กลุ่มอาการลิ่มไขมันจุกหลอดเลือด(Fat embolism syndrome)


เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 ทางสถาบันบำราศนราดูรได้มีการจัดให้ฟังวิชาการเรื่อง กลุ่มอาการลิ่มไขมันจุกหลอดเลือดโดย นพ.ยุทธศักดิ์ พีรกุล  หลายคนคงสงสัยว่ากลุ่มอาการนี้เป็นยังไง ก็จะสรุปให้ฟังอย่างย่อๆนะคะกลุ่มอาการลิ่มไขมันจุกหลอดเลือด(Fat embolism syndrome) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของ Homeostasis ที่เกิดขึ้นภายหลังกระดูกหัก ภายหลังการผ่าตัดทางออร์โธปิดิกส์หรือภาวะอื่นๆที่นอกเหนือจากปัญหาทางออร์โธปิดิกส์ ก็เกิดขึ้นได้  ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดมีหยดไขมันเล็กๆในกระแสเลือดและมีการอุดตันในหลอดเลือดของอวัยวะสำคัญต่างๆเช่น ปอด มอง หัวใจ ไต เป็นต้น ทำให้เนื้อเยื่อของอวัยวะนั้นขาดเลือดไปเลี้ยง การทำงานของอวัยวะนั้นๆจึงล้มเหลว เกิดเป็นกลุ่มอาการปรากฏออกมาทางคลินิกได้มากมาย ขึ้นอยู่ว่าเจ้าไขมันนี้ไปอุดกั้นที่ใดบ้าง อาการที่เกิดขึ้นจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับที่ไปอุดตำแหน่งต่างๆมีมากน้อยเพียงใดถ้ามีอาการน้อยมากจะหายไปเองได้ ส่วนที่มีอาการรุนแรงจะมีการเปลี่ยนแปลงของระบบต่างๆ ระบบหายใจ การอุดกั้นของหลอดเลือดฝอยจะทำให้มีการแลกเปลี่ยนก๊าซลดลง มีภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ ซึ่งจะไปกระตุ้นศูนย์ควบคุมการหายใจทำให้ผู้ป่วยหายใจเร็วขึ้น หายใจลำบากและเหนื่อยหอบ อาจมีไอเป็นเลือด ระบบหัวใจและหลอดเลือด   การอุดกั้นของหลอดเลือด ทำให้การไหลเวียนในปอดเปลี่ยนปลง เกิดการเพิ่มแรงต้านของหลอดเลือดในปอด ฉะนั้นหัวใจห้องล่างขวาจึงทำงานเพิ่มขึ้นเพื่อต้านทานแรงและมีแรงดันมากขึ้น ระบบประสาท ผู้ป่วยมีอาการกระสับกระส่าย สับสน ซึมลงจนไม่รู้สึกตัว อาจมีอาการเกร็งกระตุกของกล้ามเนื้อบางส่วนหรือรุนแรง ผิวหนัง อาจไม่พบอาการเปลี่ยนแปลงและมักพบในระยะหลังๆถ้าผู้ป่วยมีอาการรุนแรงผู้ป่วยอาจเสียชีวิตก่อน อาการทางผิวหนังได้แก่ การมีผื่นเลือด ซึ่งพบมากบริเวณคอ รองลงมาคือหน้าอก ไหล่ รักแร้ เยื่อบุตาของเปลือกตาล่าง ไต พบการเปลี่ยนแปลงได้ไม่บ่อย มักพบร่วมกับภาวะช็อก คือมีปัสสาวะน้อยจนถึงไม่มีปัสสาวะเลย ในด้านการรักษา ยังไม่มีการรักษากลุ่มอาการนี้โดยตรงแต่รักษาเพื่อบรรเทาอาการโดยมีการรักษาดังนี้ การให้ออกซิเจนตั้งแต่แรกเมื่อพบว่ามีภาวะHypoxia การดูแลทางเดินหายใจการให้เลือดที่เพียงพอ การปรับภาพกรดและElectrolytes ในร่างกายให้สมดุล การให้อาหารที่มีพลังงานเพียงพอ,การทำกายภาพบำบัดทรวงอก เพื่อป้องกันปอดอักเสบติดเชื้อ ถุงลมปอดแฟบ,การจำกัดการเคลื่อนไหวและดามส่วนที่หักโดยเฉพาะในผู้ป่วยMultiple fracture  หลักการพยาบาลเมื่อเกิดภาวะfat embolism คือ การบันทึกสัญญาณชีพทุก 15 นาทีและประเมินอาการ อาการแสดงของระบบต่างๆ, การดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง,ติดตามผลblood gas ,ดูแลให้ได้รับเลือดหรือสารน้ำตามแผนการรักษาของแพทย์,เช็ดตัวเพื่อลดไข้,บันทึกปริมาณสารน้ำที่ร่างกายได้รับและที่ร่างกายขับออกมา,ผู้ป่วยที่มีอาการกระสับกระส่าย สับสน ซึมลง ระวังการเกิดอุบัติเหตุ ต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิด,ติดตามผลการตรวจอื่นๆเช่น chest X- ray, ECG, ให้การดูแลด้านจิตใจ
หมายเลขบันทึก: 164216เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2008 23:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 06:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท