หลวงประดิษฐ์ไพเราะ


หลวงประดิษฐ์ไพเราะ ประวัติย่อ นักดนตรี

 

หลวงประดิษฐ์ไพเราะ

 มีนามเดิมว่า " ศร  ศิลปบรรเลง "

เป็นบุตรคนสุดท้องของครูสิน  และนางยิ้ม      ศิลปบรรเลง

ครูปี่พาทย์แห่งเมืองสมุทรสงคราม เกิดเมื่อ  6  สิงหาคม  2424   

( รัชกาลที่ 5 )    ที่ ต. คลองดาวดึงส์

จ. สมุทรสงคราม  ตอนอายุ  5   ปีก็สามารถตีฆ้องวงเป็นเพลงได้

โดยไม่มีใครสอน จนท่านอายุได้  11  ปี จึงสนใจอย่างจริงจัง

ด้วยฝีมืออันยอดเยี่ยม นายศร  จึงเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปรวม

ทั้งเจ้านายชั้นผู้ใหญ่  อาทิเช่นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรา

นุวัตติวงศ์  ซึ่งเป็นนักดนตรีฝีมือเยี่ยมพระองค์หนึ่ง

       ครั้งสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภานุพันธุวงศ์วรเดชได้เสด็จไป

บัญชาการรับเสด็จรัชกาลที่ 5  เสด็จประพาสถ้ำเขางู จังหวัด

ราชบุรี  สมเด็จเจ้าฟ้า ฯวังบูรพาองค์นี้ได้ทรงทราบกิตติศัพท์

ของนายศร   จึงรับสั่งให้หาตัวนายศรเมื่อเห็นฝีมือแล้วทรงพอ

พระทัยมาก จึงได้ขอตัวมาเป็นมหาดเล็กในตำแหน่ง  จางวาง (เป็นใหญ่ในบรรดามหาดเล็ก)ในวังบูรพาภิรมย์   ตั้งแต่นายศร

มีอายุ  19  ปี

        ชื่อของ จางวางศร และวงดนตรีวังบูรพาภิรมย์เป็นที่ชื่นชอบ

โดยทั่วไป  ความสามารถของจางวางศร ไม่เฉพาะเพียงฝีมือใน

การบรรเลงดนตรีไทยได้ทุกเครื่องเท่านั้น ท่านยังสามารถใน

การแต่งเพลงขึ้นใหม่  ทั้งยัง  ปรับปรุงเพลงที่มีอยู่แล้ว ขยาย

อัตราจังหวะขึ้นเป็นสามชั้นและท่อนลงเป็นชั้นเดียว   ซึ่งเรียก

ว่า" เพลงเถา " 

       เมื่อครั้งได้เสด็จตามสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภานุพันธุวงศ์

วรเดชเสด็จประพาสชวา(ประเทศอินโดนิเชียในปัจจุบัน )  ในปี

พ.ศ. 2451 จางวางศรยังเป็นผู้จำเพลงชวา มาเรียบเรียงใหม่ ให้

เป็นเพลงของไทย  เช่นเพลงบูเซ็กซ็อคและเพลงยะวา ทั้งยัง

ได้เป็นผู้นำเอา  อังกะลุง ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีของชวา มาบรรเลง

เป็นเพลงไทย เป็นท่านแรก  และได้ปรับปรุงขึ้นใหม่จนกลาย

เป็นเครื่องดนตรีประจำชาติไทยจนถึงปัจจุบัน

 

ในงานคล้ายวันเกิดของเจ้าพระยารามราฆพ  จางวางศรได้นำ

วงดนตรีและเพลงใหม่ที่แต่งขึ้นมาบรรเลงในงาน พระบาทสมเด็จ

พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 6) ได้เสด็จประทับฟังอยู่ด้วย

เป็นที่พอพระราชหฤทัยมาก จึงได้โปรดเกล้า ฯ พระราชทาน

บรรดาศักดิ์และราชทินนาม ให้เป็น" หลวงประดิษฐ์ไพเราะ " ต่อมา

ก็ได้รับพระราชทานแต่งตั้งให้เป็น  ปลัดกรมพิณพาทย์หลวง

       ครั้งในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7

หลวงประดิษฐ์ไพเราะร่วมกับหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดุริยชีวิน) ได้เป็นผู้ถวายวิชาดนตรีไทยแด่พระองค์ท่าน ครั้นใน  คราวรัชกาล

ที่  7 เสด็จประพาสเขมรในปี พ.ศ. 2473  หลวงประดิษฐ์ไพเราะ

ก็ได้โดยเสด็จไปด้วย และได้มีโอกาสแสดงดนตรีไทย ร่วมกับ

วงปี่พาทย์เขมร  จนเป็น  ที่ทรงพอพระทัยของกษัตริย์เขมร

พระองค์จึงทรงให้หลวงประดิษฐ์ไพเราะ  ช่วยสอนเพลงไทย

ให้แก่ครูดนตรีในราชสำนักเขมร

         ในปี   พ.ศ. 2472  สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพมีดำริให้

บันทึกเพลงไทยด้วยโน้ตสากล  จึงมอบให้หลวงประดิษฐ์ไพเราะ  

เป็นหัวหน้าฝ่ายบอกทำนอง  และเป็นกรรมการตรวจตราเพลงที่

บันทึกด้วย

         หลวงประดิษฐ์ไพเราะ  เป็นนักดนตรีที่มีแนวคิดใหม่ ๆ เป็นต้น

ตำรับของการเปลี่ยนแปลงเพลงทางต่าง ๆ  ต้นตำรับการเดี่ยวขิม 

7  ตัว และระนาด 2 ราง ท่านเคยเป็นครูสอนที่โรงเรียนมหาดเล็ก

หลวง  โรงเรียนราชินี  โรงเรียนนาฏศิลป์  และคุรุสภา  บ้านศิลป

บรรเลงของท่าน เปรียบเสมือนสถาบันการศึกษา ด้านดุริยางศิลป์

มีลูกศิษย์มากมาย   ทั้งชาวไทย  ลาวและเขมร  อาทิเช่น อาจารย์

มนตรี ตราโมท,ศาสตราจารย์ ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์,ครูบุญยง เกตุคง

เป็นต้นเพลงที่ท่านแต่งไว้   ก็มีมากมายหลายร้อยเพลง  เช่น 

ปฐมดุสิตสามชั้น, แสนคำนึงเถา, ยวนเคล้าเถา, จีนนำเสด็จสามชั้น,  แขกสาหร่ายเถา   ฯลฯ 

            หลวงประดิษฐ์ไพเราะ  ได้ล้มป่วยลง และถึงแก่กรรม

เมื่อ  วันที่  8 มีนาคม  พ.ศ.  2497     รวมอายุได้  73 ปี

 

อ้างอิง http://www.geocities.com/cho_piman/musicianhistory.htm

http://www.212cafe.com/freewebboard/view.php?user=nattasin&id=1973

หมายเลขบันทึก: 167206เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2008 06:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 22:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เป็นพระคุณอย่างยิ่ง

dddddddddddddddddddddddddddddddddddddddddddddddddddd

dddddddddddddddddddddddddddddddddddd.................

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท