศิษย์ว่า ถ้าตำรวจเปลี่ยนระบบค่าทำผิดทางจราจร ให้ไปจ่ายรวมกับตอนเสียภาษีจะสำเร็จหรือไม่ ซึ่งจะป้องการการทุรจริตไปส่วนหนึ่ง เราถกเถียงกันมาก แต่เราสรุปว่ามันเป็นไปไม่ได้

    เพราะ การจ่ายแบบไม่มีใบเสร็จจะถูกว่า ต้องเสียใบเสร็จ เช่นค่าปรับทำผิดกฎจราจล เสียค่าปรับปกติ 400 บาท จ่ายทันที่ 200 บาท แล้วใครละจะยอมไปเสียค่าปรับ --- น่าจะใช้ระบบตัดคะแนน และทำงานเพื่อสังคมแทน กรณีทำผิดไม่ร้ายแรง -- แล้วใครจะยอมแก้ไขหม้อข้าวตนเอง ละ (เรื่องนี้น่าสนใจ แต่ไม่กล้าเขียนมาก)

     มนุษย์มีการประเมินเสมอ และเลือกทางที่ต้นทุนตำกว่าเสมอ (ต้นทุนตำในปัจจุบัน ไม่ใช่ต้นทุนในภาพรวม หรือ ระยะยาว)

       วันนี้ได้เรียนรู้เยอะมากเลย จำไม่หมด แก่แล้ว

หมายเลขบันทึก: 167597เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2008 22:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท