19.วิทยาลัยเดคแคน ปูเน รัชมหารัชตะ


ความเข้มแข็งของวิชาการมาคู่กับความเก๋าของสถาบัน

วิทยาลัยเดคแคน ปูเ

               

         วันที่ 26 พฤศจิกายน 2550 ฉันตื่นแต่เช้าเพราะนอนไม่

ค่อยหลับเท่าไร  ราวเจ็ดนาฬิกามีคนมาเคาะห้องแจกชานมร้อน

ชาอินเดียร้อนๆ กับอากาศเย็นๆ ช่างช่วยให้ร่างกายอบอุ่นได้เร็วขึ้น

ราว 7 โมงกว่า ฉันแต่งตัวเสร็จออกไปเดินเล่นข้างนอก ยังไม่มีใคร

ลงมาที่ห้องอาหาร เช้าๆ บรรยากาศเงียบเชียบ อากาศสดชื่น

ท่ามกลางไอหมอก ไม่หนาวจัดเกินไป ฉันห่มผ้าคลุมไหล่ก็

ทนไหวแล้ว ทักทายกับหนุ่มน้อยชาวเยอรมันซึ่งแกก็ตื่นเช้า

เรายืนคุยกัเขากำลังเรียนอยู่ระดับบัณฑิตศึกษามา

เสนอผลงานด้วย ทำภาษามุนดาซึ่งอาจารย์เขาทำอยู่

และชักนำให้เขามาทำด้วย ภาษานี้ฝรั่งและญี่ปุ่นศึกษา

หลายคนเหมือนกัน

          พอได้เวลาผู้คนทยอยมาที่ห้องอาหาร อาหารเช้าวันนี้มี

ขนมปัง เนย แยม idly แกง กล้วยหอม คอร์นเฟลก นมร้อน

ไม่มีชา/กาแฟอีก เราเลือกทานตามอัธยาศัย ทานเสร็จ

ก็ขอตักสมุนไพรดับกลิ่นปากใส่กระดาษทิชชูสักช้อน

ซึ่งวางไว้บนโต๊ะตรงทางออก

           มีรถตรวจการ Pajero หนึ่งคันมารอรับพวกเราไป

วิทยาลัยเดคแคน ระหว่างที่ยืนรอๆ กันหน้าประตูใหญ่ มีรถตุ๊กๆ

2 คัน บรรทุกคนกลุ่มหนึ่งมามีทั้งชายหญิง กลุ่มนี้คือชาว

Khasi เพิ่งนั่งรถไฟมาจาก Mysore หน้าตาเขาคล้ายคนไทย

เขามาฝึกภาษาศาสตร์ที่ Mysore และมาเสนองานของตนใน

การประชุมด้ว

               

             ฉันคุยกับหนุ่ม Khasi 2 คนซึ่งมาก่อนเพื่อนกลุ่มนี้

ทำให้ทราบว่าเขาเป็นคริสเตียนแล้ว ชนกลุ่มน้อยกลายเป็น

คริสต์ไปก็ไม่มีการบูชาเทพเจ้าแล้ว พวกนี้คงได้รับความ

ช่วยเหลือจากคริสต์ให้ได้เล่าเรียน เขาพูดภาษาอังกฤษ

ดีมาก คนพวกนี้พูดได้แต่ภาษาแม่ของตนกับอังกฤษ

แต่พูดฮินดีไม่ได้ เขามาจาก Meghalay-Shillong

ทางอีสานของอินเดีย

                วิทยาลัยเดคแคนอยู่ห่างจากมหาวิทยาลัยปูเน

7 กิโลเมตร เช้าๆ รถติดตรงคอสะพานที่จะข้ามไปสู่ทางไป

วิทยาลัย ฉันนั่งข้างหลังจึงคุยไปกับอาจารย์ที่มาจาก JNU 

เดลลีเกี่ยวกับวิทยาลัยนี้ ท่านเล่าว่าวิทยาลัยนี้สร้างมาร้อย

กว่าปีแล้ว มีสองคณะที่เก่าแก่คือภาษาศาสตร์และโบราณคดี

เดิมไม่สามารถประสาทปริญญาเองได้ ต้องให้นักศึกษา

ไปรับปริญญาของมหาวิทยาลัยปูเน ต่อมาวิทยาลัยนี้มี

ฐานะเทียบเท่ามหาวิทยาลัยสอนโทเอก

            รถมาส่งเราที่ข้างๆ ตึกเก๋ๆ แบบอังกฤษ ทางเข้า

วิทยาลัยมาผ่านหอพักนักศึกษาชาย มีตึกเก่าๆ อยู่ห่างออกไป

ทราบภายหลังว่าเป็นคณะโบราณคดีที่มีชื่อเสียงมาก

มีอาคารพิพิธภัณฑ์ที่เป็นตึกเก่าแบบอังกฤษ จากปากประตู

เข้ามาถึงคณะภาษาศาสตร์ราว 500เมตรได้ วันแรกไม่เห็น

อาคารทั้งหมด เรามาถึงเร็ว หลายคนยังไม่มาเพราะมีรถ

รับส่งเพียงคันเดียว พวกมาถึงก่อนก็นั่งบ้าง ยืนบ้างคุยกัน

ฉันกับส้มภรรยาอาจารย์Diffloth คุยกัน ส้มช่างเล่าๆ ประวัติ

อาจารย์ให้ฟัง เล่าประสบการณ์ไปทำงานสนามกับอาจารย์

ที่เกือบเอาชีวิตไม่รอด คุยกันนานพอควร ผู้คนเริ่มมาแล้ว

เราเข้าไปห้องประชุม

          วกกลับมาที่การประชุมนานาชาติภาษาศาสตร์ออสโตร-เอเชียติกครั้งที่ 3 มีเจ้าภาพร่วมจัด 3 สถาบัน คือ วิทยาลัย

เดคแคน, Linguistic Society in India และ

Central Institute of Indian Languages, Mysore

ได้เวลาที่พิธีเปิดจะเริ่มแล้ว บนเวทีมีผู้ใหญ่ที่เป็นเจ้าภาพและ 

Prof. Diffloth นั่งเป็นประธาน มีพิธี จุดไฟ สวดและกล่าวเปิด

พิธีไม่นานมาก ปรากฎไฟดับตอนใกล้พักน้ำชา  วิทยากรก็พูด

โดยไม่ต้องใช้เครื่องขยายเสียงแล้ว จบพิธีการภาคเช้า

พักรับประทานของว่าง หน้าห้องประชุมในพื้นที่เล็กๆ

มีชานมร้อนๆ แต่เสริฟในแก้วพลาสติกใสๆ (ใจก็กริ่งๆ ว่า

สารจากพลาสติกน่าจะละลายออกมาด้วย) พร้อมขนมแห้งๆ

ทานด้วยกันก็อร่อยดี บรรยากาศอบอุ่น ฉันท์มิตรเพราะพื้นที่

จำกัดทำให้ต้องโอภาปราศัยทักทาย พูดคุยกันทั่วถึงดี 

ฉันฝากน้องคนไทยไปลงทะเบียนการประชุม 2000 รูปี

ได้กระเป๋าเอกสารมาพร้อมเอกสาร

            กลับเข้ามาประชุมไฟฟ้ามาแล้ว เป็นการนำเสนอ

บทความนั่งฟังกันจนบ่ายโมงครึ่ง พักทานอาหารกลางวัน

ชั้นล่างของห้องประชุม อาหารอินเดียใต้  ฉันเริ่มชินแล้ว 

ทานไปคุยกันไป เสร็จแล้วฉันไปเตรียมอุปกรณ์เพราะ

ต้องเสนอผลงานตอนบ่าย ต่อ powerpoint รอไว้เรียบร้อย

ฉันเตรียมถ่ายเอกสารบทความไปแจกในที่ประชุมด้วย

ผู้คนทานอาหารเสร็จก็ทะยอยมาเข้าห้อง ประธานแนะนำ

ฉันเสร็จฉันก็เสนอไป ตรงเวลา 20 นาที ผู้ฟังคงหลับ

ไปบ้าง แต่พอเสนองานเสร็จกลับเห็นคนที่นั่งหลับตาถาม

ด้วยแฮะ มีคำถามหลายคำถาม ฉันก็ตอบไป หลังจากนั้น

ก็มีผู้เสนองานท่านอื่นๆ เสนองานต่อจากฉัน น่าสนใจดี

ฉันก็ถ่ายภาพบนสไลด์ที่ฉายเพื่อเก็บไว้เผื่อใช้สอน

นักศึกษาเพราะเป็นงานวิจัยใหม่ๆ ที่นำมาเสนอกัน 

ราวบ่ายสี่โมงกว่าๆ เบรครับประทานของว่างหน้าห้องอีก

มีนักวิชาการอินเดียมาชมว่าบทความฉันดี และมี

นักวิชาการรุ่นเยาว์ตลอดจนนักวิชาการที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์

มุนดา (Munda) มาพูดคุยด้วยขอที่อยู่เพื่ออยากจะติดต่อ

ขอความรู้เพราะอยากทำวิจัยแนวเดียวกับที่ฉันทำ ฉัน

บอกว่ายินดี การประชุมวันแรกเลิกราวหกโมงเย็น ออกมา

นอกห้องประชุมมืดสนิท พวกเรามาจับกลุ่มรอรถไปส่ง

ที่ guest house ในมหาวิทยาลัยปูเน พอรถมาก็พยายาม

เบียดกันไปให้มากที่สุดเพราะรถมีน้อย การเดินทางไปมา

ใช้เวลาพอควร เห็นใจคนที่ต้องรอเพราะอาหารเย็นรอ

อยู่ที่ guest house ทุกคนก็คงหิวกัน

          การเดินทางกลับใช้เวลาราว 20 นาที ไปถึงอาหารยังทำ

ไม่เสร็จ ฉันเอาของไปเก็บที่ห้องก่อน จนได้เวลาราว 19.30 น.

จึงลงมาสมทบ จำไม่ได้ว่าอาหารมีอะไรบ้าง แต่มีหลายอย่าง

ทั้งข้าวและจปาตี ที่ขาดไม่ได้คือโยเกิร์ตมีทุกมื้อ

         ทานเสร็จนั่งพูดคุยกันต่อ การประชุมคนไม่มากนี่ทำ

ให้ได้รู้จักพูดคุยกันค่อนข้างจะทั่วถึง  ทานเสร็จก็ออก

มาเดินเล่นด้านหน้าเพื่อส่งเพื่อนๆ กลับไปพักในเมือง 

อากาศเริ่มหนาว ฉันกลับห้องพัก อาบน้ำอุ่นที่ทำจาก

พลังงานความร้อนโซลาร์เซลล์ ร้อนได้ใจจริงๆ  เสร็จแล้ว

จดบันทึกจนได้เวลาเข้าสู่นิทรา คืนนี้คงหลับสบาย

                                

 

หมายเลขบันทึก: 162999เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2008 10:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 06:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ตามมาอ่านครับ

ขอแสดงความยินดีด้วยนะครับ ได้เสนอผลงานในที่ประชุมดังกล่าว

พอจะสรุปให้ฟังได้ไหมครับ

เรื่องเล่าอ่านแล้วก็เพลินใจได้ความรู้ดีครับ

ขอบคุณครับ

 

เรียน คุณพลเดช ที่เคารพ

      ขอบพระคุณค่ะที่กรุณาติดตาม เรื่องการประชุมนานาชาติที่วิทยาลัยเดคแคนนี้เป็นการประชุมทางด้านภาษาศาสตร์ของกลุ่มชนที่พูดภาษาออสโตรเอเชียติกซึ่งมีพูดอยู่ในอินเดียมาจนถึงทางใต้จีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เชื่อกันว่าภาษาตระกูลนี้เป็นภาษาที่เก่าแก่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภาษาเวียดนามและภาษาเขมรเท่านั้นที่เป็นภาษาประจำชาติและสามารถสืบสาวประวัติศาสตร์ไปได้อย่างยาวนาน นอกนั้นเป็นภาษาเล็กภาษาน้อย บ้างก็มีตัวเขียน แต่ส่วนใหญ่ไม่มีตัวเขียนค่ะ ภาษาที่ไม่มีตัวเขียนจะตายหรือใกล้สูญไปมาก  การประชุมทางภาษาศาสตร์ก็จะเป็นเรื่องเสียง ไวยากรณ์ พจนานุกรม ลักษณะทางด้านภาษาศาสตร์ต่างๆ ภาษาศาสตร์สังคม เป็นต้น

 

อาจารย์โสภนา

ขอบคุณครับ น่าสนใจมาก

ภาษาเวียดนามและภาษาเขมรเท่านั้นที่เป็นภาษาประจำชาติ

น่าชื่นชมนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท