ว่าด้วยข้อค้นพบเบื้องต้น ของ A-1


..เมื่อคนไร้รัฐ เจ็บป่วย : การเดินทางของเรื่องเล่า

 10 เรื่องราวของ 10 คนไร้รัฐที่ปรากฎในรายงานโครงการสำรวจสภาพปัญหาการเข้าถึงและการใช้บริการสิทธิในสุขภาพของคนไร้รัฐ : กรณีศึกษา  หรือ A-1 เดินทางมาบอกเล่า-ในฐานะตัวแทนคนไร้รัฐที่มีชีวิตปรากฎตัวอยู่จริงในสังคมไทย-ถึงเรื่องราวที่ว่า เมื่อพวกเขาเจ็บป่วย มีปัญหาสุขภาพ พวกเขารักษาโรคร้าย ต่อเวลาของชีวิตพวกเขาให้ยืดยาวออกไปได้อย่างไร

 10     เรื่องราวนี้เป็นตัวแทนสะท้อนถึงคนไร้รัฐ 3 กลุ่มที่ต้องเผชิญกับการไม่สามารถเข้าถึง ไม่สามารถใช้บริการหลักประกันสุขภาพได้

ลุ่มแรก-เป็นกลุ่มคนที่เกิดและอาศัยอยู่ในรัฐไทยเป็นเวลานานแล้วจำนวนหนึ่ง เป็นบุคคลที่ปัญหาสถานะบุคคลทางกฎหมาย แบ่งออกเป็น
(1) กลุ่มคนไทยโดยข้อเท็จจริง หากแต่ว่าตกหล่นจากการสำรวจทางทะเบียนราษฎร  ยังไม่ได้รับการรับรองว่าเป็นผู้มีสัญชาติไทยหรือคนไทยตามข้อกฎหมาย เนื่องจากขาดหลักฐานที่ยืนยันรับรอง หรืออยู่ระหว่างรอพิสูจน์สัญชาติ ซึ่งพบว่ามีทั้งที่อาศัยอยู่ในชุมชนเมือง และในพื้นที่สูงหรือพื้นที่ชายขอบ รวมทั้งกลุ่มคนบางส่วนที่อยู่ในสถานสงเคราะห์หรือสถานบำบัดต่างๆ ฯลฯ และลูกหลานของคนกลุ่มนี้ และ
(
2) กลุ่มคนที่อพยพเข้ามาอยู่ในรัฐไทย เป็นเวลานานแล้ว มีทั้งกรณีที่ได้รับการสำรวจและจัดทำทะเบียนประวัติ บัตรประจำตัวแล้ว (บัตรสีกลุ่มต่างๆ 17 กลุ่ม) หรือที่ในปัจจุบันได้ถูกยุบรวมเป็นกลุ่มเดียว บัตรสีเดียวกันคือ “ผู้ไม่มีสัญชาติไทย” (บัตรสีชมพู) และลูกหลานของคนกลุ่มนี้
กลุ่มที่สอง-เป็นกลุ่มคนที่เพิ่งอพยพเข้ามาในรัฐไทย ภายในระยะเวลาที่ไม่นาน

 คนในกลุ่มแรกและกลุ่มที่สอง เมื่อเจ็บป่วยหรือมีความจำเป็นต้องได้เข้ารับบริการสุขภาพ แต่ไม่สามารถจ่ายเงินเองได้ สถานพยาบาลของรัฐต้องให้บริการตามหลักมนุษยธรรม โดยไม่มีงบประมาณรองรับ ที่ผ่านมาสถานพยาบาลเหล่านี้ใช้งบประมาณจากแหล่งอื่นสนับสนุนการจัดบริการดังกล่าว (โดยส่วนใหญ่เป็นงบประมาณที่ได้รับจากระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า) ทำให้เกิดเป็นภาระต่อสถานพยาบาล  ต้องประสบปัญหาซ้ำเติมจากความไม่เพียงพอของงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวที่สถานพยาบาลเองได้รับจัดสรรที่ต่ำกว่าค่าใช้จ่ายจริง หรือบางกรณีบุคคลเหล่านี้ถูกปฏิเสธสิทธิในการเข้ารับบริการ

 ส่วนกลุ่มที่สาม-คือบางส่วนของกลุ่มแรงงานต่าวด้าว 3 สัญชาติที่จดทะเบียนเป็นแรงงานได้รับอนุญาตให้ทำงานบางส่วน และได้ซื้อหลักประกันสุขภาพ แต่กลับพลอยถูกปฏิเสธ

 อาจด้วยเพราะความไม่กล้าไปใช้บริการ เนื่องจากตระหนักดีถึงสถานะบุคคลตามกฎหมาย (Personal Legal Status) ของตัวเอง ไม่กล้าไปใช้บริการ เพราะไม่มีเงิน ไปแล้ว-แต่ถูกปฏิเสธการขอรับบริการ หรือได้รับการรักษาผ่าตัด และกลับบ้านไปพร้อมกับหนี้ก้อนโตและต้องลงชื่อรับสภาพหนี้ก่อนออกจากโรงพยาบาล

 มี 2 จาก 10 กรณีศึกษานี้เสียชีวิตเพราะถูกโรงพยาบาลปฏิเสธการให้การรักษา ฯลฯ

(ดูบทนำ http://gotoknow.org/blog/report-health4stateless-a1/165398

และเรื่องเล่าเรื่องต่างๆ http://gotoknow.org/blog/report-health4stateless-a1)

หมายเลขบันทึก: 165650เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2008 22:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท