ทำอย่างไรกับลูกรักลิตเติ้ลแองเจิล (ตอนที่ ๒)


“อย่าไปสนใจกับพฤติกรรมทางลบ” ตรงนี้สำคัญ อย่าสนใจ ตรงกับหลักทางพุทธว่าเมื่อมีอกุศลเกิดขึ้นให้ดับ คุยเรื่องอื่นแทน ถ้าลูกทำกุศลให้ชม

(ต่อจากตอนที่ ๑)

“อย่าไปสนใจกับพฤติกรรมทางลบ” ตรงนี้สำคัญ  อย่าสนใจ  ตรงกับหลักทางพุทธว่าเมื่อมีอกุศลเกิดขึ้นให้ดับ คุยเรื่องอื่นแทน  ถ้าลูกทำกุศลให้ชม 

อย่าเอาความคิดของหญิง ๓๐ ที่มีเงื่อนไข กติกา เต็มไปหมด  ไปใช้กับเด็กสามขวบ (ฮา)  ใช้ศัพท์ของคนอายุ ๓๐ ไม่มีเด็กที่ไหนเข้าใจ  พยายามจะให้เหตุผลแต่เด็กไม่เข้าใจ  วัยสามขวบเขากำลังพัฒนาด้านกาย กายา (Astral)  เด็กต้องการปะทะอะไรแปลกๆ  อุ้มลูกไปที่แปลกๆ เขาจะฉลาด 

เด็กนอนมากจะสูง  เพราะแคเชี่ยมจะทำงานตอนเด็กหลับ

อย่าผลักลูกเข้าสู่สงคราม  เด็กอกหักได้  ในภาพยนตร์เรื่องนี้ คนพี่อกหักเพราะแม่ไปให้เวลาอยู่แต่กับน้องชายที่ป่วย

เด็กอยากให้แม่สนใจเลยต้องโกหก  เด็กไม่รู้จักโกหกแต่รู้ว่าพูดแบบนี้แล้วแม่หันมา  เลยใช้วิธีนี้  ดังนั้นการจัดการกับเด็กโกหกคือ เวลาเขาโกหกอย่าไปตื่นเต้น  เด็กเรียกร้องความสนใจกับเพื่อนด้วยการเล่าว่าที่บ้านมีฉลาม มีปลาวาฬ  เพื่อนหันกันทั้งห้อง  เลยคิดว่าวิธีนี้ได้ผล

พ่อแม่ต้องแบ่งทีม  พ่อต้องดูแลลูกสาวคนโตด้วย (ในเรื่องนี้ลูกสาวคนโตอายุ ๑๔)  พ่อต้องได้ใจลูกสาวก่อนอายุ ๑๔  เป็นเพื่อนเล่นกับเขาให้ได้  ช้ากว่านั้นเขาจะไม่ใกล้ชิดเราแล้ว  เขาจะมีคนของเขาเอง  ช่วงที่ลูกสาวจะเป็นวัยรุ่น อายุ ๑๓-๑๔ สำคัญมาก  ฟังเพลงของลูกๆ บ้าง

ผู้ปกครอง ถ้าลูกสาว ๘  ขวบกว่า รักพ่อมากกว่าแม่  มีแนวโน้มจะแรดหรือเป็นทอมไหม
อาจารย์วรภัทร์  ไม่หรอก แต่แม่อย่าอิจฉานะ

“เอาความเครียดออกไปจากเวลาอาหาร  ทำอาหารแตกต่างกันไป  วงจรโนนากะ คือ ให้มีประสบการณ์กับสิ่งที่ไม่คุ้นเคย  (คุย คิด คลิก คลำ)  เวลาจะสอนอะไรให้ไปที่ไม่คุ้นเคย กินของแปลกๆ เด็กจะเรียนรู้มากขึ้น   ในภาพยนตร์เรื่องนี้ พ่อลองให้ลูกเข้าครัวทำกับข้าวด้วย  ลูกที่กินยากได้กินแครอทเป็นครั้งแรก  แบบนี้เรียกว่าหลอกล่อ คือสอนแบบ  “เนียน นุ่ม ลึก” เทคนิคพวกนี้จะได้มาจากพ่อแม่ล้อมวงคุยกันบ่อยๆ  แลกเปลี่ยนกัน  หรือเข้าเวบพ่อแม่ต่างๆ”

ในภาพยนตร์เรื่องนี้  นักจิตวิทยาจะคุยปัญหากับพ่อแม่นอกบ้าน  ทำไมไม่คุยในบ้าน  เพราะต้องการดึงออกจากบริบทเบต้า  ที่เคยชิน  มาเจอที่สัปปายะกว่า 

มีวินัยที่ใจ มีสติ  ดีกว่ามีวินัยแต่ภายนอก  ใจนิ่ง ใจสงบสำคัญ

ตัวอย่างเทคนิคเนียนๆ
- พยายามกลับไปเล่นกับลูกที่เรียกร้องความสนใจให้มากขึ้น  ไม่กี่วันพฤติกรรมเขาก็ดีขึ้น 
- ถ้าไปห้างฯ แล้วเด็กลงไปนอนดิ้นเอาของ  อย่าไปสนใจ  ก่อนไปเราต้องให้เด็กเข้าใจเป้าหมายว่าวันนี้มาทำอะไร  จะมามีความสุขร่วมกัน  อย่าไปเป็นตัวทำลายวงความสุข
- Story telling เล่านิทานให้ลูกฟังบนเตียง ขอแนะนำหนังสือนิทานสีขาว ของ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา  นอกจากนิทานนี้แล้ว  ขอแนะนำชาดก ๕๐๐ ชาติของพระพุทธเจ้า  ที่มีการบอกตอนจบว่าใครเป็นใคร  เป็นพระพุทธเจ้า  เป็นพระเทวทัต ฯ 

การจะดึงเบต้ามาอัลฟ่า ต้องอาศัยสัปปายะ ๗ ประการ *
สัปปายะ เป็นภาษาบาลี  ถ้าจะแปลให้เป็นภาษาไทย เปลี่ยน “ป” ให้เป็น “บ”
อย่าให้สถานที่เป็นวัตถุนิยมมากไป  อย่างในห้องนี้พื้นเป็นไม้  แต่ผนังเป็นปูนก็เหมาะกับพวกเราไม่ได้เติบโตมาแบบ natural   เนื่องจากสมาธิพวกเราในห้องนี้ยังสั้นอยู่  อาจารย์เลือกห้องนี้เพราะมีม่าน  ถ้าไปเรียนในป่าเขาริมทะเลจะฟังไม่รู้เรื่องเลย  เพราะยังคุมสมาธิไม่ได้  ปัญหาตอนนี้ไม่ได้อยู่ที่เด็ก  อยู่ที่ผู้ปกครอง สมาธิสั้นเยอะ (ฮา)

------------------------

* “ สัปปายะ ๗ (สิ่งที่เหมาะกัน สิ่งที่เกื้อกูล ช่วยสนับสนุนในการบำเพ็ญภาวนาให้ได้ผลดี ช่วยให้สมาธิตั้งมั่น ไม่เสื่อมถอย — suitable things; things favorable to mental development)

๑. อาวาสสัปปายะ (ที่อยู่ซึ่งเหมาะกัน เช่น ไม่พลุกพล่านจอแจ — suitable abode)

๒. โคจรสัปปายะ (ที่หาอาหาร ที่เที่ยวบิณฑบาตที่เหมาะดี เช่น มีหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีอาหารบริบูรณ์อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลเกินไป — suitable resort)

๓. ภัสสสัปปายะ (การพูดคุยที่เหมาะกัน เช่น พูดคุยเล่าขานกันแต่ในกถาวัตถุ ๑๐ และพูดแต่พอประมาณ — suitable speech)

๔. ปุคคลสัปปายะ (บุคคลที่ถูกกันเหมาะกัน เช่น มีท่านผู้ทรงคุณธรรม ทรงภูมิปัญญาเป็นที่ปรึกษาเหมาะใจ — suitable person)

๕. โภชนสัปปายะ (อาหารที่เหมาะกัน เช่น ถูกกับร่างกาย เกื้อกูลต่อสุขภาพ ฉันไม่ยาก — suitable food)

๖. อุตุสัปปายะ (ดินฟ้าอากาศธรรมชาติแวดล้อมที่เหมาะกัน เช่น ไม่หนาวเกินไป ไม่ร้อนเกินไป เป็นต้น — suitable climate)

๗. อิริยาปถสัปปายะ (อิริยาบถที่เหมาะกัน เช่น บางคนถูกจับจงกรม บางคนถูกกับนั่ง ตลอดจนมีการเคลื่อนไหวที่พอดี — suitable posture)

จาก http://www.dhammathai.org/dhamma/group07.php - ผู้บันทึก)

หมายเลขบันทึก: 162671เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2008 11:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ตามมาเรียนรู้ ทบทวน ตอกย้ำ ซึมซับ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท