เมื่อตัวเลข “เล่า” ความสำเร็จในการบริหารจัดการงบประมาณเพื่อแรงงานข้ามชาติฯสามสัญชาติ (ลาว กัมพูชา และพม่า): (ร่าง)กรณีศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร


รายงานกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา กรุณางดอ้างอิง

      เมื่อตัวเลข “เล่า” ความสำเร็จในการบริหารจัดการงบประมาณเพื่อแรงงานข้ามชาติฯสามสัญชาติ (ลาว กัมพูชา และพม่า): (ร่าง)กรณีศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร

จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดเล็กๆ ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ ทางผ่านประจำของผู้วิจัยและผู้เดินทาง “สายใต้” จังหวัดเล็กๆ นี้มีประชากรแฝงตามจำนวนโรงงานที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งประชากรแฝงไทยและต่างด้าว มีประชากรตามทะเบียนราษฎรเพียง 462,510คน1 การประมาณแรงงานข้ามชาติสามสัญชาติ (ลาว กัมพูชา พม่า) ทั้งในโรงงานขนาดใหญ่ทันสมัยและโรงงานห้องแถว2 ประมาณ 73000 คน ประมาณว่าแรงงานฯ ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนแต่ทำงานอยู่ในพื้นที่น่าจะมีไม่น้อยกว่า 100,000 คน ประมาณจากตำแหน่งงานที่นายจ้างต้องการจ้าง (สัมภาษณ์นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร)

แนวคิดหลักของบุคลากรสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร คือ โรคระบาดไม่เลือกเชื้อชาติ สัญชาติ สถานะบุคคล หรือแม้กระทั่งการเป็นแรงงานฯที่ขึ้นทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ดังนั้นการส่งเสริม ควบคุม ป้องกันโรค ในชุมชนจึงต้องจัดให้อย่างเสมอภาคและเท่าเทียม นอกจากนั้นหากมีผู้ป่วยเข้ามารับการรักษา ไม่ว่าจะ “มีบัตร” หรือ “ไม่มีบัตร” ก็จะต้องให้การรักษา “ภาระ” จากการให้การรักษาพยาบาล เป็นประเด็นที่ฝ่ายบริหารคำนึงถึงเป็นเรื่องรองลงไป

เมื่อเปรียบเทียบจำนวนแรงงานฯ ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน เทียบกับจำนวนที่ขึ้นทะเบียนและมีหลักประกันสุขภาพ อาจเห็นว่าจำนวนที่มากกว่ากันเท่าตัว เป็นจำนวนที่น่าวิตก แต่จากสถิติผู้ใช้บริการโรงพยาบาลต่างๆ ที่รวบรวมโดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแสดงให้เห็นว่า หากมีจำนวนแรงงานฯ ที่จดทะเบียนอย่างถูกต้องเป็นปริมาณที่มากพอ แล้ว โรงพยาบาลสามารถพยุงกลุ่มแรงงานฯขึ้นทะเบียนและบริหารจัดการงบเพื่อแรงงานที่ไม่ขึ้นทะเบียนที่เข้ามารับการรักษาได้

นโยบายในการตรวจและทำหลักประกันสุขภาพสำหรับแรงงานฯ ของจังหวัดเป็นไปตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด แต่มีเงื่อนไขเพื่อความสะดวกในการจัดสรรงบให้แรงงานฯที่ตรวจสุขภาพต้องทำหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ากับโรงพยาบาลที่ตรวจสุขภาพเท่านั้น บริการ สิทธิประโยชน์ ความครอบคลุมการรักษา การส่งต่อ ใช้มาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดในระเบียบฯ แต่ละปี (ภาคผนวก 3 ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขฯ )

ตารางที่ 1 จำนวนแรงงานฯ ที่ตรวจสุขภาพ ตั้งแต่ปี 2547-2550

สถานพยาบาล/จำนวนผู้ตรวจสุขภาพ พ.ศ. 2547 พ.ศ. 2548 พ.ศ. 2549 พ.ศ. 2550
รพ. สมุทรสาคร 21,043 25,474 28,553 20,921
รพ. กระทุ่มแบน 15,186 8,158 10,510 9,952
รพ.บ้านเเพ้ว 7,228 2,647 3,008 1,440
รพ. ศรีวิชัย 5 40,939 34,447 47,313 40,436
รวม 84,369 71,726 89,384 72,749

ในการตรวจสุขภาพแต่ละครั้ง ตามระเบียบที่กระทรวงกำหนด แรงงานฯ จะต้องเสียค่าใช้จ่าย 600 บาท/ คน เป็นค่าใช้จ่ายในการตรวจสุขภาพ แก่โรงพยาบาลที่ให้บริการตรวจสุขภาพ  จังหวัดสมุทรสาคร มีแรงงานจำนวนมาก จึงทำให้เกิดรายได้จากการตรวจสุขภาพ ในทางกลับกันโรงพยาบาลก็พัฒนาระบบ การตรวจสุขภาพ เป็นการให้บริการถึงโรงงาน หรือสถานประกอบการขนาดใหญ่ โดยใช้ระบบรถตรวจ สุขภาพเคลื่อนที่ ให้บริการถึงโรงงาน ตามที่นัดหมายกับโรงงาน เช่น โรงพยาบาลศรีวิชัย และโรงพยาบาล บ้านแพ้วเป็นต้น

ตารางที่ 2 ค่าใช้จ่ายในการตรวจสุขภาพ ตั้งแต่ปี 2547-25503

  ปีงบประ-มาณ 2547 ปีงบประ-มาณ 2548 ปีงบประ-มาณ 2549 ปีงบประ-มาณ   2550
สถานพยาบาล คน บาท คน บาท คน บาท คน บาท
รพ. สมุทรสาคร 21,043 12,625,800 25,474 15,284,400 28,553 17,131,800 20,921 12,552,600
รพ. กระทุ่มแบน 15,186 9,111,600 8,158 4,894,800 10,510 6,306,000 9,952 5,971,200
รพ.บ้านเเพ้ว 7,228 4,336,800 2,647 1,588,200 3,008 1,804,800 1,440 864,000
รพ. ศรีวิชัย 5 40,939 24,563,400 34,447 20,668,200 47,313 28,387,800 40,436 24,261,600
รวมทั้งหมด 84,369 50,621,400 71,726 43,035,600 89,384 53,630,400 72,749 43,649,400

ข้อมูล: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร

เมื่อแรงงานฯได้ผ่านกระบวนการตรวจสุขภาพแล้ว แรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ทำงาน ต้องซื้อหลักประกัน สุขภาพถ้วนหน้าสำหรับแรงงานข้ามชาติจำนวน 1300 บาท  ในจำนวนนี้แบ่งเป็น 

ค่าบริการทางการแพทย์ 964 บาท สถานพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนรับ 914 บาท กลุ่มประกันสุขภาพรับ 50 บาท

ค่าส่งเสริมป้องกันโรค 206 บาท   

ค่าบริหารจัดการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและกรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข รับ 120บาท สรส. 10 บาท

และเมื่อแรงงานเข้ารับบริการ จะต้องร่วมจ่ายอีก 30 บาทต่อครั้ง ทั้งนี้ตาม การจัดสรรงบประมาณ ที่ได้รับจากการประกันสุขภาพ แรงงานข้ามชาติสามสัญชาติและผู้ติดตาม ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข 


ตารางที่ 3 รายรับและค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลที่ให้บริการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแรงงานข้ามชาติฯ ตั้งแต่ปี 2547-25504

 รายรับของโรงพยาบาล/ ปี 2547 2548 2549 2550
รพ. สมุทรสาคร 20,285,452 24,556,936 27,525,092 20,167,844
รพ. กระทุ่มแบน 14,639,304 7,864,312 10,131,640 9,593,728
รพ.บ้านเเพ้ว 6,967,792 2,551,708 2,899,712 1,388,160
รพ. ศรีวิชัย 5 39,465,196 33,206,908 45,609,732 38,980,304
รวมรายรับทั้งจังหวัด 81,357,744 68,179,864 86,166,176 70,130,036
ค่าใช้จ่ายรวมทั้งจังหวัด

ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก กลุ่มมีบัตรประกันสุขภาพฯ

4,357,495 13,769,008 34,577,444 4,508,645
ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน กลุ่มมีบัตรประกันสุขภาพฯ 6,257,665 16,409,677 45,269,874 16,781,026
ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกกลุ่มเเรงานฯ ที่ไม่มีหลักประกันสุขภาพและได้รับการ สงเคราะห์ 56,878 97,094 2,004,730 1,111,789
ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยในกลุ่ม เเรงงานข้ามชาติฯ ที่ไม่มีหลัก ประกัน สุขภาพและได้รับการ สงเคราะห์ 1,593,759 3,300,729 7,765,424.25 4,372,747
รวมค่าใช้จ่ายกลุ่มผู้มีบัตรฯสุขภาพและสงเคราะห์ทั้งหมด 12,265,797 33,576,508 89,617,472 26,774,207
การคืนทุนโดยภาพรวม 69,091,947 34,603,356 -3,451,296 43,355,829

ข้อมูล: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร


จากตัวเลขแรงงานฯ ที่ซื้อหลักประกันสุขภาพ การคืนทุนค่ารักษาพยาบาลจากรายได้ที่เก็บจากหลักประกันสุขภาพแรงงานฯ โดยคิดจากค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากแรงงานฯ ทั้งที่ขึ้นทะเบียนและไม่ขึ้นทะเบียนยังอยู่ในอัตราโรงพยาบาลสามารถดูแลตัวเองได้ ภาวะ “ขาดทุน” ที่ปรากฏเมื่อเทียบกับงบประมาณที่ได้รับ ยังสามารถควบคุมได้ ทำให้แม้แรงงานฯ ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนเข้ามารับการรักษา โรงพยาบาลสามารถใช้งบส่วนแรงงานขึ้นทะเบียนชำระไว้มาแบ่งปันกับแรงงานที่ไม่ขึ้นทะเบียน อาจกล่าวได้ว่าการบริหารจัดการงบประมาณทำให้สามารถขยายบริการแก่ผู้ไม่มีหลักประกันสุขภาพไปในตัว

ตารางที่ 4 รายรับและค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลที่ให้บริการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแรงงานข้ามชาติฯ ตั้งแต่ปี 2547-2550 แยกประเภทการรักษาผู้ป่วยใน/ ผู้ป่วยนอก5

1. ผู้ป่วยนอก

1.1 รายรับจากค่าบริการทางการแพทย์ผู้ป่วยนอก อัตรา 499 บาท/คน
โรงพยาบาล/ปี 2547 2548 2549 2550
รพ. สมุทรสาคร 10,500,457 12,711,526 14,247,947 10,439,579
รพ. กระทุ่มแบน 7,577,814 4,070,842 5,244,490 4,966,048
รพ.บ้านเเพ้ว 3,606,772 1,320,853 1,500,992 718,560
รพ. ศรีวิชัย 5 20,428,561 17,189,053 23,609,187 20,177,564
รวมทั้งจังหวัด 42,113,604 35,292,274 44,602,616 36,301,751
1.2 รายจ่ายจากการให้บริการบริการทางการแพทย์ผู้ป่วยนอก ทั้งจังหวัด
ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก กลุ่มมีบัตรประกันสุขภาพ 4,357,495 13,769,008 34,577,444 4,508,645
ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกเฉพาะกลุ่ม เเรงงานข้ามชาติฯ ที่ไม่มีหลัก ประกัน สุขภาพและได้รับการ สงเคราะห์ 56,878 97,094 2,004,730 1,111,789
อัตราคืนทุนผู้ป่วยนอก ถัวเฉลี่ยหักจากเงินประกัน สุขภาพ 37,699,231 21,426,172 8,020,443 30,681,317
2. ผู้ป่วยใน      
หมายเลขบันทึก: 165784เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2008 19:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 19:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท