วันเพ็ญ
นาง วันเพ็ญ (แหม่ม) ศรีสงเคราะห์

หลักพิจารณาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


หลักพืจารณาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 ...........จดแรกกับสมุดบันทึก........ขอน้อมนำกระแสพระราชดำรัชพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา  4  ธันวาคม  2517  ความว่า.......

"...คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา  จะว่าเมืองไทยล้าสมัย  ว่าเมืองไทยเชย  ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่  แต่เราอยู่พอมีพอกิน  และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทยพออยู่พอกิน  มีความสงบ  และทำงานตั้งจิตอธิษฐาน  ตั้งปณิธานในทางนี้  ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน  ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด  แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน  มีความสงบ  เปรียบเสมือนกับประเทศอื่น ๆ  ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้  เราก็จะยอดยิ่งยวดได้..."

หลักพิจารณาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง   

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  มีหลักพิจารณา  5  ส่วนดังนี้

1.  กรอบแนวคิด   เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่  และการปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น  โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทยสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา  และเป็นการมองโลกเชิงระบบ  ทีมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  มุ่งเน้นการรอดพื้นจากภัยและวิกฤต  เพื่อความมั่นคง  และความยั่งยืนของการพัฒนา

2.  คุณลักษณะ  เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนในทุกระดับ  โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง  และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน

3.  คำนิยาม  ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย  3  คุณลักษณะพร้อม ๆ กันดังนี้

  • ความพอประมาณ  หมายถึง  ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและมากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น  เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
  • ความมีเหตุมีผล  หมายถึง  การติดสินใจเกี่ยวกับความพอเพียงนั้น  จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุมีผล  โดยพิจารณาเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง  ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
  • การมีภูมคุ้มกันที่ดีในตัว  หมายถึง  การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ  ที่คาดว่าจะเกิดขี้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

4.  เงื่อนไขเพื่อให้เกิดความพอเพียง

  • เงื่อนไขความรู้  ประกอบด้วยความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน  ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน  เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
  • เงื่อนไขคุณธรรมที่จะต้องเสริมสร้าง  ประกอบด้วยความตะหนักในคุณธรรมมีความซื่อสัตย์สุจริต  และมีความอดทน  มีความเพียร  ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิ

5.  แนวทางปฏิบัติและผลที่คาดว่าจะได้ว่าจะได้รับ  คือการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน  ทั้งด้านเศรษฐกิจ  สังคม  สิ่งแวดล้อม  ความรู้และเทคโนโลยี

สรุปหลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง

           การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง  คือการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง  และความไม่ประมาท  โดยคำนึงถึงความพอประมาณ  ความมีเหตุผล  การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว  ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบและคุณธรรม  ประกอบการวางแผน  การตัดสินใจ  และการกระทำ

หลักคำสอนใด ๆ ที่นำมาเขียนให้อ่านเพื่อเป็นหลักยึด  สิ่งสำคัญที่สุดก็คือตัวเราเองที่เป็นผู้ปฏิบัติและเข้าถึง  ความพอเพียง.......ที่พ่อหลวงของแผ่นดิน..พระองค์ทรงดำรัส.......ตลอดมา

สวัสดีค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 163726เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2008 15:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท