วันเพ็ญ
นาง วันเพ็ญ (แหม่ม) ศรีสงเคราะห์

พื้นฐานการดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง


"คำว่าพอเพียง"

"...คำว่าพอเพียง  มีความหมายอีกอย่างหนึ่ง  มีความหมายกว้างออกไปอีก  ไม่ได้หมายถึงการมีพอสำหรับใช้ของเท่านั้น  แค่มีความหมายว่าพอมีพอกิน...  พอมีพอกินนี้  ก็แปลว่า  เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง..."

"...พอเพียงนี้ก็หมายความว่า  มีกินมีอยู่  ไม่ฟุ่มเฟือย  ไม่หรูหราก็ได้  แค่ว่าพอ  แม้บางอย่างอาจจะดูฟุ่มเฟือย  ค่ถ้าทำให้มีความสุข  ถ้าทำได้  ก็สมควรที่จะทำ  สมควรที่จะปฏิบัติ..."

"...Self  Sufficienay  นั่นหมายความว่า  ผลิตอะไรมีพอที่จะใช้  ไม่ต้องไปขอซื้อคนอื่น  อยู่ได้ด้วยตนเอง..." 

"...คนเราถ้าพอในความต้องการก็มีความโลภน้อย  เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย  ถ้าทุกประเทศมีความคิด  อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ  มีความว่าทำอะไรต้องพอเพียง  หมายความว่า  พอประมาณไม่สุดโด่ง  ไม่โลภอย่างมาก  คนเราก็อยู่เป็นสุข..."

พระราชดำรัชพระราชทานเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา  4  ธันวาคม  2541

พื้นฐานการดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง

                ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง   สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับคนทุกวัย  ทุกศาสนา  ทุกอาชีพได้เนื่องจากปรัชญาเศรษฐกิจเพียงเป็นหลักปรัชญาที่เป็นจริง  เป็นกรอบในการดำรงชีพที่สามารถประยุกต์ใช้ได้กับคนทุกเพศทุกวัย  ในระดับต่าง ๆ  จากชนบทจนถึงในเมือง  จากผู้มีรายจได้น้อยจนถึงผู้มีรายได้สูง  จากภาคเอกชนถึงภาครัฐ

                การจะนำเศรษฐกิจพอเพียง  ไปประยุกต์ใช้ให้ได้ผลในการดำเนินชีวิต  ทั้งในระดับบุคคลและครัวเรือน  เพื่อนำไปสู่การพึ่งตนเอง  ควรยึดแนวปฏิบัติ  ดังนี้

  • สร้างความรู้  ความเข้าใจในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างถ่องแท้
  • ประเมินตนเองเพื่อให้รู้จักตนเอง  รู้ศักยภาพของตนเอง  รู้ปัญหาที่ประสบอยู่
  • เกิดความคิดพึ่งตนเอง  โดยใช้ศักยภาพที่มีอยู่แก้ปัญหา
  • ตั้งใจใช้ชีวิต  "อย่างพอเพียง"  พึ่งตนเองให้ได้โดยลดกิเลส
  • ทำประโยชน์ส่วนรวมให้มากขึ้น

 อยู่อย่างพึ่งตนเอง

  1. กำหนดค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน  โดยมีเป้าหมายใช้จ่าย  3  ส่วน  ออม  1  ส่วน
  2. จัดทำบัญชีรับ - จ่ายในครัวเรือน  เพื่อให้รู้ภาวะหนี้สิน  รายได้ - รายจ่าย
  3. ควบคุมการใช้จ่ายของครัวเรือน  และวางแผนการใช้จ่ายอย่างรอบคอบ
  4. สร้างวินัยการใช้เงิน  และออมเงินส่วนเหลือจ่ายไว้กับกลุ่มการเงินในชุมชน  หรือสถาบันการเงิน
  5. ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย  และรู้ทันกระแสบริโภคนิยม
  6. ลด  ละ  เลิกอบายมุข
  7. ลดรายจ่ายในครัวเรือน  โดยทำกิจกรรมเพื่อการบริโภคในครัวเรือนเอง  เพื่อสามาถประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนให้ได้  1  ใน  4  ของรายจ่ายทั้งหมด

     มาถึงบทนี้  จดแรกกับสมุดบันทึกคิดว่าท่านผู้ที่เข้าชม  blog  จดแรกกับสมุดบันทึกเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาที่ยั่งยืน  และได้อ่านคงพอจะนึกภาพออกบ้างว่า  ตัวเราเองจะจัดการกับตัวเราเอง  และครอบครัวได้ตรงจุดไหน ลด และ เพิ่มเติมกับชีวิตตัวเราเองได้อย่างไร

     แต่ยังไม่หมดแค่นี้หรอกนะค่ะ  ยังมีต่อกับ  "มีวิถีชีวิต  "...อยู่อย่างพอเพียง.."  ให้อ่านอีกเป็นตอนต่อไปค่ะ

สวัสดีค่ะ

หมายเลขบันทึก: 166775เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2008 15:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
นาย นันทวัฒน์ ทักษิณบุตร

เป็นแนวทางในการดำรงชีวิตที่ดีมากเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท