เรื่อง โครงสร้างคณะกรรมการชุมชนของชาวอุบลราชธานี จาก การประชุมจัดตั้งคณะกรรมการชุมชน ในการประชุมเพื่อพัฒนาร่วมกันที่จังหวัดอุบลราชธานี


และที่น่าสนใจของ ชาวอุบล ฯ มีการเสนอให้จัดตั้ง คณะกรรมการผู้ใช้บริการร้านเกมและอินเตอร์เน็ตขึ้นเพื่อ มอบหมายภาระการพิสูจน์ความสะดวกในหารใช้บริการแก่องค์กรนี้ไป และ เสนอสิทธิต่างๆ อาทิ ผ่อนผันให้ใช้บริการเพื่อการศึกษาได้เกินเวลาที่ กม.กำหนด

เรื่อง  โครงสร้างคณะกรรมการชุมชนของชาวอุบลราชธานี  จาก การประชุมจัดตั้งคณะกรรมการชุมชน  ในการประชุมเพื่อพัฒนาร่วมกันที่จังหวัดอุบลราชธานี 

 

วันที่ 15 ก.พ.2551 เวลา 9.30 -16.30 น.

ผู้เข้าร่วมสัมมนา  : ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช, รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร, คุณวิโรฒ มีแก้ว รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีมาร่วมก่อนเที่ยงเล็กน้อย, อ.อิทธิพล ปรีติประสงค์, วัฒนธรรมจังหวัดอุบลราชธานี อุทัย พรหมโคตรธีรชง ทองน้อย หัวหน้าเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม, ศึกษา, ชมรมผู้ประกอบการร้านเกมคาเฟ่, ผู้แทนเครือข่ายผู้ปกครอง, ปกครองจังหวัด,ตำรวจเทศบาล  รวม 40 คน

จากการประชุมครั้งที่ผ่านมาเมื่อ 26 ธันวาคม โดย  อ. อิทธิพล เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2550  จงได้ข้อเสนอการดำเนินงานในครั้งต่อไปถึง 8 ประเด็น  http://gotoknow.org/blog/archangoh/156940  

 

จากการประชุมครั้งนั้นได้เป็นจุดกำเนิดของการลงพื้นที่อุบลราชธานีอีกครั้งเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2551เพื่อมาทำงานร่วมกัน  โดยวัตถุประสงค์ในครั้งเพื่อมาหาแนวทางในการจัดตั้งคณะกรรมการชุมชมให้ชัดเจนมากขึ้น    (ตามโจทก์ข้อที่ 1 ของ อ. อิทธิพล) โดยจากที่ประชุมพอจะสรปุโครงสร้างๆคร่าวได้ดังนี้คือ

 

โครงสร้างของคณะกรรมการ มีผู้เสนอมา 2 แนวทาง คือ

1.      นำโครงสร้างของคณะกรรมชุมชนชุดที่มีอยู่แล้วทำพัฒนางานลงไป

2.      จัดตั้งโครงสร้างใหม่ อันประกอบไปด้วย

ภาคราชการ

-          การศึกษา ประกอบด้วย มหาวิทยาลัย,อาชีวะศึกษา,การศึกษาขั้นพื้นฐาน

-          กระทรวงมหาดไทย ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด, ป้องกัน,นายอำเภอ

-          พมจ.

-          เทศบาล

-          ตำรวจ

-          คณะกรรมการวัฒนธรรมจังหวัด

-          สำนักพระพุทธศาสนา จังหวัด

-          สำนักนายก ฯ  :  อัยการ

-          กระทรวง ยุติธรรม : ศาล

-          กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา

-          กระทรวง ICT

-          สาธารณสุข

 

ภาคประชาชน

-          ผู้ปกครอง

-          สภาเด็กและเยาวชนจังหวัด

-          สภาวัฒนธรรมอำเภอ

-          เครือข่ายเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม

-          สื่อมวลชน

-          ชมรมผู้ประกอบการร้านเนตและเกม

-          องค์กรทางศาสนาต่างๆ : ศริสม อิสลามฬ อื่นๆ

 

เอกชน

-          เจ้าของร้านเกม

-          สภาเยาวชน

 

โดยกรอบการทำงาน ได้แก่

1.      การตรวจสอบร้านให้ปฏิบัติตามกฎหมาย : ซึ่งเป็นที่น่ายินดีที่ร้านของจังหวัดอุบลราชธานีได้รับการตรวจตราจากวัฒนธรรมจังหวัดอย่างเคร่งครัดอยู่แล้ว

2.      กำหนดเกณฑ์ของร้านที่เป็นพื้นที่สื่อสร้างสรรค์และปลอดภัย

3.      กำหนดกติกา เกณฑ์องการเข้าร้านของเด็ก และ เยาวชน

4.      การตรวจเยี่ยมร้าน

5.      ระยะเวลา เปิด ปิด

6.      การรับสมัครร้านที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการ

7.      การสร้างกิจกรรมส่งเสริมความเข้าใจในการพัฒนาร้านเกม

กรอบการทำงานดังกล่าวนี้เป็นกรอบการทำงานที่ระดมสมองกันมาในระดับหนึ่งแต่คงจะต้องเป็นหน้าที่ของชาวอุบลราชธานีจะต้องไปแบ่งหน้าที่ให้กับคนในประชาสังคมของเองและเริ่มลงมือทำงานกัน

และที่น่าสนใจของ ชาวอุบล ฯ มีการเสนอให้จัดตั้ง คณะกรรมการผู้ใช้บริการร้านเกมและอินเตอร์เน็ตขึ้นเพื่อ มอบหมายภาระการพิสูจน์ความสะดวกในหารใช้บริการแก่องค์กรนี้ไป  และ เสนอสิทธิต่างๆ อาทิ ผ่อนผันให้ใช้บริการเพื่อการศึกษาได้เกินเวลาที่ กม.กำหนด  เป็นต้น

ในการประชุมครั้งนี้ รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ ได้เสนอให้ทำการร่าง หลักปฏิบัติ ( Code of conduct) เอามาเป็นศิลาจารึก หรือคัมภีร์สำหรับชาวอุบล เพื่อนำไปใช้กับทุกคนที่เกี่ยวข้องอีกด้วย

 

 

 

สิทธิประโยชน์ของผู้เข้าร่วมโครงการ

ข้อที่ 1  การส่งเสริมบรรยากาศการลงทุน  ได้มีการเจรจากับไมโครซอฟท์และได้รับการตอบรับดังนี้คือ

 Window EX  ราคา 30 เหรียญ หรือ ประมาณ 1000 บาท ต่อเครื่อง

และ Office 2007 สำหรับ student ราคา 5 เหรียญ ซึ่งในราคานี้ต้องต่ออายุทุก 2 ปี

ในส่วนของ บมจ. เอเชียซอฟท์ที่ได้พบมา ยังคงของหาข้อเสนอที่เหมาะสมอยู่

 

ข้อเสนอที่ 2 รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ เสนอให้มีการประสานความร่วมมือไป ที่ ธนาคารออมสินเพิ่มเติมเพื่อหาแนวทางในการส่งเสริมด้านเงินลงทุนแก้ผู้ประกอบการ

 

 

วันนี้เอาแค่นี้ก่อน  พรุ่งนี้จะมาเล่าสารทุกข์สุขดิบของชาวผู้ประกอบการร้านเกมที่จังหวัดอุบลราชธานีต่อไป ( โจทก์ข้อ 7 ของ อ.อิทธิพล)

หมายเลขบันทึก: 167014เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2008 23:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 15:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เสนอให้ไปเก็บแนวคิดของผู้ประกอบการร้านเน็ตที่พิษณุโลกมาเขียนเป็นบันทึกสักบันทึก เปรียบเทียบจุดต่อจุดระหว่างอุบลกับพิษณุโลกดูดีไหม

ดีค่ะ  เดี๋ยวอี๋จะได้มีโอกาสกลับบ้านอยู่พอดี...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท