ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และภาคีเครือข่าย กับ พรบ.กศน.


จึงขอเชิญชวนเพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกันแสดงความคิดเห็นว่าถ้าจะให้ ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และภาคีเครือข่าย ได้เข้ามามีส่วนร่วมจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกันอย่างมีชีวิตชีวาสู่สังคมอุดมปัญญาในสิบประเด็นดังกล่าว ประเทศนี้ รัฐนี้ สังคมนี้จะวางหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข เพื่อเอื้อ หนุนเสริม จูงใจ หนุนเสริม....ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และภาคีเครือข่ายกันอย่างไร

ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และภาคีเครือข่าย ได้ถูกกำหนดไว้ว่าให้มีบทบาทในการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ทั้งนี้เป็นไปตามมาตรา 10 ของพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.....ซึ่งคงจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาเร็วๆนี้

การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยโฉมใหม่ จึงเป็นของทุกภาคส่วนจริงๆ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย องค์กรตามกฏหมายใหม่ จะเป็นหน่วยกลางในการส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นหลัก ดำเนินการเองแต่น้อย

พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.....ซึ่งศักดิ์เป็นกฏหมายแม่ หลายมาตราได้บัญญัติให้อำนาจในการดำเนินการจัดทำกฏหมายรองหรือกฏหมายลูกประเภทกฏกระทรวงและประกาศกระทรวง

ในมาตรา 10 ว่าด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และภาคีเครือข่าย ให้สามารถดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยได้ ก็ให้สามารถออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการส่งเสริมและสนับสนุนส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และภาคีเครือข่าย

ซึ่งในมาตรา 10 ของ พรบ.นี้ ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และภาคีเครือข่าย สามารถดำเนินการการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยได้ ในห้าวงเล็บหรือห้าอนุ ผมแตกประเด็นของห้าวงเล็บหรือห้าอนุออกได้สิบประเด็นต่อไปนี้

  1. สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาที่จำเป็นสำหรับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

  2. การช่วยเหลือด้านการเงินเพื่อการศึกษานอกระบบ

  3. การจัดการศึกษาสำหรับผู้จัดการเรียนรู้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

  4. การพัฒนาวิชาการสำหรับผู้จัดการเรียนรู้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

  5. การพัฒนาบุคลากรสำหรับผู้จัดการเรียนรู้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

  6. การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรเพื่อการศึกษาสำหรับผู้จัดการเรียนรู้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

  7. การยกย่องประกาศเกียรติคุณสำหรับผู้จัดการเรียนรู้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

  8. สิทธิประโยชน์ตามความเหมาะสมให้แก่ผู้ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษานอกระบบ

  9. การสร้างและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อให้ผู้เรียนของการศึกษาตามอัธยาศัยสามารถเข้าถึงได้ตามความเหมาะสม

  10. ทรัพยากรอื่นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการเพื่อให้บุคคลและชุมชนได้เรียนรู้ตามความสนใจและความต้องการที่สอดคล้องกับความจำเป็นในสังคมของการศึกษาตามอัธยาศัย

ขณะนี้ กศน.กำลังอยู่ในระหว่างรับฟังความคิดเห็นเพื่อจัดทำกฎหมายลูก ผมได้เข้าร่วมมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อ 12 ก.พ.2551 ที่ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์

ฉะนั้นจึงเป็นโอกาสเหมาะที่ชาวประชาคม GotoKnow แห่งนี้จะได้ร่วมทำกฏหมายลูก

จึงขอเชิญชวนเพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกันแสดงความคิดเห็นว่าถ้าจะให้ ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และภาคีเครือข่าย ได้เข้ามามีส่วนร่วมจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกันอย่างมีชีวิตชีวาสู่สังคมอุดมปัญญาในสิบประเด็นดังกล่าว ประเทศนี้ รัฐนี้ สังคมนี้จะวางหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข เพื่อเอื้อ หนุนเสริม จูงใจ หนุนเสริม....ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และภาคีเครือข่ายกันอย่างไร

ดู พรบ.ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ที่นี่

ดู ร่างกฏหมายประกอบ พรบ.ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ที่นี่

หมายเลขบันทึก: 166623เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2008 22:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 เมษายน 2012 16:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ปัทมาวดี โพชนุกูล ซูซูกิ

สวัสดีค่ะครูนง

ส่งแรงเชียร์ค่ะ  แต่ก่อนอื่นต้องขอไปศึกษานิยาม "การศึกษานอกระบบ" กับ "การศึกษาตามอัธยาศัย" ก่อนนะคะ  เคยเห็นแต่ในเอกสารต่างประเทศ  แต่ประเทศไทยมองทั้งสองเรื่องนี้อย่างไร 

 

อ.ปัทมาวดี ครับ

มาตรา 4 พรบ.ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย นิยามคำว่าการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ดังนี้นะครับ อาจารย์ลองเทียบกับเมืองนอกดูนะครับ

การศึกษานอกระบบ หมายความว่า กิจกรรมการศึกษาที่มีกลุ่มเป้าหมาย ผู้รับบริการและวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ที่ชัดเจน มีรูปแบบ หลักสูตร วิธีการจัด และระยะเวลาเรียนหรือฝึกอบรมที่ยืดหยุ่นและหลากหลายตามสภาพความต้องการและศักยภาพในการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายนั้น และมีวิธีการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ที่มีมาตรฐานเพื่อรับคุณวุฒิทางการศึกษาหรือเพื่อจัดระดับผลการเรียนรู้

การศึกษาตามอัธยาศัย หมายความว่า กิจกรรมการเรียนรู้ในวิถีชีวิตประจำวันของบุคคล ซึ่งบุคคลสามารถเลือกที่จะเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ตามความสนใจ ความต้องการ โอกาส ความพร้อม และศักยภาพในการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล

อาจารย์ช่วยเทียบเคียงกับต่างประเทศแล้วบอกกล่าวมั่งนะครับ

นิยามข้างบนจะเห็นข้อต่างประการหนึ่งถ้าเป็น การศึกษานอกระบบ จะเป็นกิจกรรมการศึกษา แต่ถ้าเป็นการศึกษาตามอัธยาศัย จะเป็นกิจกรรมการเรียนรู้

ขอบคุณครับอาจารย์ คิดถึงและติดตามงานอาจารย์อยู่เช่นกันครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท