ชีวิต งาน และความสุข


คนเกิดมามีชีวิตเพื่ออะไร และจะมีความสุขในชีวิตได้อย่างไร
วันนี้เป็นวันแรก(จัดวันที่ 21-22 ก.พ.49)ครับที่งาน OD ได้จัดหลักสูตรสัมมนาให้แก่ผู้บริหารทุกระดับของวลัยลักษณ์เรา ภายใต้หัวข้อ "จิตวิทยาการบริหาร สู่ความเป็นเลิศของนักบริหาร" ซึ่งวิทยากรที่กรุณามาให้ความรู้กับพวกเรา คือ ท่านอาจารย์ณรงค์ศักดิ์   ตะละภัฏ ซึ่งท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านจิตวิทยาในการทำงานอย่างมาก ที่ผมรู้สึกดีใจมากในฐานะที่เป็นพนักงานคนหนึ่งของวลัยลักษณ์ก็คือ วันนี้มีผู้บริหารมหาวิทยาลัยทุกระดับ รวมทั้งหัวหน้างานต่าง ๆ เข้าร่วมสัมมนาเกือบ 50 คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านอธิการบดีของพวกเรา ท่านได้นั่งฟังด้วยความสนใจ และมีความสูขมากตลอดทั้งวันเลยครับ ผมยังรู้สึกเสียดายที่ผู้บริหารอีกหลายท่านติดภารกิจไม่สามารถเข้าร่วมสัมมนาได้ แต่อย่างไรก็ตาม ผมอยากเรียนว่า งานOD ได้มีการบันทึกเป็น CD ไว้นะครับ หากท่านสนใจสามารถติดต่อขอยืมได้ที่งาน OD นะครับ และจากหัวข้อที่ท่านวิทยากรบรรยาย ท่านได้โยงให้เห็นว่า คนเกิดมามีชีวิตเพื่ออะไร และจะมีความสุขในชีวิตได้อย่างไร งานและเพื่อนร่วมงานของเราช่วยให้เรามีความสุขได้อย่างไร ตลอดจนประเด็นเหล่านี้จะช่วยพัฒนาวลัยลักษณ์ของเราได้อย่างไร ซึ่งผมเองเรียนตามตรงครับ สรุปยังไงก็ไม่เหมือนกับว่า หากพวกเราได้ฟังจากท่านอาจารย์เอง (ลองยืม CD ไปดูนะครับ) แต่ที่แน่ ๆ งาน OD จะจัดอีกรุ่นหนึ่งประมาณเดือนพ.ค.ครับ แต่ที่ผมอยากเชิญชวนพวกเรา โดยเฉพาะพวกเราที่ได้ผ่านกิจกรรม KM ของวลัยลักษณ์ ลองแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันหน่อยดีไหมครับว่า หากชีวิตคนเราจะมีความสุข ก็ต่อเมื่อได้ทำงาน และงานที่จะทำให้ชีวิตมีความสุขก็คืองานที่ทำด้วยใจรัก ใจที่รักงาน มีศักดิ์ศรีและความภูมิใจในงานที่ทำ ก็จะทำให้งานนั้นมีคุณภาพ KM ที่พวกเราได้ร่วมกันทำมีส่วนช่วยหรือเกี่ยวข้องในข้อความนี้อย่างไรบ้างครับ
หมายเลขบันทึก: 16264เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2006 21:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2012 16:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ผมขอยืมด้วยได้ไหมครับ

วิจารณ์ พานิช

ด้วยความยินดีและเต็มใจอย่างยิ่งครับ

    ได้ร่วมอบรมทั้ง 2 วัน แบบไม่อยากลุกหนีไปไหน สนุกได้สาระ ฮาสลับ จริงๆค่ะ ได้หลัก 3 ข้อจาก อ.ณรงค์ศักดิ์ ซึ่งเป็นหลักพื้นฐานที่เรารู้ แต่เราลืมใช้บางขณะ ได้แก่

1. ไม่มีใครชอบคำตำหนิ ทุกคนชอบคำชม สรรเสริญ เยินยอ

2. ไม่มีใครชอบให้ใครมาสอน แต่เราอยากเรียนรู้เอง

3. เมื่อเราตัดสินคนอื่นเช่นไร เขาก็จะตัดสินเราเช่นนั้น

   เป็นความจริงตลอดกาลจริงๆค่ะ ขอแนะนำว่าท่านที่ไม่ได้เข้ารุ่น 1 อย่าพลาดรุ่น 2 เด็ดขาด หากเราได้เข้าอบรมหลักสูตรนี้ทุกคน เราจะได้มีฐานเดี่ยวกัน พูดเรื่องเดียวกัน เข้าใจกัน และรักกันมากๆ

                                                

 

            ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่มีโอกาสได้เข้าอบรมทั้ง ๒ วันแบบเต็มเวลาไม่มีสาย ไม่มีหนี  ความเห็นในเบื้องต้นหลังการได้ "รับรู้" ข้อมูลจากวิทยากร (อ.ณรงค์)ที่ว่า จิตวิทยา คือความรู้ที่จะจัดการความคิด,ความรู้สึกของเราให้เกิดความสุขแก่ตัวเราและผู้อื่นแล้ว คิดว่าน่าจะเป็นแนวคิดเดียวกันกับการทำ KM ในมวล.ที่ "คุณเอื้อ"ของเราเน้นย้ำไว้เสมอว่าเราจะเริ่มต้นที่ "การจัดการความรู้สึก" ตั้งแต่รู้สึกรักและนับถือตัวเอง,รักองค์กร"รักวลัยลักษณ์",และรักและนับถือผู้อื่น ให้เกิดพลังของความเอื้อเฟื้อ(Care)ซึ่งกันและกันจนบรรลุเป้าประสงค์เกิดความรู้สึกเต็มใจที่จะแบ่งปัน(Share) บรรยากาศแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วทั้งองค์กร อันเป็นผลให้เกิดการทำงานที่มีความสุขและก่อให้เกิดผลงานที่มีคุณภาพ (ไม่แน่ใจว่าคิดถูกหรือ?) และได้รับรู้วิธีการจัดการฯไม่ว่าจะเป็นการสร้างความสุขด้วยการปลดปล่อยตัวเองและมีอิสระทางความคิด หรือการกำกับควบคุมตัวเองทั้งความคิด,อารมณ์,ความรู้สึกให้คิด"บวก"ตลอดเวลา  ฟังดูง่ายๆเป็นเรื่องธรรมชาติที่เรารู้ๆกันอยู่ แต่สำหรับตัว ดิฉันแล้วคิดว่าเป็นสิ่งที่ต้องฝีกฝน และแสวงหาวิธีเฉพาะตัวอีกมากที่จะจัดการกับตัวเองให้ได้ ใครมีวิธีดีๆช่วยแนะนำด้วยนะคะ

          สิ่งที่ดิฉันประทับใจคือวิธีการถ่ายทอดของวิทยากร ไม่ใช้การบรรยายแบบสอนให้รับรู้ตาม แต่ใช้วิธีให้เราทุกคนมีส่วนคิดและช่วยกันหาคำตอบที่ดีที่สุด คิดว่าดีมากเพราะทำให้เราจดจำคำตอบต่างๆได้ด้วยความเข้าใจรู้ที่มา ต่างจากการท่องจำตามที่"ครู"บอกไม่นานก็ลืม น่าจะนำไปใช้ในสถานการณ์อื่นตามความเหมาะสมของ สถานที่,เวลา และบุคคล  นอกจากได้ความสุข และสาระแล้วบรรยากาศยังเต็มไปด้วยเสียงหัวเราะสลับกับความตื่นเต้นของเราที่ไม่รู้ว่า"ไมค์"จะมาถีงเราตอนไหน?แต่ก็ไม่มีคนหนี

         สิ่งที่รับรู้แล้วทำให้แปลกใจคือ ความหมายของคำว่า"ศักยภาพ" ที่ว่าคนเรามีความสามารถเท่ากัน ๑๐๐%แต่เราสามารถใช้จริงในชีวิตเพียง ๑๕% ไม่รู้หายไปไหน๘๕% หากเราสามารถดึงความสามารถของเรามาใช้เพิ่มอีก๑๐%เราก็จะเป็นอัจฉริยะ  แท้จริงหายไปกับนิสัยและพฤติกรรมที่เคยชินของเราคือ ๑ การคิดถึงตนเองและผู้อื่นในทางลบ  ๒ชอบคิดเอาเอง คิดแทนคนอื่น  ๓ชอบโทษ และโยนความผิดให้คนอื่น  และ๔คิดและทำด้วยอารมณ์ชั่ววูบ  นี่เป็นความจริงหรือ? ถ้าจริงใครช่วยหาวิธีทำให้ความสามารถของเรากลับมาด้วย

ศิริมาศ เลือดกาญจนา
      จากการบอกเล่าของวิทยากรที่ว่า "หากเราเกรงใจลูกน้อง ลูกน้องก็จะเกรงเรา หากเราข่มลูกน้อง ลูกน้องก็จะเกลียดเรา" เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งค่ะ เพราะเราเคยเกลียดหัวหน้าที่ใช้อำนาจข่มขู่ สั่งการโดยไม่มีเหตุผล เราจำใจต้องทำงานให้ก็จริงแต่เราไม่เต็มใจ คิดแค้น น้อยใจ ไม่รักนายคนนี้เลย อยากหนีไปให้พ้น แต่สำหรับนายที่ใช้งานเราด้วยความสุภาพ ดูเกรงอกเกรงใจ กลับทำให้เราต้องการทำงานให้อย่างเต็มที่ รักนาย และต้องการให้นายใช้งานเราได้โดยไม่ต้องเกรงใจ นายก็ไม่ต้องมาเลี้ยงปีใหม่ลดโทษด้วยค่ะ
ศิวฉัตร ตันทวีวงศ์

เสียดายจังเลยไม่ได้เข้าร่วมรับฟังด้วย  นอกจากบันทึกไว้ในแผ่น CD แล้ว  มีบันทึกในรูปแบบ VCD บ้างหรือเปล่าค่ะอยากฟังเสียงหัวเราะของบรรยากาศที่ตื่นเต้น  สดใส  ชนิด "ไมค์"มาไม่รู้ตัว........(จากข้อคิดเห็นของพี่จินตนา  ศิริวัฒนโชค)

จินตนา ศิริวัฒนโชค
       ทราบว่าทีม OD จะจัดหลักสูตรนี้ให้ทุกคน รุ่นต่อไปเมื่อไร?น้อง"ศิวฉัตร"อย่าลืมติดตามนะ เล่าอย่างไรก็ไม่เหมือนได้นั่งใจเต้นเอง กรุงเทพฯไม่ใช่อุปสรรคจริงไหม?  ไม่เชื่อถามท่านคณบดีสำนักวิศวะฯ(ดร.วัฒนพงศ์),คุณเจริญ(ศคว.),คุณอารี(ต้อย,พัสดุ)หรือคุณบรรจงวิทย์(อู๊ด) และฯลฯดู
ศิวฉัตร ตันทวีวงศ์

ขอบคุณมากค่ะพี่ติ๋ม  แล้วจะลองติดต่อดู...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท