1. จงช่วยกันลดภาวะโลกร้อนด้วยการปลูกต้นไม้กันเถอะ


ต้นไม้ช่วยสร้างความชุ่มชื้น สดชื่นสวยงามให้แก่โลก

  

ความเขียวชอุ่มของภาคใต้

 

            ดิฉันได้มีโอกาสเดินทางไปจังหวัดสงขลาทางรถยนต์จากนครปฐมผ่านราชบุรี เมืองโอ่ง

ท่านจะเห็นโอ่งยักษ์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเมืองราชบุรีอยู่บนยอดเขาทางเข้านั่นเอง ดูรูปทรงแล้ว

เหมือนเทพเจ้าโอ่งยังไงไม่ทราบ สองข้างทางจากราชบุรีไปมีไม้ดัดเป็นรูปสัตว์ต่างๆ เป็นระยะๆ

ปรากฎว่ามีเค้าโครงเป็นรูปต่างๆ แต่ขาดการตกแต่งดูแล ไม้ที่นำมาดัด เช่น มะขามเทศงอกงามเกิน

โครงออกไปเยอะ ไม่ได้ตัดแต่งเล็มให้เรียบร้อย ความงดงามจึงลดลง อีกทั้งโครงไม้ดัดเหล่านี้

แทรกตัวปนไปกับต้นไม้ข้างทาง แยกออกบ้างไม่ออกบ้างว่าต้นไหนไม้ดัด ต้นไหนไม้ธรรมชาติ

น่าเสียดาย ผ่านไปเป็นทุ่งว่างๆ ก็มีมาก โรงงานก็มี บ้านช่องก็มีดูสบายๆ ตา ยังไม่เป็นมลพิษทางตา

มากนัก

เมื่อเข้าจังหวัดเพชรบุรี เริ่มมีร่มเงาของต้นไม้ใหญ่ ดิฉันขอเรียนเสนอให้เป็นนโยบายของชาติว่าทุก

จังหวัดต้องปลูกต้นไม้ภายในจังหวัด รวมทั้งสองข้างทาง หรือเกาะกลางถนนไม่ต่ำกว่า

ปีละกี่หมื่น กี่แสนต้น ให้ทำแผนเพิ่มทุกปี ทุกจังหวัดต้องทำให้สองข้างทางรวมทั้งเกาะกลางถนน

ร่มรื่น เพราะหลายจังหวัดที่เคยไปมา ไม่ว่าจะเป็นภาคกลางที่อยู่ใกล้กรุงเทพฯ ถนนสุดเรียบหรู

แต่ขอโทษร้อนมากๆ ถนนสายหลักส่วนใหญ่จะมีต้นไม้หรือสวนหย่อยเฉพาะใกล้ๆ จะถึงทางแยก

(สี่แยก) เข้าเมืองเท่านั้นเพราะรถต้องชะลอติดไฟแดง พอเลยเมืองออกไปก็หาต้นไม้ยาก หากรถ

วิ่งกลางวันแดดร้อนมากๆ จะทำให้คนขับเกิดความเหนื่อยล้าง่ายกว่าการขับขี่บนท้องถนนที่ร่มครึ้ม

จะช่วยลดความร้อนไปได้มาก สร้างความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่ด้วย เมืองเพชรฯ มีต้นยางใหญ่ๆ เหมือน

ทางสายลำพูนเลยไปถึงประจวบคีรีขันธ์ก็มีต้นมะพร้าวมาก ใต้ต้นมะพร้าวปลูกสับปะรดซึ่งมีชื่อเสียง

มาก และปลูกมานานแล้ว สองข้างทางมีเพิงขายสับปะรดมากมาย แต่ด้วยธรรมชาติของพืชพรรณก็ไม่

ทำให้พื้นที่ดูร่มรื่นนัก เพราะมะพร้าวต้นสูงโปร่งมาก ดีที่ไม่ปล่อยให้พื้นดินว่างเปล่า

            ตั้งแต่จังหวัดชุมพรไป ดิฉันนั่งรถชมวิวไปเห็นมีทั้งสวนยางและสวนปาล์มแทบหาที่ว่างไม่

เจอ ในขณะนี้ ชาวภาคใต้ตื่นตัวปลูกปาล์มมากขึ้นเพื่อนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิง ชาวสวนยางจำนวนไม่

น้อยเปลี่ยนอาชีพมาปลูกปาล์มแทน เห็นต้นปาล์มทั้งที่มีอายุหลายๆ ปี ต้นสูงใหญ่ ใบมันเขียว สลับ

กับต้นปาล์มเอ๊าะๆ อายุไม่กี่ปี ดิฉันเพิ่งทราบจากเพื่อนชาวใต้ที่ไปด้วยกันเล่าให้ฟังว่าแรกเริ่มเดิมที

ชาวใต้ก็ทำนานั่นแหละ ต่อมาก็เปลี่ยนวิถีไปปลูกพืชเศรษฐกิจคือยางพารา ขณะนี้เปลี่ยนไปปลูก

ปาล์มตามความต้องการของตลาด ที่เห็นเขาตัดปาล์มเป็นเครือๆ คลุมด้วยตาข่ายบรรทุกไปโรงงาน

นั้นเขาเอาเปลือกมันมาสกัดเป็นน้ำมัน ไม่ใช่เนื้อข้างในนะคะ ดิฉันไม่เคยทราบหรอกค่ะเพิ่งทราบ

คราวนี้เอง

            สวนยางพาราที่เราเห็นว่ารูปทรงต้นยางชะลูดตรงขึ้นไป ไม่มีใบด้านล่างเลย การปลูกเป็น

แถวเป็นแนว ดูเป็นระเบียบดี เพื่อนอีกนั่นแหละที่เล่าให้ฟังว่าแม้ว่าบริเวณที่ปลูกต้นยางจะดูเขียวชอุ่ม

ดี แต่สวนยางไม่ได้สร้างความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่ส่วนนั้นนัก กลับทำให้พื้นที่บริเวณนั้นแห้งแล้ง ไม่ค่อย

มีฝนตก พื้นที่ใต้ต้นยางก็ปลูกอะไรไม่ได้อีก แต่ขณะนี้ยางแผ่นกิโลละ 80 บาทซึ่งสร้างแรงจูงใจ

ชาวสวนยางไม่น้อยเพราะราคาดี  ดิฉันคิดว่าการที่คนเปลี่ยนไปโค่นต้นยางเพื่อปลูกปาล์มมากขึ้น

ทำให้ราคายางดีขึ้นกอปรกับความต้องการของตลาดยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ดิฉันคิดเล่นๆ ว่าหาก

วางแผนให้ดีชาวสวนที่มีที่ดินมากพอน่าจะแบ่งพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจสองหรือสามอย่าง คือปลูกข้าว

ปาล์ม และยางพาราด้วยก็จะทำให้การดำเนินชีวิตมีความพอเพียง (ดิฉันไม่ทราบว่าหากทำจริงๆ พืช

เหล่านี้จะเกื้อกูลกันหรือเปล่าเพราะยางพาราทำให้พื้นที่แห้งแล้ง แต่ข้าวต้องการน้ำอย่างเพียงพอ)

หากจะปลูกพืช ผัก ผลไม้แซมไปด้วยก็ยิ่งดีขึ้นไปอีก ท่านก็มีทั้งบริโภค เหลือจึงขาย ส่วนพืชเศรษฐกิจ

ก็ปลูกขายอย่างเดียว

            การที่ชาวนาเปลี่ยนวิถีชีวิตไปเป็นชาวสวนยางพาราต้องใช้เวลาในการปรับเปลี่ยนเรียนรู้การ

ปลูกพืช ธรรมชาติของพืชและสิ่งแวดล้อมอยู่พอควรกว่าจะรู้เท่าทันและดูแลให้ยางพาราเจริญเติบโต

สมบูรณ์จนสามารถกรีดน้ำยางได้ ท่านลองหลับตานึกภาพดูว่าชาวนาที่ตื่นนอนตามปกติ เตรียมข้าว

ปลาอาหารไปกินที่เถียงนา เริ่มไปนาตอน 7 โมงเหมือนที่คนอื่นๆ ก็ไปทำงาน แต่พอปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต

เป็นชาวสวนยางพาราสิ ต้องตื่นแต่ตีสอง ตีสามทุกวันเพื่อไปกรีดยางก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ชีวิต

ชาวนาเปลี่ยนเป็นชาวสวนยางจะยากแค่ไหน หลายครอบครัวก็ไม่มีสมาชิกมากพอที่จะไปกรีดยาง

เองได้ ต้องจ้างคนอื่นด้วยการแบ่งผลประโยชน์ตามแต่ตกลงว่าคนกรีดยาง (รับจ้าง) จะได้น้ำยาง

เป็นค่าตอบแทนกี่เปอร์เซ็นต์ เจ้าของได้กี่เปอร์เซ็นต์ เป็นการถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ปลูกยางพาราไป

นานๆ เข้าจึงรู้ว่าทำไมพื้นที่ที่ปลูกยางจึงไม่ค่อยมีฝนตก ทำไงได้ปลูกไปแล้วนี่ แต่การปลูกปาล์ม

แตกต่างจากสวนยาง ไม่ต้องทำรายวันเหมือนกรีดยาง พอปาล์มให้ผลก็ตัดได้เลย (หลายปีนะคะ) 

บางทีโรงงานมาตัดให้ รับซื้อถึงที่ ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้มีผลต่อการตัดสินใจของชาวสวนยางในขณะนี้

            อย่างไรก็ตาม ทั้งยางพาราและปาล์มช่วยให้ท้องที่ภาคใต้เขียวชอุ่ม ดิฉันชื่นชมทุกจังหวัด

ตั้งแต่ชุมพรลงไปถึงสงขลาที่ได้ช่วยกันทำให้พื้นที่ในจังหวัดของท่านเป็นสีเขียว ทางภาคใต้ฝั่ง

ตะวันตกก็เช่นกัน เขียวชอุ่มไม่แพ้กัน ดิฉันขอเรียนเสนอว่าเราอย่ารักชาติ รักในหลวงแค่วาจา

แต่ควรลงมือกระทำสิ่งที่งดงาม สร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับแผ่นดินและกับลูกหลานเรา ดังนั้น

จังหวัดอื่นๆ ทั้งภาคกลาง เหนือ อีสาน ไม่คิดจะแข่งกันปลูกต้นไม้ให้แผ่นดินนี้ไว้มากๆ

หรอกหรือ? หรือเพียงแต่จะแข่งกันตัด ทำลายอย่างเดียวหรือ?

ดิฉันเห็นว่าประเทศไทยเรามีถนนหนทางที่ดีมากเชื่อมต่อกันทุกจังหวัด ดีกว่าหลายๆ ประเทศที่เป็น

เพื่อนบ้านเรามากมาย เราโชคดีที่มีเส้นทางรถที่สะดวกสบาย จากเหนือจรดใต้ จากอีสานไป

ตะวันตก แต่ตามเส้นทางหลวงสายหลักทั้งหลายทั้งภาคกลาง เหนือ อีสานต้องการร่มเงาของต้นไม้

ทุกจังหวัด เพราะดิฉันเดินทางกลางวันผ่านไปตามภาคต่างๆ เหล่านี้มีต้นไม้น้อยมาก แดดที่ร้อนจัด

ยิ่งเหมือนกับแผดเผาทีเดียว สงสารทั้งรถทั้งคน หากท่านเจ้าเมืองเหล่านี้จะให้ความสำคัญ

และถือเป็นนโยบายจังหวัดในการสร้างเมืองของท่านให้เป็นพื้นที่สีเขียว ให้คนที่เดินทาง

ผ่านไปมาตามเส้นทางจังหวัดของท่านให้ได้รับความร่มเย็น ชื่นชมความงดงามของต้นไม้

ที่ชาวเมืองของท่านช่วยกันปลูก ถือว่าท่านได้ทำกุศลให้กับคนเดินทาง อีกทั้งจังหวัดของ

ท่านยังได้รับความร่มเย็น ชุ่มชื้น ลดความแห้งแล้ง ลดภาวะน้ำท่วมในหน้าน้ำ และลดภาวะ

โลกร้อนไปได้มากทีเดียว มาช่วยกันเถอะค่ะ เพื่อแผ่นดินไทยอันเป็นที่รักของเรา

         

 

           

หมายเลขบันทึก: 166925เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2008 14:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 13:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท