บทนำ


               

   “การทำงาน” เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ทั้งนี้เพื่อให้ได้มาซึ่งปัจจัยทั้ง 4 ประการในการดำรงชีวิต หากมนุษย์ไม่มนุษย์บุคคลใดหนึ่ง หากไม่อาจทำงานหรือไม่สามารถทำงานได้ แล้วบุคคลผู้นั้นจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างไร อย่างไรก็ดี แม้ว่ามนุษย์มนุษย์ทุกคนจะมีสิทธิในการทำงานก็ตาม แต่หากเป็นกรณีการทำงานของคนลาวในประเทศไทยหรือในรัฐอื่นที่มิใช่รัฐเจ้าของสัญชาติของตนเอง กล่าวคือการทำงานในสถานะของการเป็นคนต่างด้าว (Alien) ในรัฐอื่น สิทธิในการทำงานของคนต่างด้าวย่อมถูกจำกัดในทุกรัฐ

 

              โดยหลักกฎหมายระหว่างประเทศนั้น การส่งเสริมและการคุ้มครองเอกชนของรัฐหนึ่งในอีกรัฐหนึ่งโดยไม่คำนึงถึงสัญชาตินั้น เป็นไปในเรื่องของสิทธิมนุษยชนโดยทั่วไป มิใช่สิทธิเสรีภาพในการทำงาน (Rights to work) ซึ่งในแง่พื้นฐานอาจเป็นสิทธิมนุษยชนที่จะทำงานเพื่อปากท้อง แต่การที่จะมีเสรีภาพในการทำงานในดินแดนซึ่งตนมิใช่คนในชาตินั้น แนวทางปฏิบัติระหว่างประเทศยอมรับว่าเป็นสิทธิที่มีเงื่อนไข(Conditional) มิใช่สิทธิเด็ดขาด(Absolute Right)

 

              ฉะนั้นคนลาวไม่สามารถที่จะมีสิทธิได้เสมอเท่าคนชาติ สิทธิในการทำงานของคนต่างด้าวสามมารถกระทำได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของกฎหมายภายในของประเทศที่คนต่างด้าวเข้าไปทำงาน ซึ่งกฎหมายหลายๆประเทศก็บัญญัติในทำนองนี้ โดยการที่จะให้คนต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศก็จะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง และเหตุผลทางมนุษยธรรม แต่ในการจำกัดสิทธิในการทำงานของคนต่างด้าวนั้น รัฐจะต้องพิจารนาถึงความสำคัญ จำเป็น และความเหมาะสมและสมดุลในทุกๆด้านมิฉะนั้น อาจส่งผลให้เกิดความไม่มั่นคงในรัฐด้านต่างๆ

               ซึ่งจะได้ทำการศึกษาถึงสิทธิในการทำงานของคนลาวในประเทศไทย ซึ่งจะกล่าวถึงสถานการณ์ด้านสิทธิในการทำงานของคนลาวในประเทศไทย บ่อเกิดของสิทธิในการทำงานของคนลาวภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรับรองสิทธิในการทำงานภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายในของประเทศไทยตลอดถึงระเบียบการต่างๆที่เกี่ยวข้อง สถานของบุคคลลาวตามกฎหมาย และแนวทางในการจัดการปัญหาการจัดการต่อการทำงานของคนลาวในประเทศไทยที่เหมาะสมต่อสภาพสังคมในปัจจุบัน และมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ (Tags): #บทนำ
หมายเลขบันทึก: 164873เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2008 16:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท