16. รำลึก 60 ปีอสัญกรรมของท่านมหาตมา คานธี (1)


ความเจริญก้าวหน้าจะต้องเกิดจากการเปลี่ยนแปลงโดยสันติวิธี

วันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๑ เป็นวันครบรอบ ๖๐ปีของการถึงแก่อสัญกรรมของท่านมหาตมา คานธี "บิดาของอินเดีย" ที่เป็นผู้นำการต่อสู้แบบสันติวิธี หรืออหิงสธรรม หรือ สัตยาเคราะห์จนประเทศอินเดียได้เอกราชจากอังกฤษ ผู้เขียนจึงขอประมวลประวัติความเป็นมาของท่านที่สำคัญๆ มานำเสนอให้ผู้อ่านรุ่นเยาว์ที่ไม่เคยได้ยินชื่อท่านผู้นี้ (ซึ่งเป็นชาวเอเชียด้วยกัน) ได้รู้จักท่านและแนวทางการดำเนินชีวิตของท่านซึ่งหาได้ยากในโลกยุคนี้เพื่อน้อมคารวะแด่ท่านคานธีในโอกาสนี้ด้วย

ประมวลเหตุการณ์สำคัญในชีวิตของมหาตมา คานธี

 (มหา + อาตมา = ผู้มีจิตใจสูง เป็นสมัญญาที่ชาวอินเดียมอบให้)

ค.ศ.

๑๘๖๙ เกิดที่เมืองโปร์พันทรในแคว้นคุชราต ประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม

๑๘๗๖ ปฐมศึกษาในรัฐราชโกฏิ หมั้นกับกัสตูร์บาอี

๑๘๘๓ แต่งงานกับกัสตูร์บาอี

๑๘๘๕ บิดาถึงแก่กรรม

๑๘๘๗ ผ่านการสอบชั้นมัธยมบริบูรณ์ เข้าเรียนต่อในวิทยาลัยสันวัลทาส

           ที่เมืองภวะนคร

๑๘๘๘ เดินทางไปประเทศอังกฤษเมื่อวันที่ ๔ กันยายน เพื่อศึกษากฎหมาย

๑๘๘๙ พูดในที่สาธารณะเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษต่อที่ประชุมนักมังสวิรัติ

๑๘๙๑ เป็นเนติบัณฑิต เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน โดยสารเรือกลับประเทศอินเดีย

          ถึงนครบอมเบย์

วันที่ ๗ กรกฎาคม พอถึงก็ได้ทราบข่าวมรณกรรมของมารดา

๑๘๙๒ เริ่มประกอบอาชีพทางกฎหมายในรัฐราชโกฏิและนครบอมเบย์

๑๘๙๓ เดินทางไปแอฟริกาใต้ในเดือนเมษายนเพื่อว่าความในคดีแพ่ง

๑๘๙๔ คดีตกลงกันได้ด้วยการประนีประนอม

๑๘๙๕ เข้าเป็นทนายความในศาลสูงเมืองนาตาล ก่อตั้งพรรคคองเกรสอินเดีย

          แห่งนาตาล

๑๘๙๖ กลับประเทศอินเดียจากแอฟริกาใต้ อยู่ในอินเดีย ๖ เดือน ระหว่างนี้ได้พบ

          กับผู้นำของอินเดียมีดิลก โคขเล และผู้นำคนอื่นๆ กลับไปแอฟริกาใต้อีก

          เมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน

๑๘๙๗  มีการเดินขบวนต่อต้านคานธีในเมืองเดอร์บัน อันเป็นจุดเริ่มต้นของการ

         เปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงในชีวิตของคานธี

๑๘๙๙ ช่วยฝ่ายอังกฤษพยาบาลทหารที่ได้รับบาดเจ็บในสงครามโบเออะ

๑๙๐๑  กลับประเทศอินเดีย จัดตั้งหน่วยบริการสาธารณสุขในเขตที่กาฬโรคระบาด

         ในรัฐราชโกฏิ เข้าร่วมประชุมพรรคคองเกรสแห่งชาติ ณ เมืองกัลกัตตา

๑๙๐๒  ไปประเทศพม่า เริ่มเดินทางโดยรถไฟชั้นที่ ๓ (คานธีเดินทางโดยรถไฟ

         ชั้นที่ ๓ เป็นประจำ) เปิดสำนักงานทนายความในนครบอมเบย์ในเดือน

         กรกฎาคม กลับไปแอฟริกาใต้อีกหลังจากไดอยู่ในอินเดียประมาณ ๓ เดือน

๑๙๐๓  ก่อตั้งสมาคมอินเดียอังกฤษแห่งนครทรานสวาล เริ่มออกวารสาร

          INDIAN OPINION

๑๙๐๔  เริ่มศึกษาคัมภีร์ ภควัทคีตา และหนังสือ UNTO THIS LAST ของ RUSKIN

          ซึ่งก่อให้เกิดการปฏิรูปอย่างใหญ่หลวงในชีวิต ก่อตั้งอาศรมฟินิกซ์

๑๙๐๖  เกิดขบถซูลู ช่วยผู้ได้รับบาดเจ็บในการขบถ ตั้งปณิธานประพฤติ

          พรหมจรรย์ บัญญัติคำว่า สัตยาเคราะห์ (Satyagraha) ขึ้นใช้เป็น

          ครั้งแรก ไปประเทศอังกฤษในฐานะสมาชิกคนหนึ่งในคณะผู้แทนอินเดีย

                                      

๑๙๐๗ เริ่มปฏิบัติการสัตยาเคราะห์ต่อต้าน กฎหมายทมิฬ (BLACK ACT)

๑๙๐๘ ลงนามความตกลงชั่วคราวกับอังกฤษถูกประทุษร้ายโดยชาวปาทาน

           ปฏิบัติการสัตยาเคราะห์อีก ถูกจับกุมคุมขัง

๑๙๐๙  เขียนจดหมายติดต่อกับลีโอ ตอลสตอย เป็นครั้งแรก ไปประเทศอังกฤษ

        ฐานะสมาชิกคนหนึ่งในคณะผู้แทนอินเดียครั้งที่ ๒ ระหว่างเดินทางกลับ

        จากประเทศอังกฤษ แต่งหนังสือเรื่อง ฮินดฺสฺวราช (อินเดียปกครองตนเอง)

๑๙๑๐  ก่อตั้งฟาร์มตอลสตอยในเมืองโจฮันเนสเบอร์ก

๑๙๑๒  นายโคขเล (ผู้นำคนสำคัญคนหนึ่งของอินเดีย) ไปเยี่ยมแอฟริกาใต้

      พิมพ์หนังสือชื่อ นิติธรรม  แต่งหนังสืออีกเล่มหนึ่งว่าด้วยการบำบัดโรค

      โดยธรรมชาติ

๑๙๑๓  ปฏิบัติการสัตยาเคราะห์อีก ถูกจับและได้รับการปล่อยตัว อดอาหาร

        ๗ วัน และหลังจากนั้นรับประทานอาหารวันละมื้อเป็นเวลา ๔ เดือนครึ่ง

๑๙๑๔  อดอาหาร ๑๔ วัน ปฏิบัติการสัตยาเคราะห์ ประสบผลสำเร็จมีการ

         รอมชอมกัน (ระหว่างอังกฤษกับอินเดีย) ไปประเทศอังกฤษเมื่อ

         วันที่ ๑๘ กรกฎาคม สงครามโลกครั้งที่ ๑ ปะทุขึ้นเมื่อวันที่ ๔ สิงหาคม

         พบปะกับนางสโรชินี นายฑู (สตรีผู้นำของอินเดีย) ช่วยอังกฤษทำสงคราม

๑๙๑๕  ได้รับเหรียญเกียรติคุณ ไกสเร ฮินฺด จากรัฐบาลอังกฤษ เมื่อเดินทางกลับ

         ถึงประเทศอินเดีย เดินทางเพื่อการเรียนรู้อย่างกว้างไกลในอินเดีย พบปะ

        กับนายกากา กาเลนกะระ และอาจารย์กฤปลานี (ทั้งสองคนเป็นผู้นำของ

        อินเดีย) ก่อตั้งอาศรมสาพรมตี เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม

๑๙๑๖  แสดงสุนทรพจน์ประวัติศาสตร์ในโอกาสเปิดสถาบันการศึกษา กาศี

        วิศววิทยาลัย พบกับยวาหระลาล เนห์รูเป็นครั้งแรก ในการประชุมพรรค

        คองเกรสแห่งชาติที่เมืองลักเนาว์

๑๙๑๗ พบกับดร.ราเชนทรประสาทเป็นครั้งแรก  เริ่มปฏิบัติการสัตยาเคราะห์

         กรณีไร่ครามในเมืองจมปารัน เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ต่อสู้จนมีการยกเลิก

       กฎหมายว่าจ้างแรงงานโดยมีสัญญาผูกมัดเมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม

๑๙๑๘            กรรมกรโรงงานทอผ้าในเมืองอาหเมดาบาด ผละงาน

      อดอาหาร ๓ วัน ปฏิบัติการสัตยาเคราะห์ที่เมืองเขทา ฟื้นฟูการปั่นด้าย

     ด้วยมือ

๑๙๑๙  รัฐบาลประกาศใช้กฎหมายเราแลตต์ (Rowlett Act) ประกาศ ๖ เมษายน

          เป็นวันสวดมนต์ไหว้พระและอดอาหาร เกิดการสังหารฝูงชน

          ชลียาวาลาบาฆเมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน ออกวารสาร YOUN INDIA 

          (ยุวอินเดีย) และ NAVAJIVAN  (ชีวัน-ชีวิตใหม่) เริ่มการเคลื่อนไหว

         ขิลาฟัต ประชุมพรรคคองเกรสที่เมืองอมฤตสระ

๑๙๒๐  เขียนธรรมนูญให้พรรคคองเกรสแห่งชาติ เริ่มขบวนการไม่ร่วมมือกับรัฐบาล

๑๙๒๑  ก่อตั้งสถาบันการศึกษาชาตินิยมหลายแห่งทั่วประเทศอินเดีย ไม่ร่วมมือ

       กับรัฐบาลในการต้อนรับมกุฎราชกุมารของอังกฤษซึ่งเสด็จประพาสอินเดีย

       อดอาหาร ๕ วัน

๑๙๒๒  เกิดการขบถเจารี-เจารา เมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ยับยั้งปฏิบัติ

          การสัตยาเคราะห์ อดอาหาร ๕ วัน ถูกจับเมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม

          ศาลพิพากษาลงโทษจำคุก ๖ ปี

๑๙๒๔ ผ่าตัดไส้ติ่ง ได้รับการปล่อยตัวจากที่คุมขังเมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์

         อดอาหาร ๒๑ วัน ตั้งแต่วันที่ ๒๔ กันยายน เพื่อเรียกร้องความสามัคคี

        ระหว่างฮินดูกับมุสลิม เป็นประธานการประชุมพรรคคองเกรสแห่งชาติที่

         เมืองเบลคาม

(ยังมีต่อ)

(กรุณา-เรืองอุไร กุศลาสัย แปล ข้าพเจ้าทดลองความจริง อัตชีวประวัติของมหาตมา คานธี (The Story of my Experiments with Truth- written by Mahatma Gandhi) กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง ๒๕๓๘ หน้า ๗๓๕-๗๓๙)

 

หมายเลขบันทึก: 162833เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2008 12:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อาจารย์โสภนาครับ

ถูกใจครับเพราะกำลังอ่านเรื่องท่านทหาตม คานธีเหมือนกัน ซึ่งมีหนังสือให้อ่านเยอะ

รวมทั้งของท่านระพินนาถ ถากอร์ซึ่งยิ่งใหญ่มาก

ขอบตุณครับ

เรียน คุณพลเดช ที่เคารพ

       ดิฉันนำเสนอช้าไปเล็กน้อยเพราะช่วงวันดังกล่าวไม่อยู่  แต่เนื่องจากมีข้อมูลที่เตรียมงานสัมมนาพิเศษเกี่ยวกับมหาตมา คานธี วันที่ 4 กพ. 2551 ที่สถาบันฯ จะจัดจึงอยากแบ่งปันข้อมูลให้ท่านผู้อ่านที่ไม่ได้มาร่วมงานได้ทราบ เพราะเชื่อแน่ว่าเยาวชนไทยจำนวนมากรู้จักนักร้องเกาหลี ญี่ปุ่นดีกว่ารู้จักวีรบุรุษของโลกโดยเฉพะท่านที่เป็นชาวเอเชีย อย่างมหาตมา คานธี วิถีชีวิตท่านน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของคนไทยหากได้ศึกษาให้ละเอียดนะคะ

ขอบพระคุณค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท