การทบทวนเวชระเบียนเพื่อค้นหาความเสี่ยงทางคลินิก


"หากเราเปิดใจรับฟัง พร้อมยอมรับการปรับปรุง แก้ไขกระบวนการ มุ่งสู่การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นสูงสุด เท่านี้ก็คงง่ายแก่การพัฒนา"

                 เรื่องระบบความเสี่ยงหลาย ๆ หน่วยงานเริ่มทำความเข้าใจ และมีขบวนการบริหารจัดการเป็นอย่างดี บ้างก็มีระบบ บ้างไม่มีหรือกำลังเริ่มทำ

          เมื่อทบทวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความเสี่ยงทางคลินิก ส่วนใหญ่ผู้ป่วยไม่ทราบว่ามีความสูญเสียเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ บาง รพ.ส่วนมากยังค้นหาความเสี่ยงโดยการตั้งรับ อาศัยรายงานอุบัติการณ์เป็นหลัก

         บ่อยครั้งเราจะถูกเรียกดูเวชระเบียน เพราะเป็นตัวบ่งบอกเรื่องคุณภาพ รวมทั้งการค้นหาความเสี่ยงทางคลินิกที่ดี เป็นการค้นหาเชิงรุก แล้วนำมาวางระบบป้องกันเสียแต่ต้น

 

   การทบทวนเวชระเบียน คือ การนำเวชระเบียนมาประเมินตามวัตถุประสงค์

 

วัตถุประสงค์การทบทวน เช่น เพื่อเชิงปริมาณ ความครบถ้วน เพื่อเชิงคุณภาพ

ตัวอย่าง การทบทวนเชิงคุณภาพ เป็นการประเมินคุณภาพการดูแลรักษาทั่วไป,เพื่อประเด็นเฉพาะด้าน เช่น ประเมินการติดเชื้อ ,การใช้ทรัพยากร,การค้นหาความเสี่ยง

               วิธีการ

1.explicit review คือการทบทวนโดยอาศัยหลักเกณฑ์พิจารณาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า

2.implicit review คือการทบทวนโดยอาศัยการพิจารณาจากความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ

 

   การทบทวนเพื่อค้นหาความเสี่ยง          

- เป็นการประเมินกระบวนการดูแลรักษาและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เพื่อค้นหาเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์และ/หรือความผิดพลาดจากการรักษาโดยอาศัยข้อมูลที่ปรากฎ

- สามารถทำได้ขณะผู้ป่วยยังรักษาหรือจำหน่ายแล้ว

              เกณฑ์

- เป็นการกำหนดกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงจะเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์

- มีความสอดคล้องกับการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์

- ผู้ป่วยตามเกณฑ์ยังไม่ได้ถูกตัดสินว่ามีเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ แต่จะได้รับการประเมินเพื่อค้นหาเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ด้วยความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ

             ตัวอย่าง

- การทบทวนการติดเชื้อในโรงพยาบาล(งานเฝ้าระวังและการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล)

- การทบทวนภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดและทารกแรกเกิด (โครงการลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย)

- trauma audit

           เกณฑ์การคัดกรองผู้ป่วยน่าสงสัย AE

- เข้ารับการรักษาซ้ำโดยมิได้วางแผนล่วงหน้าภายหลังการจำหน่ายครั้งนี้

- เกิดการบาดเจ็บขณะนอนรักษาในโรงพยาบาล

- เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา

- การส่งต่อผู้ป่วยจากหอผู้ป่วยทั่วไปยังหอผู้ป่วยหนักโดยมิได้วางแผนล่วงหน้า

- การส่งต่อผู้ป่วยไปยัง รพ.อื่นโดยไม่ได้วางแผนล่วงหน้า

- การผ่าตัดโดยไม่ได้วางแผนล่วงหน้า

- การเกิดอาการแทรกซ้อนใด ๆ

- การเสียชีวิตโดยมิได้คาดหวัง

- การจำหน่ายกลับบ้านโดยไม่เหมาะสม

- อันตรายจากการแท้งหรือการคลอดบุตร

- การติดเชื้อใน รพ.

- รายงานความไม่พึงพอใจในการรักษาที่ปรากฎในเวชระเบียน

- รายงานข้อร้องเรียนหรือฟ้องร้องที่ปรากฎในเวชระเบียน

- ผลการรักษาใด ๆ ที่ไม่เป็นไปตามคาดหวังและไม่ครอบคลุมในหัวข้ออื่น

 

              implicit review

เพื่อประเมินการดูแลรักษาว่า ตอบสนองความต้องการผู้ป่วยเพียงใด เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพ มีหลักฐานทางวิชาการสนับสนุน คำนึงถึงความเหมาะสมทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม

             ผลจากการทบทวน implicit 

- เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ adverse event

- สาเหตุเบื้องต้น proximal cause

- สาเหตุเชิงระบบ root cause

-แผนการปรับปรุงระบบ plan for improvement

             การค้นหาสาเหตุเชิงระบบ

- คน ของ ระบบ

- man money material management

- C3THER

- มาตรฐานบทที่ 1 - 14

               ข้อจำกัด

- มักไม่สามารถค้นหาความผิดพลาดที่ไม่ร้ายแรง

- สาเหตุมาจาก เน้นการเรียนการสอน,จ้องจับผิด,ไม่มองที่ระบบ,มองเหตุการณ์เดียว,มองปัญหาเฉพาะหน้า

              ข้อเสนอแนะ

มุ่งเน้นการค้นหาปัญหาของผู้ป่วย,มองหาสาเหตุเชิงระบบ แทนการจับผิด,มองแนวโน้มของปัญหา,มองผลกระทบระยะยาว,ปรับปรุงคุณภาพเวชระเบียน,กำหนดเกณฑ์ตัดสินที่เป็นที่ยอมรับ อาศัยข้อมูลทางวิชาการที่ยอมรับได้

 

"หากเราเปิดใจรับฟัง พร้อมยอมรับการปรับปรุง แก้ไขกระบวนการ มุ่งสู่การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นสูงสุด เท่านี้ก็คงง่ายแก่การพัฒนา"

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 164787เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2008 09:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2013 14:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สุดเสียใจ และอาลัยต่อเพื่อนนักศึกษากลุ่ม 9 นาดูน ได้เสียชีวิตลงวันนี้เป็นอุบัติเหตุจากรถ จักยานยนตร์ ชนควาย ไปจัดรายการ วิทยุชุมชน
  • ซื่อนาย สมจิตร สีมาลีรัตน์ นักศึกษาวิทยาลัยโรงเรียนบ้านเม็กดำ
  • ความปอดภัยในชีวิต บ้างครั้งเราอาจคาตไม่ได้ในชีวิต

สวัสดีคะ

ร่วมไว้อาลัยแด่ผู้เสียชีวิตด้วยคะ

อุบัติเหตุเกิขึ้นได้ทุกเวลา

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท