มองบ้านมองเมือง


"ไม่มีใครเก่งสุดยอด" และ "ถ้าต้องการระงับผลให้ไปดับที่เหตุ"

หลังจากการเลือกตั้งปี 50     การเมืองของไทยก็ดูเหมือนจะยังไม่ลงตัวจนกระทั่งต้นปี 51 พรรคที่มีสส.มากที่ที่สุดจึงเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลที่ประกอบด้วย 6 พรรคการเมืองสำเร็จและหัวหน้าพรรคที่มีสส.มากที่สุดได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี หลังจากนั้นท่านนายกรัฐมนตรี สมัคร สุนทรเวช จึงได้ออกรายการ สนทนาประสาสมัคร จึงเกิดบันทึกนี้ขึ้นมา จากการติดตามรายการดังกล่าวซึ่งออกอากาศทุกเช้าวันอาทิตย์ ช่วง 08.30-09.30 น. ทางช่อง11         

  วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2551 ท่านนายกรัฐมนตรี สมัคร สุนทรเวช ได้พูดถึงประเด็นต่อไปนี้ครับ

-        ประเทศบาเรลต้องการให้ไทยไปลงทุนทางด้านการแพทย์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองประเทศ

อันนี้กระผมไม่มีความคิดเห็นครับ แต่เท่าที่เห็นๆตอนนี้ประเทศไทยก็ยังมีแพทย์ไม่เพียงพอหรือเปล่าครับ

-        การพัฒนาทางรถไฟทั่วประเทศให้วิ่งได้สองทาง และความกว้างของรางเป็นไปตามขนาดมาตรฐาน ความกว้าง 1.435 เมตร ซึ่งจะส่งผลให้รถไฟวิ่งได้เร็วขึ้นและปลอดภัยขึ้น โดยการใช้เหล็กที่ได้จากโรงถลุงในประเทศไทยมาทำ และใช้หมอนคอนกรีตที่ให้บริษัททำตามต้นทุนจริงโดยใช้ระบบแบ่งสัดส่วนแทนการประมูลซึ่งจะทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีและเสร็จเร็วกว่าการประมูล  

         อันนี้กระผมเห็นด้วยครับ แต่มีประเด็นปัญหาจากการรถไฟครับที่ออกมาให้ข้อมูลว่าอาจทำไม่ได้เพราะได้ทำสัญญากับประเทศเพื่อนบ้านไว้ว่าจะใช้รางกว้าง 1 เมตร ซึ่งประเด็นนี้ต้องติดตามต่อไปครับ  หากโครงการนี้เกิดขึ้นจริงก็น่าจะทำให้การเดินทางโดยรถไฟมีการพัฒนาไปในทิศทางที่มีคุณภาพยิ่งขึ้นอย่างสูง มุมมองของกระผมก็ยังคิดว่าตอนสร้างจริงคงจะกระทบกับสถานีรถไฟด้านที่มีการขยายเส้นทางบ้างเช่นกัน ส่วนอีกประเด็นก็คงจะเป็นเรื่องของงบประมาณ แต่ถ้าเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมและผลที่ตามมาคือการบริการที่มีคุณภาพก็จะส่งผลให้การลงทุนเกิดความคุ้มทุนได้เร็วเช่นกันครับ

 -        การขยายเส้นทางรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ   

      อันนี้กระผมคิดว่าคนกรุงเทพฯและปริมณฑลคงเห็นด้วยใช่หรือเปล่าครับ  

-        อีกประเด็นที่น่าจับตาคือเรื่องการผันน้ำจากแม่น้ำโขงและแม่น้ำสาละวินในช่วงน้ำมาก เพื่อมากักเก็บไว้ใช้ทางภาคอีสานในช่วงหน้าแล้ง  

       อันนี้กระผมคิดว่าคนทางภาคอีสานคงเห็นด้วยอย่างเต็มที่ใช่หรือเปล่าครับ แต่ความเป็นไปได้ก็ต้องรอข้อมูลจากนักวิชาการหลายๆฝ่าย ซึ่งถ้าเป็นไปด้วยความรอบคอบก็จะเกิดประโยชน์มากกว่าผลกระทบ อันนี้เป็นเรื่องที่ใหม่สำหรับประเทศไทย แต่เท่าที่ดูข่าวเหมือนกับว่าเคยมีการศึกษาเมื่อ 20 ปีที่แล้วมาครั้งหนึ่งแต่ไม่ทราบติดปัญหาอะไรเลยไม่ได้ดำเนินการต่อครับ   

-        ประเด็นการขึ้นราคาค่าอาหารหรือสินค้า

อันนี้กระผมคิดว่าน่าเห็นใจครับ โดยเฉพาะชาวบ้านที่ทำมาหากินไม่มีเก็บจริงครับ พอของขึ้นราคาก็กระทบกับการดำรงชีพจะหารายได้เพิ่มก็ยากจริงๆครับ  อันนี้กระผมเคยคิดว่าไม่ต้องขึ้นเงินเดือนก็ได้แต่จัดการให้ค่าครองชีพเหมาะสมกับรายได้ขั้นต่ำของประชาชนแค่นี้ก็น่าจะทำให้คนรายได้น้อยอยู่ได้อย่างมีความสุขหรือเปล่าครับ

 -        ประเด็นทีวีเสรี เพื่อให้คนดีมีฝีมือได้ทำงานอย่างอิสระ

           อันนี้กระผมคิดว่าคนทีวีคงจะอยากให้เกิดใช่หรือเปล่าครับ สำหรับผู้ชมอย่างผมก็คิดว่าความหลากหลายเป็นสิ่งที่จะทำให้เกิดประโยชน์มากกว่าการชมอะไรที่เป็นแบบเดียวกันหรือคล้ายๆกันครับ  

-        มีประโยคที่น่าสนใจคือ ถ้าต้องการระงับผล ให้ไปดับที่เหตุ 

      อันนี้กระผมคิดว่าเห็นด้วยอย่างยิ่งครับ    

           วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2551 ท่านนายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวชได้พูดถึงประเด็นต่อไปนี้ครับ

 -        แก้เศรษฐกิจด้วยเศษสตางค์ โดยการกำหนดราคาสินค้าตามราคาต้นทุนที่บวกกำไรอย่างยุติธรรม

 อันนี้กระผมแค่มองว่าช่วยคนมีรายได้น้อยเพียงเล็กน้อยแต่ก็ดีกว่าไม่ได้ทำ(เพราะอยู่บนพื้นฐานของความยุติธรรม) แต่ในภาคส่วนรวมก็ช่วยได้เยอะเพราะเมื่อบวกลบคูณหารแล้วคงมีความแตกต่างของต้นทุน รายรับและรายจ่ายอย่างละเอียดด้วยสตางค์

 -        การนำหลักพุทธศาสนามาใช้บริหารประเทศ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค  ซึ่งเป็นแนวทางในการนำมาใช้วิเคราะห์และหาแนวทางดับทุกข์ของประชาชน

อันนี้กระผมเห็นด้วยครับ และคิดว่าเมื่อเรารู้ต้นเหตุที่แท้จริงของทุกข์แต่ละอย่างก็คงนำมาซึ่งการดับที่ต้นเหตุแห่งทุกข์นั้นๆ ได้เป็นอย่างดีด้วยครับ

 -  การขึ้นเงินเดือนโดยไม่เป็นข่าว เพราะข่าวการขึ้นเงินเดือนเป็นส่วนหนึ่งที่มีผลต่อการขึ้นราคาสินค้า  กว่าเงินเดือนจะขึ้นจริงสินค้าขึ้นราคาไปแล้วสามครั้ง

 อันนี้กระผมเห็นด้วยครับ ถ้าข่าวขึ้นเงินเดือนเป็นต้นเหตุที่ทำให้สินค้าขึ้นราคาอย่างไม่เป็นไปตามกลไกของต้นทุน

 -        ความแตกต่างระหว่างค่าแรงขั้นต่ำของสหรัฐกับไทยและราคาไข่ไก่ต่อโหล     

                          ค่าแรงขั้นต่ำ(บาท)      ราคาไข่ไก่(บาท)

สหรัฐ                     1600                           31

ไทย                        200                           30 

       อันนี้กระผมได้ทราบว่าเป็นเพราะปัจจุบันสหรัฐมีเกษตรกรเพียง 2 เปอร์เซ็นต์ อีก 98 เปอร์เซ็นต์เป็นผู้บริโภค โดยภาคการเกษตรจะใช้เครื่องจักรทำให้ต้นทุนต่ำ แต่ของไทยทำไมพอใช้เครื่องจักรก็ยังต้นทุนสูงครับ แถมเกษตรกรกำลังแก้ปัญหาโดยหันไปพึ่งภาคอุตสาหกรรมหรือจะเรียนแบบสหรัฐฯครับ คือประชากรภาคเกษตรน้อยๆจะได้มีค่าแรงขั้นต่ำสูงขึ้น  มีเหตุผลหรือเปล่าครับ 

ประโยคเด่น ไม่มีใครเก่งสุดยอด ให้ช่วยกันคิด ช่วยกันอ่าน และช่วยกันฟัง แล้วก็คงช่วยกันทำเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมใช่หรือเปล่าครับ

หมายเลขบันทึก: 165956เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2008 15:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท