กฏข้อที่ 3 ของนิวตัน คล้ายกฏแห่งกรรม


เมื่อออกแรงกระทำกับวัตถุหนึ่ง วัตถุนั้นจะออกแรงตอบโต้กับแรงที่เรากระทำในทันที

กฎข้อที่ 3 ของนิวตัน (Newton's Third law)
"ทุกแรงกิริยาจะต้องมีแรงปฏิกิริยาซึ่งมีขนาดเท่ากันและมีทิศทางตรงข้ามเสมอ" หรือ "แรงกระทำซึ่งกันและกันของวัตถุทั้งสอง ย่อมมีขนาดเท่ากันและทิศตรงข้าม"

แรงกิริยา = แรงปฏิกิริยา

       กฎข้อนี้แสดงให้เห็นว่าแรงทุกแรงจะเกิดขึ้นเป็นคู่เสมอ เมื่อวัตถุ A ส่งแรงกระทำต่อวัตถุ B วัตถุ B ก็จะส่งแรงที่เท่ากันตอบกลับมาในทิศทางที่ตรงข้าม
ตัวอย่างเช่น ผู้ที่กำลังเล่นสเกตเลื่อน ออกแรงผลักผู้เล่นคนอื่น ทั้งคู่ก็จะเคลื่อนที่ไปในทิศทางตรงข้ามกัน
        ในชีวิตประจำวันเราพบว่า เมื่อออกแรงกระทำกับวัตถุหนึ่ง วัตถุนั้นจะออกแรงตอบโต้กับแรงที่เรากระทำในทันที เช่น เราสวมรองเท้าสเก็ตแล้วหันหน้าเข้ากำแพง เมื่อเราออกแรงพลักกำแพง ตัวเราจะเคลื่อนที่ออกจากกำแพง นั้นแสดงว่า กำแพงต้องมีแรงกระทำต่อเราด้วย 
          จากตัวอย่างนี้ เราเรียกแรงที่ เรากระทำต่อกำแพงว่า แรงกิริยา และเรียกแรงที่ กำแพงกระทำต่อเราว่า แรงปฏิกิริยา แรงทั้ง 2 นี้เรียกรวมกันว่า แรงคู่กิริยา - ปฏิกิริยา หรือ action - reaction pairs 

         การกระทำซึ้งก็คือ กรรม เมื่อเรากระทำออกไปแล้ว ก็จะย้อนเข้ามาหาตัวผู้กระทำ ตามแรงกรรมที่เรากระทำ ถ้าเราทำกรรมที่รุนแรง ผลที่ได้ก็จะรุนแรงเหมือนกัน ในทางกลับกันถ้าทำกรรมที่เบาบางผลก็จะเบาบาง เช่นเราทำทาน

ให้ทานไป=ได้รับผลทานมา


        ยิ่งให้ไปมากเท่าไหร่ก็ได้รับมามากเท่านั้น มีทิศทางตรงข้าม คือ ให้ไปจึงได้มา

        ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่เป็นเหตุเป็นผล เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงเป็นศาสนาที่ได้รับการยอมรับจากนักวิทยาศาสตร์
        ครั้งหนึ่ง อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นสุดยอดนักฟิสิกส์โลกตลอดกาล http://203.158.100.100/charud/specialnews/...cist/index3.htm
และได้รับการคัดเลือกเป็นบุคคลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 )
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%...%B8%99%E0%B9%8C

ได้เคยกล่าวเห็นด้วยกับ นิวตัน ว่า มีกฎที่ควบคุมสรรพสิ่งอยู่ นิวตันได้นำเสนอความเชื่อนี้ด้วยหลักกลศาสตร์
แต่ก็ถูกปฎิเสธ ไอน์สไตน์รู้ว่ากฎนี้มีอยู่จริง แต่มันซับซ้อนกว่าหลักกลศาสตร์มาก
ถ้าถามไอน์สไตน์ ว่าเขานับถือศาสนาอะไร เขาจะตอบว่า เขาไม่นับถือศาสนาอะไร แต่ถ้าถามว่า เขาสนใจศาสนาอะไร
เขาก็จะตอบโดยไม่ลังเลว่า ศาสนาพุทธ ไอน์สไตน์ มักจะใช่คำเรียกศาสนาพุทธ ว่า "ศาสนาจักรวาล"
ไอน์สไตน์ได้ไปเจอ กาลามสูตร ที่สอนไม่ให้เชื่ออะไรโดยง่ายโดยไม่ไตร่ตรอง หรือ พิสูจน์ก่อน จึงเกิด ความคิดว่า
มีอย่างนี้ด้วยหรือ ก้าวข้ามความเชื่อไปโดยใช่ปัญญา ต่างจากศาสนาอื่นที่ให้เชื่อโดยไม่มีเงื่อนไข จึงเกิดความประทับ
ใจ และเคยได้กล่าวแสดงความคิดเห็นต่อศาสนาพุทธว่า

“ศาสนาในอนาคต จะต้องเป็นศาสนาสากล ศาสนานั้นควรอยู่เหนือพระเจ้าที่มีตัวตน และควรจะเว้นคำสอนแบบสิทธันต์ (คือเป็นแบบสำเร็จรูปที่ให้เชื่อตามเพียงอย่างเดียว) และแบบเทววิทยา(คือพึ่งเทวดาเป็นหลักใหญ่) ศาสนานั้น เมื่อครอบคลุมทั้งธรรมชาติและจิตใจ จึงควรมีรากฐานอยู่บนสามัญสำนึกทางศาสนา ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ต่อสิ่งทั้งปวง คือ ทั้งธรรมชาติและจิตใจอย่างเป็นหน่วยรวมที่มีความหมาย พระพุทธศาสนาตอบข้อกำหนดนี้ได้....ถ้าจะมีศาสนาใดที่รับมือได้กับความต้องการทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ปัจจุ บัน ศาสนานั้นก็ควรเป็นพระพุทธศาสนา”

ท่านที่สนใจเรื่องแนวนี้ สามารถหาอ่าน หนังสือ "ไอน์สไตน์ พบเห็น พระพุทธเจ้า" ของ ผู้เขียน : ทันตแพทย์สม สุจีรา ได้ ( ไม่ได้มาโฆษนานะครับ) ผมได้อ่านดูแล้วน่าสนใจดี ทำให้เข้าใจความสัมพันธ์ของศาสนาพุทธกับวิทยาศาสตร์ได้ดีขึ้น

          หลังจากไอน์สไตน์ เสียชีวิตคณะนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแม็กมาสเตอร์ (McMaster Universtity) เมืองออนตาริโอ ประเทศแคนาดา ได้เสนอรายงานผลการวิจัยสมองของไอน์สไตน์ ในวารสาร ทางการแพทย์ The Lancet เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยระบุว่า จากการศึกษาเปรียบเทียบสมองของไอน์สไตน์กับสมองคนฉลาดปกติทั่วไป เป็นชาย 35 คน หญิง 56 คน พบว่า บริเวณส่วนล่าง ของสมองด้านข้าง (inferior parietal region) ของไอน์สไตน์ ใหญ่กว่าของคนปกติธรรมดาถึง 15 เปอร์เซ็นต์ สมองบริเวณดังกล่าว อยู่ในระดับเดียวกับหู มีหน้าที่เกี่ยวกับการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์
นอกจากนั้นนักวิทยาศาสตร์ยังพบอีกด้วยว่า ร่องสมองของไอน์สไตน์ หายไปบางส่วนโดยที่สมองของคนทั่วไปจะมีร่องสมองจากส่วนหน้า ต่อเนื่องไปยังสมองส่วนหลังซึ่งร่องที่หายไปบางส่วนนี้ อาจจะเป็นกุญแจสำคัญที่แสดงความเป็นอัจฉริยะของไอน์สไตน์ เนื่องจากทำให้เส้นประสาทและเซลล์สมองบริเวณนั้น สามารถเชื่อมโยงเข้าหากันและทำงานร่วมกันได้ง่ายขึ้น
http://www.elib-online.com/doctors/gen_einstein.html
หมายเลขบันทึก: 163676เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2008 11:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 19:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเป็นธรรมชาติของโลก

มีเกิดก็ย่อมมีดับ ไม่จีรังยังยืน มนุษย์ทุกคนไม่ควรยึดติดกับสิ่งที่เปลี่ยนแปลง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท