..ว่าด้วย.. บทคัดย่อ


เมื่อโลกเข้ามาสู่ยุคที่เรียกว่า โลกาภิวัตน์ (globalization)” การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร หรือ การสื่อสารระหว่างกัน ผ่านการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ก็เป็นไปได้ง่ายขึ้น แทบจะทุกพื้นที่ในทุกมุมโลกก็ถูกเชื่อมเข้าหากันอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ ทุกๆ การกระทำของทุกๆ ประเทศในโลกล้วนแต่มีผลกระทบซึ่งกันและกัน ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ในยุคปัจจุบันการมีบทบาทในพื้นที่ระหว่างประเทศมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในการแสดงสถานะและตัวตนในทางระหว่างประเทศของแต่ละประเทศต่อประเทศอื่นๆ เพื่อประโยชน์ของประเทศตน ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์ทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ หรือสังคม ประเทศทุกประเทศไม่สามารถอยู่ได้อย่างโดดเดี่ยว และประเทศทุกประเทศเมื่ออยู่ในประชาคมโลกแล้วต่างก็ย่อมแสวงหาการยอมรับจากประเทศอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน ดังนั้น การได้รับการยอมรับดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ส่วนหนึ่งมาจากการปฏิบัติตามกติกามารยาทที่ถือว่าเป็นบรรทัดฐานของสังคมโลก เช่น กติการะหว่างประเทศ หรือ อนุสัญญาระหว่างประเทศ ต่างๆ

การเคารพสิทธิมนุษยชนก็เป็นมาตรฐานหนึ่งของสังคมโลกในปัจจุบัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้รับการยอมรับกันอย่างแพร่หลายทั่วโลกมาเป็นเวลาเกือบ 60 ปี มีการกำหนดบทบัญญัติออกมาในรูปแบบของกติกาและอนุสัญญาระหว่างประเทศมากมายในปัจจุบัน อาจเรียกได้ว่าเป็นพันธกรณีระหว่างประเทศอย่างหนึ่งที่รัฐภาคีไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ซึ่ง สิทธิในสุขภาพ (the Right to Health)” ก็เป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานอย่างหนึ่งที่มนุษย์ทุกคนควรจะได้รับ อย่างเท่าเทียมกันและปราศจากการแบ่งแยกด้วยเหตุใดๆ ก็ตาม และรัฐก็มีหน้าที่อำนวยความสะดวกเท่าที่จำเป็นและเหมาะสมเพื่อการบรรลุถึงสิทธิในสุขภาพดังกล่าว โดยเฉพาะรัฐภาคีตามกติกาและอนุสัญญาระหว่างประเทศที่มีบทบัญญัติถึงสิทธิที่ว่านี้

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการศึกษาความคาดหวังของประชาคมระหว่างประเทศที่มีต่อรัฐไทย ในการเคารพสิทธิในสุขภาพและสิทธิในหลักประกันสุขภาพ ตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่รัฐไทยเป็นภาคี โดยศึกษาจากแนวทางปฏิบัติของรัฐไทยและรัฐภาคีตัวอย่างจาก 6 ประเทศ รวมทั้งข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการที่กำกับดูแลกติกาและอนุสัญญาระหว่างประเทศด้วย เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักรู้ให้แก่สังคมไทยให้เข้าใจถึงมาตรฐานสากลในการเคารพสิทธิในสุขภาพและสิทธิในหลักประกันสุขภาพ ที่ถูกวางกรอบไว้แล้วโดยกติกาและอนุสัญญาระหว่างประเทศสู่การปฏิบัติจริงที่เหมาะสมของรัฐไทยภายในประชาคมระหว่างประเทศนี้ โดยการศึกษาผ่านความคาดหวังของประชาคมระหว่างประเทศ ที่จะสะท้อนออกมาจากแนวทางปฏิบัติของรัฐภาคีและจากข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

สุดท้ายนี้ นักวิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะหาคำตอบผ่านงานวิจัยชิ้นนี้ว่า รัฐไทยควรทำอย่างไรเพื่อที่จะได้รับการยอมรับจากประชาคมโลกและมีที่ยืนอย่างสง่างามในพื้นที่ระหว่างประเทศในโลกยุคปัจจุบัน

หมายเลขบันทึก: 165527เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2008 03:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 02:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เตือน จ๊ะ สงสัยค่ะ

  • ยังไม่เห็นภาพชัดของการเชื่อมให้เห็นระหว่าง "ความคาดหวัง" กับ "การศึกษาถึงแนวปฏิบัติของแต่ละประเทศในการกำหนดแนวทางการคุ้มครอง......." อ่ะค่ะ
  • หัวเรื่องเขียนว่าความคาดหวัง หลายย่อหน้าต่อมาพูดถึงแนวทางปฏิบัติของแต่ละประเทศ มาปิดท้ายอีกที่ว่า รัฐไทยจะไม่สนใจ "ความคาดหวัง"...
  • สู้ๆ นะจ๊ะ

มีหลายเรื่องในบันทึกนี้

ที่แน่ๆ ไม่ใช่แค่ระเบียบวิธีวิจัย

ตอบและหารือพี่ด๋าว: เตือนก็พยายามจะเชื่อมโยง 2 ประเด็นนี้ให้ได้อยู่เหมือนกันค่ะ แต่มันยังไม่ชัดเจนในนี้ใช่ไหมค่ะ เดี๋ยวเตือนจะลองดูใหม่นะคะ

แต่ประเด็นที่เตือนพยายามเชื่อมโยง คือ การศึกษาแนวปฏิบัติของรัฐภาคีในเรื่องการเคารพ คุ้มครอง และส่งเสริมสิทธิในสุขภาพเนี่ย หากเป็นประเด็นที่สำคัญๆ และเป็นข้อห่วงใยของคณะกรรมการ คณะกรรมการก็จะมีความเห็นต่อแนวปฏิบัตินั้นกลับมาว่าดีหรือไม่ดี แล้วก็มีข้อเสนอแนะว่าควรทำอย่างไรต่อ ซึ่งก็จะทำให้เราพอทราบได้ว่าประเด็นไหนที่คณะกรรมการเห็นว่าสำคัญ อยากให้เกิดขึ้น ซึ่งตรงนี้ก็อาจจะเรียกว่าเป็น "ความคาดหวัง" ของคณะกรรมการ (ตัวละครหนึ่งในประชาคมระหว่างประเทศ) ได้

เตือนอาจจะยังเขียนไม่ชัด เดี๋ยวลองใหม่ค่ะ แต่จริงๆ ที่อธิบายมา คือ ความพยายามจะเขียนเชื่อมโยงแบบนี้ค่ะ

ตอบและหารืออาจารย์แหวว: ไม่รู้ว่าเตือนพยายามเล่นคำมากไปไหม คือ ในระเบียบวิธีวิจัยก็จะประกอบไปด้วย

  1. เป้าหมายของการวิจัย ซึ่งเตือนใช้ว่า "นักวิจัยคิดอะไร ก่อนจะออกมาเป็นงานวิจัยชิ้นนี้??" พยายามอธิบายที่มาที่ไป เป้าหมายว่าจะวิจัยไปเพื่ออะไร มันสื่ออย่างนั้นไหมค่ะ?? ส่วนที่เตือนตั้งเป็นหัวข้อว่า "นักวิจัยสงสัยอะไร??" คือ ตั้งใจให้เป็นเป้าหมายของงานวิจัยที่จะต้องตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้ค่ะ
  2. วิธีการวิจัย เตือนใช้ว่า "นักวิจัยมีวิธีการศึกษาหาคำตอบอย่างไร"
  3. ผลที่คาดว่าจะได้รับ เตือนก็ใช้หัวข้อว่า "นักวิจัยคาดหวังอะไร??"

พอจะฟังเป็นไงบ้างค่ะ??

ทำไมมันตัวเบ้อเร่ออย่างนั้นล่ะ???

 ไม่ได้จะประชดใครเลยนะเนี่ยยยยย....

แว่บไปอ่านมา เจออันนี้ค่ะ เตือน..
http://gotoknow.org/blog/bongkot-health4stateless/160508

ของเตือนนั้นแลลลล ..ลองดู

พักผ่อนบ้างเน้อ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท