นักวิทยาศาสตร์และผลงานของเขา


วิลเฮล์ม คอนราด รีนต์เกิน

 

 

ประวัติวิลเฮล์ม คอนราด รืนต์เกิน   (wilhelm konrad roentgen) เกิดวันที่ 27 มีนาคม 1845 ที่เมืองเลนเนป
ในโรน์แลนด์   เป็นบุตรคนเดียวของนักอุตสาหกรรมและการค้าผ้า   เขาได้รับการศึกษาครั้งแรกในฮอลแลนด์และในซูริค เขาศึกษาในมหาวิทยาลัยหลายแห่ง  และเป็นศาสตราจารย์ทางฟิสิกส์ในปี ค.ศ.1902   รืนต์เกิน ค้นพบรังสีเอ็กซ์
โดยบังเอิญเมื่อวันที่ 8 พฤศ่จิกายน 1895   ขณะที่เขาทำการทดลองโดยเอากระดาษเข็งสีดำสนิทหุ้มหลอดแก้วไว้ไม่ให้แสงสว่างลอดเข้าออกได้  และส่งกระแสไฟฟ้าผ่านก๊าซต่างๆ ในหลอดแก้วพิเศษ   ซึ่งถูกดูดเอาอากาศออก  ในวันหนึ่ง รืนต์เกิน สังเกตว่าแม้หลอดจะถูกปกคลุมด้วยกระดาษสีดำ   การแผ่รังสีบางอย่างสามารถจะส่องผ่านออกมาได้และทำให้ฉากที่วางอยู่ใกล้สว่างขึ้น   รืนต์เกินไม่สามารถมองเห็นว่ามีอะไรออกมาจากหลอด   แต่เขาค้นพบว่าถ้าเขาวางฉากในห้องถัดไปซึ่งอยู่คนละด้านและปิดประตู รังสีก็ดูเหมือนจะมีผลต่อฉาก   ดังนี้รังสีไม่เพียงแต่สามารถผ่านทะลุกระดาษดำเท่านั้น  ยังผ่านไม้ไปได้ด้วย    สิ่งต่อมาที่เขาค้นพบคือถ้าเขาวางมือกั้น ระหว่างรังสีและแผ่นถ่ายภาพ   รังสีจะบันทึกเงาของโครงกระดูกของมือเขาบนแผ่นถ่ายภาพนั้น   แสดงว่ารังสีนี้สามารถส่องผ่านเนื้อของเขาเช่นเดียวกับที่ส่องผ่านกระดาษดำ   รืนต์เกินทดลองดูอีก ภายใน 2-3 นาทีก็หายสงสัย เขาจึงประกาศการค้นพบของเขาโดย ให้ชื่อแสงนี้ว่า
“รังสีเอ็กซ์”   ตั้งแต่รืนต์เกินพบรังสีเอ็กซ์มาจนถึงปัจจุบัน   รังสีนี้ได้อำนวยประโยชน์ให้แก่มนุษย์อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในวงการแพทย์ ซึ่งค้นพบว่านอกจากรังสีเอ๊กซ์จะช่วยให้แพทย์ใช้ประโยชน์ในการตรวจดูความผิดปกติของอวัยวะภายในของคนไข้แล้ว   รังสีนี้อาจจะใช้ได้ผลในการบำบัดโรคมะเร็งและกำจัดความเติบโตผิดปกติของเซลบางจำพวกด้วยเหมือนกัน   นอกจากวงการแพทย์แล้ว รังสีเอ๊กซ์ยังใช้ประโยชน์ในวงการอุตสาหกรรม วิศวกรรม การสืบสวน และวงการวิทยาศาสตร์หลายสาขาด้วยกัน    วิลเฮล์ม คอนราด รืนต์เกิน ผู้ค้นพบสิ่งที่เป็นคุณประโยชน์แก่มวลมนุษย์อย่าง มหาศาล ได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 1913 ด้วยโรคมะเร็ง
<p style="margin: 0in 0in 10pt" class="MsoNormal">ผลงาน  </p> - เป็นผู้ค้นพบรังสีเอ็กซ์ซึ่งนำมาใช้ในการเอ็กซ์เรย์ในปัจจุบัน <p> </p>

หมายเลขบันทึก: 164094เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2008 10:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท