ไทรเกมส์ กีฬา routine


ประสบการณ์ที่ผ่านมาน่าจะสั่งสอนให้เรารู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ควรรปับปรุงหรือเปลี่ยนแปลง

     หลังจากที่กีฬาประจำสถาบันของเราต้องเลื่อนออกมาครั้งแล้วครั้งเล่า จากเดือนธันวาคม เป็น 9 มกราคม 2551 และ 30 มกราคม 2551 เพื่อร่วมไว้อาลัยการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ยังความเศร้างเสียใจให้กับประชาชนชาวไทยทุกคน ดังนั้นในการแข่งขันกีฬาในครั้งนี้เราจึงมีแนวทางในการดำเนินงานที่เหมาะสมต่อสถานการณ์แห่งความอาลัย

     ผมได้มีโอกาสและมีส่วนร่วมในการเตรียมงานก่อนวันกีฬาจะมาถึง ก็คือในวันที่ 29 มกราคม 2551 เด็ก ๆ ต่างพากันแยกย้ายกันไปเตรียมงานคนละส่วนที่ตนเองรับผิดชอบ  สำหรับคณะบริหารธุรกิจเองในฐานะที่ผมเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาคณะ ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ที่จะให้ความช่วยเหลือในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการให้ความเห็นการอกแบบแสตน์ อาหารการกิน หรือแม้แต่เรื่องการไปยืมของที่วัด ก็ช่วยกันจัดการจนเป็นที่เรียบร้อย  ช่วงเย็นเป็นช่วงที่เด็ก ๆ ช่วยกันจัดแสตนเชียร์ ปีนี้คณะกรรมการได้จัดเตรียมอุปกรณ์ที่เป็นฉากไว้เรียบร้อยแล้ว ก็เหลือแต่การขึ้นโครง การประดับตกแต่งเล็ก ๆ น้อย ๆ เด็ก ๆ ก็มาช่วยเหลือกันประมาณ 10 กว่าคนเห็นจะได้ บางคนก็เห็นหน้ากันเป็นประจำ บางคนก็เป็นเด็กหน้าใหม่  ก้มหน้าก้มตากันเลื่อยไม้ ผูกลวด ตั้งเสา ก็เห็นว่าเสร็จกันหลังเที่ยงคืน พอดีก็ได้ช่วยกันหาอาหารเย็นมาให้ได้ กินตามงบประมาณส่วนตัวที่มีอยู่บ้าง รุ่นพี่ให้มาสมทบกันบ้าง ก็ได้กินข้าวเย็นกันไป

     การแข่งขันกีฬาในวันรุ่งขึ้นก็เป็นเช่นเดียวกันกับทุก ๆ ปี เด็ก ๆ รู้สึกมีควงามกระตือรือล้นกันน้อยมาก อาจเป็นเพราะเด็ก ๆ มีความรู้สึกเกี่ยวข้องกับกิจกรรมในครั้งนี้น้อย ความพยายามในการคัดเลือกกีฬาไทยมาเล่นน่าจะส่งผลที่ดีต่อการจัดกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นเหยียบลูกโป่ง กระโดดเชือกหมู่ กินวิบาก วิ่งผลัดสามขา  ซึ่งมีโอกาสให้อาจารย์มีส่วนร่วมในการเล่นกับนักศึกษาด้วย บรรยากาศเหล่านี้ดึงความสนใจจากเด็ก ๆ ได้ไม่น้อย เด็กที่นั่งเชียร์บนอัฒจันทร์ ต่างลุกลงมาร่วมกืจกรรม บางคนไม่กล้า บางคนไม่เคย ก็ลงมาเล่น ทำให้พวกเขามีความรู้สึกเป็นส่วนร่วม และสนุกสนาน คณะศิลปศาสตร์เป็นคณะที่ผมต้องยกย่องในสปิริต หัวใจอันเข้มแข็ง ความเป็นปึกแผ่นทำให้เด็กในคณะนี้ทำกิจกรรมได้ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าอีกสองคณะที่เหลือ

     สิ่งที่ผมมีความรู้สึกทุกครั้งที่เกิดมีกีฬานี้ขึ้นมาก็คือ การประกวดกองเชียร์ ซึ่งผมไม่ได้รับทราบแม้แต่เกณฑ์ของการตัดสินกองเชียร์ รูปแบบ ซึ่งท้ายที่สุดมันก็เป็นเพียงการวัดกันว่า ใครจะแสดงได้ดีที่สุดในช่วงเวลา prime time ที่มีคนดูเยอะที่สุดดูดีมีสง่า และสนุกที่สุด ก็เท่านั้น ไม่รู้สิผมกำลังคิดว่าการกระทำแบบนี้เป็นการดูถูกผู้เล่นยังไงก็ไม่รู้ แต่ก็ไม่เป็นไรครับ เหนือสิ่งอื่นใดคือน้ำใจที่เด็ก ๆ มีให้ต่อกัน ความผูกพันการรู้จักแพ้ชนะตามหัวใจของการแข่งขันกีฬา มันย่อมเป็นสิ่งที่สำคัญกว่า จริงไหมครับ

หมายเลขบันทึก: 162708เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2008 14:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะอาจารย์

พี่หนิงเห็นชื่อ วิทยาลัยนอร์ท  เลยรีบเข้ามาแจม  อิอิ ในฐานะที่เคยไปพักอาศัยในหอพักของนอร์ท เมื่อไม่นานมานี้  ไปงานรณรงค์ป้องกันโรคเอดส์ในสถานศึกษาค่ะ  ขอบอกว่า คิดถึงน้องๆที่หอพักนอร์ท มากค่ะ  อิอิ เขาพาไปกินส้มตำ หมูน้ำตก  อร่อยมากค่ะ

ตึกศูนย์สุขภาพและกีฬาของนอร์ท  ถ้าแล้วเสร็จนี่  โอเค เลยนะคะ  แสดงให้เห็นว่า  ที่นอร์ทให้ความสำคัญกับกีฬาและสุขภาพมากเลยเนาะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท