การอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการความรู้
เรื่อง "
การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรในหน่วยงาน "
วันที่ 22 – 24 กุมภาพันธ์ 2549
วิทยากร : ศ.นพ.วุฒิชัย ธนาพงศธร
เมื่อปี 2542-2543
เป็นช่วงที่เรียนต่อในระดับปริญญาโททางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ได้มีโอกาสเรียนรู้เรื่อง Knowledge Management
ในมุมของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการจัดการความรู้
เพราะการที่มีข้อมูล หรือเนื้อหาความรู้จำนวนมากมายมหาศาล
กระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคล หรือในฐานข้อมูลจำนวนหลายฐานข้อมูล
ขององค์กรต่างๆ การรวบรวม จัดเก็บข้อมูล หรือเนื้อหาความรู้
เข้ามาไว้ในคอมพิวเตอร์จึงได้รับความสนใจ เพื่อสร้าง
องค์ความรู้ให้อยู่กับองค์กร จึงได้รู้จักกับ Data Warehouse, Data
Cleaning, Data Mining ในมุมของนักคอมพิวเตอร์
ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยจัดการ
ข้อมูลที่มีอยู่มากมายให้ได้เป็นความรู้ ( Data -->
Information --> Knowledge )
แต่ในวันนี้ได้มีโอกาส ได้การอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการความรู้ ในมุมของการค้นหา และการจัดการ ด้านเนื้อหาความรู้ (Contents) จาก ศ.นพ.วุฒิชัย ธนาพงศธร จึงทำให้รู้ว่า การดึงความรู้จากบุคคล เพื่อมาเรียบเรียง รวบรวม จัดเป็นหมวดหมู่ความรู้ เป็นเรื่องที่ยากกว่าและใช้เวลามากกว่า มนุษย์ทุกคนมีความรู้ที่แต่ละคนสั่งสมมาจากการเรียนรู้และประสบการณ์ของตนเองซึ่งก็จะแตกต่างกันไป
สิ่งที่ได้รับจากการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ คือกระบวนการในการดึงความรู้ที่มีอยู่ในกลุ่มสมาชิกที่เข้าร่วมอบรมตาม Knowledge Vision (KV) หรือที่อาจารย์เรียกว่า หัวปลา หลายครั้งในระหว่างที่ทำกิจกรรม Knowledge Sharing (KS) เราจะลืมนึกถึงหัวปลา หรือ หัวปลามันเพี้ยนไปจากหัวปลาทูบ้าง เนื่องจากสมาชิกในกลุ่มล้วนแล้วแต่เป็นมือใหม่หัดขับ(รถ)กันทุกคน โดยเฉพาะคุณ Fa. และ คุณ Note taker ซึ่งต้องขับเครื่องร่อนอีกอย่างหนึ่งด้วย (แต่อาจารย์ก็จะช่วยเตือนให้ดึงกลับมา) กว่าจะได้หางปลา หรือ Knowledge Assets (KA) ก็ได้ “รู้”กระบวนการจัดการความรู้จากการลงมือปฏิบัติ แม้อาจจะเก็บรายละเอียดระหว่างทางได้ไม่หมด แต่ก็จุดประกายให้อยากพัฒนาต่อไปจนถึงได้ “เรียนรู้”