ทำนายว่า "มันจะจับหรือไม่จับ"


ทำนายว่า ส่วนใดของเชื้อโรคชนิดใหม่ๆ น่าจะจับกับ MHC

 

ทำนายว่า "มันจะจับหรือไม่จับ"

 

เซลล์ในร่างกายชนิดหนึ่งของเรา คอยดูแลร่างกาย เฉกเช่นทหารหาญรักษาชาติ

เซลล์บางชนิดมีองค์ประกอบหรืออุปกรณ์สำคัญที่จะช่วยแจ้งเบาะแสหรือบอกว่า นั่นคือผู้บุกรุก (ตัวอย่างของเซลล์ที่บุกรุก เช่น เซลล์ของแบคทีเรีย เซลล์ของเชื้อรา และปรสิต) หรือว่ามันเป็นเซลล์ที่ทรยศแล้ว (เซลล์ที่ผิดปกติควบคุมการเจริญไม่ได้ กลายเป็นเนื้องอกหรือมะเร็ง) หรือเซลล์ที่โดนข้าศึกยึดไปเป็นแล้วเช่น เซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส  องค์ประกอบนั้น คือ โมเลกุลบนผิวของมันเรียกย่อๆว่า เอ็มเอชซี (MHC)

โปรตีนหรือเปปไทด์ที่เป็นของผู้บุกรุกหรือของเซลล์ที่ผิดปกติแล้วบางชนิด จะถูกจับภายในร่องของโมเลกุล MHC  การจับกันนี้จะนำไปสู่การส่งสัญญาณให้เซลล์อีกชนิดที่ทำหน้าที่ฆ่า รู้จักข้าศึกและจัดการทำลายผู้บุกรุก

 

มีการศึกษาทดลองมากมายที่ทำให้มีข้อมูลว่า เปปไทด์ชนิดใดบ้างจะจับหรือรับรู้โดยโมเลกุล MHC ข้อมูลเหล่านั้นถูกนำมาวิเคราะห์และสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อทำนายว่า ส่วนใดของเชื้อโรคชนิดใหม่ๆ น่าจะจับกับ MHC

ถ้าทำการทดลองในห้องปฏิบัติการจริงๆและพบว่าเปปไทด์จับกันกับ MHC ได้จริงๆตามที่โปรแกรมทำนาย ก็อาจนำไปสู่การผลิตวัคซีนเพื่อใช้เตรียมร่างกายเสมือนให้ฝึกทหารหาญเหล่านี้ให้รู้ลักษณะ ของผู้บุกรุกหรือผู้ทรยศ และเตรียมเซลล์นักฆ่าให้พร้อมรับมือ ก่อนที่เซลล์เหล่านั้นจะเข้ามาในร่างกายจริงๆ

 

อ่านลงลึกในรายละเอียด เรื่อง การใช้ชีวสารสนเทศ หาอิพิโทพของ T cell

ตอนที่ 1  คลิก http://www.u-sabai-d.com/blogWP/?p=4

ตอนที่ 2  คลิก http://www.u-sabai-d.com/blogWP/?p=5

ตอนที่ 3  คลิก http://www.u-sabai-d.com/blogWP/?p=6

 อย่าลืม เข้าไปอ่านแล้วเขียนคำทักทาย คำแนะนำไว้ด้วยครับ

หมายเลขบันทึก: 167209เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2008 06:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท