มาตรา105 ป.วิธีพิจารณาความอาญา


มาตรา105 ป.วิธีพิจารณาความอาญากับหลักอิสระในการ ติดต่อสื่อสารของปัจเจกชน
มาตรา 105 จดหมาย ไปรษณียบัตร โทรเลข สิ่งพิมพ์หรือเอกสาร อื่นซึ่งส่งทางไปรษณีย์และโทรเลข จากหรือถึงผู้ต้องหาหรือจำเลยและ ยังมิได้ส่ง ถ้าเจ้าหน้าที่ต้องการเพื่อประโยชน์แห่งการสอบสวนไต่สวน มูลฟ้อง พิจารณา หรือการกระทำอย่างอื่นตามประมวลกฎหมายนี้ ให้ขอคำสั่งจากศาลถึงเจ้าหน้าที่ ไปรษณีย์โทรเลขให้ส่งเอกสารนั้นมา
ถ้าอธิบดีกรมตำรวจ หรือข้าหลวงประจำจังหวัดเห็นว่าเอกสาร นั้นต้องการใช้เพื่อการดั่งกล่าวแล้ว ระหว่างที่ขอคำสั่งต่อศาลมีอำนาจ ขอให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายไปรษณีย์โทรเลขเก็บเอกสารนั้นไว้ก่อน
บทบัญญัติแห่ง มาตรานี้ ไม่ใช้ถึงเอกสารโต้ตอบระหว่างผู้ต้องหา หรือจำเลยกับทนายความของผู้นั้น
การที่ดูว่าขัดกับหลักการด้านสิทธิมนุษยชนหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาในเรื่องที่ว่า สิทธิมนุษยชนคืออะไร เพราะการที่จะบอกได้ว่าขัดหรือไม่ ต้องรู้ก่อนว่ามันคืออะไร แล้วจึงจะตอบไปได้ว่า ขัดกับสิ่งนั้นหรือไม่ สิทธิมนุษยชน นั้นแปลตามตัว คงมีความหมายว่าเป็นสิทธิความเป็นมนุษย์ หรือสิทธิความเป็นคน เป็นสิทธิที่เกิดมาก็ย่อมได้เลย โดยไม่ต้องไปร้องขอหรือการบัญญัติ โดยรัฐใด เพราะมันเป็นสิทธิโดยธรรมชาติ และก็พัฒนาเป็นสิทธิโดยกฎหมายกำหนด เช่นศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ ที่รัฐธรรมนูญนำมาบัญญัติไว้ ทั้งที่ทุกคนบนโลกเกิดมาก็ย่อม มีความเป็นมนุษย์ โดยเท่าเทียมกันอยู่แล้ว แม้ไม้ได้บัญญัติไว้ในกฎหมาย
ที่นี่เมื่อเรามาพิจารณาในแง่ การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล ตรงนี้จะเห็นว่าย่อมไปโดย อิสระที่ปัจเจกชน สามารถที่จะกระทำได้ และไม่อาจที่จะถูกเปิดเผยโดยใครก็ตามที่ไม่ได้รับความ ยินยอมจากคนที่เป็นเจ้าของข้อมูล สิทธิเสรีภาพนี้ย่อมเหมือนกับ สิทธิเสรีภาพทั่วไปคือต้องไม่ไปกระทบสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 105 ให้อำนาจเจ้าพนักงาน มีอำนาจที่จะขอคำสั่งศาล เพื่อให้เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ส่งเอกสาร ไม่ว่าจะเป็นไปรษณียบัตร โทรเลขหรือ เอกสารอื่นใด ก็ตามหากต้องการ แต่ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ในการทำการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้อง หรือ การพิจารณาคดี แต่การติดต่อตรงนี้ไม่รวมถึงการติดต่อระหว่าง ผู้ต้องหา หรือจำเลย กับทนายความ หากเรามองในแง่อิสระที่ปัจเจกชนจะทำการติดต่อสื่อสารกันอย่างไรก็ได้ การที่บทบัญญัติเช่นนี้ ย่อมเป็นเรื่องที่ขัดกับหลักการดังกล่าว เพราะทำให้ข้อมูลการติดต่อสื่อสารของเรา ถูก เปิดเผย โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่หากเราพิจารณาต่อไปการ การที่เจ้าหน้าที่ใช้อำนาจรัฐ มาล่วงละเมิดสิทธิ เสรีภาพของเรานั้นเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ หรือเป็นการกระทบต่อสาระสำคัญ แห่งสิทธิหรือไม่ เราก็จะเห็นว่า สิทธิเสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร ยังคงมีอยู่ เพียงแต่การที่ศาลเห็น ว่าเอกสารนั้นเป็นประโยชน์ต่อการ สอบสวน ไต่สวนมูลฟ้อง การพิจารณาคดี ก็มีอำนาจที่จะเรียก เอกสารตัวนั้นมาจากเจ้าหน้าไปรษณีย์ได้ เพื่อใช้ประกอบเป็นพยานหลักฐาน ในการพิสูจน์ทราบข้อเท็จจริง ว่าตัวผู้ต้องหา หรือ จำเลยเป็นผู้ กระทำความผิดหรือไม่
และเมื่อพิจารณาในแง่ว่า มีความเหมาะสม สมควรแก่เหตุหรือไม่นั้น เมื่อเราเห็นว่าการดำเนินคดีอาญา ถึงแม้บางเรื่องจะเป็นเรื่องของความผิดส่วนตัว แก่ก็ต้องยอมรับว่า เป็นไปเพื่อประโยชน์ของ ประชาชนโดยรวมเช่นกัน ไม่ว่า จะเป็นลักษณะที่ควรผู้กระทำผิดไปขัดเกลาเพื่อ ไม่ให้มากระทำกับผู้อื่นอีก หรือการตัดผู้กระทำผิด ออกจากสังคมไปเลย เพื่อปกป้องความผาสุกของสังคมโดยรวม ฉะนั้นการมีบทบัญญัติเช่นนี้ ย่อมเป็นการสมควรแก่เหตุหรือ เหมาะสมไม่กระทบสาระสำคัญแห่งสิทธิ ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ รับรองไว้ จึงไม่ขัดกับหลักสิทธิมนุษยชน
คำสำคัญ (Tags): #สิทธิมนุษยชน
หมายเลขบันทึก: 163161เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2008 19:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท