การวิจัยกับการแก้ปัญหาของมนุษย์
ในโลกของความเป็นจริง ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ปัญหาของมนุษย์ (Human Problem) ซึ่งเป็นปัญหาที่ซับซ้อนและหลากหลาย ดังนั้นการแก้ปัญหาจึงต้องเปลี่ยนปัญหาของมนุษย์ให้เป็นปัญหาวิจัย (Research Question) แล้วนำปัญหาเข้าสู่กระบวนการวิจัย เมื่อได้ผลการวิจัยออกมาแล้วจึงนำกลับไปใช้แก้ปัญหาของมนุษย์ต่อไป
หลักของวิทยาศาสตร์กับมนุษยศาสตร์
วิทยาศาสตร์มองโลกวิทยาการในลักษณะถอยห่างออกไปจากภายนอก ทำใจให้ว่าง
คิดให้ถ่องแท้ ตัดอคติและสิ่งบิดเบี้ยวออก วัดให้แม่นตรง ทดลองให้ประจักษ์ เน้นกฎเกณฑ์ร่วม/ความเหมือน เพื่อหากฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ส่วนมนุษยศาสตร์มองโลกวิทยาการในลักษณะเอาตัวเองเข้าไปอยู่ข้างใน รู้สึกด้วยใจ วัดด้วยอารมณ์ ใช้คติของตนเอง ตั้งเกณฑ์ของสังคม ไม่เน้นความคงที่ รับเกณฑ์ที่แตกต่าง หลากหลาย เพื่อตั้งเกณฑ์ของมนุษย์ขึ้นเอง
เมื่อมนุษย์ทราบกฎเกณฑ์ของธรรมชาติด้วยพลังวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นพลังแรกที่ทำให้มนุษย์มีพลังที่ชนะธรรมชาติ พลังที่สองคือ พลังการจัดการ และพลังที่สามคือพลังเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ (ICT) เมื่อพลังทั้งสามมารวมกันเข้าจะเกิดเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ เกิดเป็น Knowledge – Based Economy และ Knowledge – Driven Economy การแข่งขันทางธุรกิจต่อไปจะแข่งขันกันด้วยความรู้ สังคมเกิดความแตกต่างกันเพราะคนในสังคมมีความรู้ที่แตกต่างกัน เกิดเป็นสังคมความรู้ขึ้น สังคมความรู้แบ่งเป็น 2 ยุค ดังนี้
สังคมความรู้ยุคที่ 1 เป็นสังคมความรู้ที่มีพลังและอำนาจอยู่ด้วยกัน เกิดการผลิต (Productivity) มีความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness) กลไกตลาด (Market Mechanism) และความอยู่รอด (Survival of the Fittest) นักวิชาการ/นักวิชาชีพ มีบทบาทหลักในการจัดการความรู้ ใช้พลังของความรู้ มีความเป็นมืออาชีพ
การจัดการความรู้ หรือการพัฒนาความรู้ (Knowledge Management) แบ่งเป็น
1. Knowledge Access คือ การเข้าถึงความรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ ได้แก่ การเข้าถึงความรู้ทาง
Internet หรือ ICT Connectivity ต่าง ๆ ต้องประกอบไปด้วยความสามารถในการเข้าถึงความรู้ ความใฝ่รู้ เวลาในการหาความรู้ และการทำความรู้ให้ใช้ได้ง่าย
2. Knowledge Validation คือ การประเมินความถูกต้องของความรู้ ความรู้มีทั้งของจริง
และของหลอก ดังนั้น จึงต้องมีการประเมินความถูกต้องของความรู้ การวิจัยเป็นเครื่องมือที่จะบอกว่าความรู้นั้นถูกต้องหรือไม่ ถ้าถูกต้องตามกระบวนการน่าจะเป็นความรู้ที่ถูกต้อง ความรู้ต้องมีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา งานวิจัยที่ดีจะต้องเป็นผลงานวิจัยหลาย ๆ งานวิจัยที่ได้ผลตรงกันถึงจะเชื่อถือได้ เรียกว่า Systematic Review หรือ Meta Analysis ซึ่งสังเคราะห์ข้อมูลมาจากหลาย ๆ แหล่ง
3. Knowledge Valuation คือ การตีค่า/การตีความรู้ ใช้ความรู้นั้นแล้วคุ้มค่าหรือไม่ ความรู้
ที่มีหลักฐานถูกต้องตามหลักวิชาการแต่ไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้เนื่องจาก
Ø ไม่คุ้มค่า ราคาแพงเกินกว่าผลประโยชน์
Ø ใช้สำหรับสิ่งที่ไม่จำเป็น หรือฟุ่มเฟือย
Ø ปฏิบัติจริงได้ยาก ขาดสิ่งจำเป็น
Ø ขัดกับความคิด ความเชื่อ หรือวัฒนธรรม
Ø ไม่สร้างความยุติธรรม และศักดิ์ศรีมนุษย์
4. Knowledge Optimization คือ การทำความรู้ให้ง่ายที่จะใช้ การนำความรู้ออกมาเป็นกฎ
เกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ ต้องมีพื้นฐานมาจากความรู้ เช่น การทำคู่มือต่าง ๆ
5. Knowledge Dissemination คือ การกระจายความรู้ ปัจจุบันความรู้เป็นสมบัติ
สาธารณะที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ อยู่ที่ความสามารถของแต่ละคนที่จะเข้าถึงความรู้ ฉะนั้นต้องเปลี่ยนจากการที่ครูเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้เป็นนักเรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ และทำให้เกิด Public Information หรือ Public Education ซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างมาก การวิจัยหรือความรู้เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างพลังที่นำไปสู่ Empowerment จากเดิมความรู้ที่เป็นของนักวิชาการกลายเป็นความรู้เป็นของสาธารณะ ความรู้ไม่ได้มีไว้ใช้เพียงอย่างเดียว แต่ความรู้นำมา
สร้างเป็นพลังได้ Edutainment เป็นการศึกษาที่มีวิธีการเรียนการสอนที่สนุกสนาน ไม่น่าเบื่อ มีความเพลิดเพลิน และการศึกษาเป็นของสนุก Knowledge Brokering (นายหน้าความรู้) ความรู้เป็นสินค้าที่ต้องมีกระบวน การจัดการ นักวิชาการเป็นเพียง Knowledge Broker ทำความรู้ให้เกิดประโยชน์ขึ้น
การวิจัยเป็นเครื่องมือในการศึกษา 3 ลักษณะคือ
1. วิจัยเพื่อรู้เท่าทันความรู้ เข้าถึง ใฝ่รู้ ประเมินได้ วิจารณญาณได้ (ปัญญา)
2. วิจัยเพื่อให้สามารถย่อยความรู้ (นายหน้าความรู้)
3. วิจัยเพื่อสร้างความรู้ (นักวิชาการ/นักวิชาชีพ)
ประเภทของความรู้
1. ความรู้ที่พิสูจน์แล้วตามหลักวิทยาศาสตร์ (Explicit Knowledge)
2. ความรู้เฉพาะกรณี (Situation – Specific Knowledge)
3. ความรู้ที่เกิดจากการกระทำ (Implicit/Tacit Knowledge)
ความรู้ที่มาจาก Explicit Knowledge เป็นความรู้ที่มาจากการทบทวนวรรณกรรมต่าง ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความรู้เท่านั้น ถ้าจะให้ได้ความรู้ที่ดีกว่าเดิมต้องเป็นความรู้ที่เกิดจากการใช้งานการกระทำ ซึ่งเป็นความรู้เฉพาะบุคคลที่มาจากคนหลาย ๆ คน เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดการทำงานเป็นทีม และนำไปสู่ความรู้ใหม่ ความรู้ที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ ไม่ต้องพิสูจน์ เป็นความรู้จากการสุมหัว นำไปสู่ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้น
ความรู้จากการกระทำ (Implicit/Tacit Knowledge /Mundane Sciences) เป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ ได้แก่ ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ภูมิปัญญาดั้งเดิม ที่ได้รับการสั่งสมมาเป็นเวลาแรมปี เกิดเป็นความรู้ใหม่ขึ้น
กระบวนการการจัดการความรู้ (Knowledge Management) นำไปสู่ Empowerment ขององค์กรนั้น องค์กรเกิดการปรับตัวตามประสบการณ์ที่เกิดนั้นกลายเป็น Learning Organization
ไม่มีความเห็น