ศิษย์เป็นครู


เป็นบทสนทนาที่ทำให้ดิฉันสะท้อนกลับมาคิดถึงการสอนของตนเอง และต้องขอบคุณที่เขาเป็นครู ให้บทเรียนให้ดิฉันได้เรียนรู้ ทั้งเรื่องการจัดการเรียนการสอน และเข้าใจองค์ประกอบของ Health Counseling ชัดเจนขึ้น
    เป็นอีกบทเรียนหนึ่งที่ทำให้เราได้เรียนรู้ เรื่องการสอนนักศึกษาพยาบาลให้เข้าใจ Process ของ Health counseling  บทเรียนนี้เกิดขึ้น เมื่อวันหนึ่งเราหยิบงานที่ให้นักศึกษาทำรายงานการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ กับกรณีศึกษารายหนึ่ง  แล้วให้เขาบันทึกบทสนทนา(Interaction) ระหว่างตัวเขากับ case เป้าหมายก็คือ จะเน้นเรื่องการใช้เทคนิคการสนทนา  อยากรู้ว่าเวลาที่นักศึกษาพูดคุยกับ case เขารู้ไหมว่าเขาควรใช้เทคนิคการสนทนาใดจึงจะทำให้ case ค้นหา เข้าใจ  รับรู้และเลือกแนวทางการแก้ปัญหาของตัวเองได้ ระหว่างนั่งอ่านบันทึกของนักศึกษา เราต้องชนตอเข้าอย่างจังว่า เรื่องที่คิดจะสอนมันแทบไม่เกิดประโยชน์อะไรกับนักศึกษาเลย ซ้ำยังสร้างทุกข์ให้ทั้งนักศึกษาและ case  เพราะในบทสนทนานั้นมันสะท้อนให้เราเห็นว่า ระหว่างการสนทนานักศึกษาน่าจะไม่ทันทำความเข้าใจกับสิ่งที่ case แสดงออก เช่น การมองหน้านักศึกษาเมื่อนักศึกษากระตุ้นให้ลุกขึ้นยืน ทั้งๆที่บอกกับนักศึกษาแล้วว่าเจ็บและเสียวที่เท้ามากเวลาลุกขึ้นยืน เพราะนักศึกษาคงมัวแต่กังวลว่า  เมื่อ case ตอบมาแบบนี้แล้ว  ควรจะใช้เทคนิคอะไรต่อไป แล้วเทคนิคที่ว่านั้นจะต้องพูดหรือแสดงท่าทางอย่างไร  และที่สำคัญนักศึกษาจะทันคิดหรือไม่ว่า แม้การที่ตนเองปราถนาดีอยากให้ข้อมูลกับ case  ด้วยการตรวจขาและเท้า เพื่อยืนยันกับเขาว่าขาและเท้าของ case ปกติดีนั้น   case คิดอย่างไรจึงเงียบและไม่พูดอะไร  case จะคิดหรือไม่ว่า เขากำลังถูกตรวจสอบและโดนตำหนิ   นี่เป็นบทสนทนาบางส่วนที่นักศึกษาพยายามกระตุ้นให้ case ลุกเดิน  และที่สำคัญ เป็นบทสนทนาที่ทำให้เราต้องสะท้อนกลับมาคิดถึงการสอนของตัวเอง   และต้องขอบคุณที่เขาเป็นครู  ให้บทเรียนให้เราได้เรียนรู้ ทั้งเรื่องการจัดการเรียนการสอน และเข้าใจองค์ประกอบของ Health Counseling ชัดเจนขึ้น  ทำให้เราเกิดการเรียนรู้ว่า หากจะสอน Heath counseling ต้องให้ความสำคัญทั้งเรื่องการสื่อสารและเทคนิคการสนทนา แต่ต้องชั่งน้ำหนักให้เหมาะสมว่าควรจะให้น้ำหนักกับทั้งสองเรื่องอย่างไรจึงจะพอดี  บทสนทนานี้ทำให้เราเรียนรู้ว่า ก่อนจะให้คำปรึกษาได้ ต้องทำความเข้าใจกับข้อมูลที่ได้รับเสียก่อนว่าเขาคิดและต้องการบอกอะไรกับเรา และก่อนที่จะส่งข้อมูลใดกลับไปให้เขา ก็ต้องคิดก่อนว่าเราควรจะส่งข้อมูลกลับไปอย่างไร  จึงจะทำให้ผู้รับสารรับรู้และเข้าใจความคิดและความต้องการของเรา  เทคนิคการสนทนาอาจเป็นเพียงองค์ประกอบส่วนหนึ่งของการให้คำปรึกษา มิใช่หัวใจสำคัญที่ครูต้องเทน้ำหนักให้ความสำคัญมากจนลืมคิดถึงเรื่องอื่นๆ     

       ลองอ่านบทสนทนานี้ดูนะคะนักศึกษา :  ไหนยาย ลองลุกนั่งซิ (กระตุ้นให้ทำกิจกรรม)

Case ได้ยินก็พยายามลุกขึ้นช้า ๆ บ่นว่าเจ็บไปหมด ปวดต้นคอ แต่ก็ลุกขึ้น

นักศึกษา :  เก่งจัง คุณยาย ลุกนั่งได้เอง (กล่าวชม) ไหนลองลุกยืนซิ (กระตุ้นให้ทำกิจกรรมต่อ)

Case มองหน้านักศึกษา

นักศึกษา :    ไหวไหมถ้าไม่ไหวเดี๋ยวจะช่วยประคองนะ นะลองดูนะ  นักศึกษาพยายามกระตุ้น    

Case ทำท่าจะลุกยืน แขนทั้งสองข้างเกาะนักศึกษา แต่พอยกสะโพกขึ้นมา ขณะที่เท้ายันพื้นอยู่ case ก็ร้อง และบอกว่า เจ็บ เสียวเท้ามาก ขอทำเท่านี้ก่อน แล้วก็นั่งลงไปที่เตียงนอน

นักศึกษา :  คุณยายรู้สึกอย่างไรบ้างตอนยืนเมื่อกี้นี้ (Close Question)

Case:  เจ็บ แล้วก็เสียวที่เท้ามาก ปวดมาถึงเอวเลย

นักศึกษาจึงตรวจดูว่า Case มีอะไรผิดปกติหรือไม่ (ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม) เมื่อตรวจพบว่าปกติจึงบอกกับ case ว่า   จากที่ตรวจร่างกายคุณยายก็ปกตินะคะ (ให้ข้อมูล)

Caseเงียบไม่พูด  

นักศึกษา :  ไหนลองลุกยืนอีกทีหนึ่งนะคะ คราวนี้จะให้หลานช่วยพยุงด้วยอีกคนหนึ่ง คุณยายจะได้ไม่ต้องกลัวล้ม (กระตุ้นให้ทำกิจกรรมต่อ)

หมายเลขบันทึก: 162617เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2008 01:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 17:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
แลกเปลี่ยนประสบการณ์

ได้อ่านแล้วรู้สึก.. นศ.ก็ยังเป็น นศ.มุ่งเน้นวิชา อยากทำได้ตาม ทฤษฎีที่เรียนมา ที่ อ.สอนมาแต่ยังนึกถึงจิตใจ ความรู้สึกของ case ค่อนข้างน้อย ยังไม่มุ่งเน้นที่ผู้รับบริการ หรือ Pt.เป็นศูนย์กลาง

เมื่อเราย้อนกลับมาดูตัวเราเอง หรือตัว อ.นกเองสมัยเป็น นศ.พยาบาล เป็นอย่างนี้บ้างรึเปล่าน๊า บางทีเราอาจไม่รู้ตัวแต่นึกแล้วก็ขำดี อ.ของเราสมัยที่สอนเราก็คงคิดไม่ต่างจานี้มั๊ง แต่ประสบการณ์หลังจากเรียนจบแล้วมาทำงานก็จะค่อยๆสอนตัวเราเอง ให้ยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง การเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุดทั้งวิชาการ ประสบการณ์ คนรอบข้าง ฯลฯ

แต่ตอนนี้เมื่อเรารู้ก่อนก็สามารถสอน นศ.ก่อนได้ บางครั้งกว่าจะรอให้ประสบการณ์สอนเค้าก็ไม่รู้ว่าต้องรออีกนานเพียงไรเนอะ

ตัวคนนี้เองจบพยาบาลมาเช่นกัน ไม่ได้เป็นอาจารย์ เป็นเพียง อ.พี่เลี้ยงมี นศ.จากแหล่งฝึกต่างๆมาฝึกงานทั้ง ทันตฯ สาสุขศาสตร์ ฯลฯ มาฝึกที่ รพ.ทั้งคลีนิกบริการและลงชุมชน งานอีกอย่างที่ละเอียดอ่อนมากที่ดูแลอยู่ก็คือดูแลหญิงตั้งครรภ์-หลังคลอดและครอบครัวที่ติดเชื้อ HIV ต้องใช้เทคนิค Csg.และการใส่ใจคู่สนทนาเป็นอย่างมากที่สำคัญการได้รับความไว้วางใจจากผู้รับบริการกลุ่มนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก

*-* เป็นกำลังใจให้พี่นกนะคะ *-*

แลกเปลี่ยนประสบการณ์

ได้อ่านแล้วรู้สึก.. นศ.ก็ยังเป็น นศ.มุ่งเน้นวิชา อยากทำได้ตาม ทฤษฎีที่เรียนมา ที่ อ.สอนมาแต่ยังนึกถึงจิตใจ ความรู้สึกของ case ค่อนข้างน้อย ยังไม่มุ่งเน้นที่ผู้รับบริการ หรือ Pt.เป็นศูนย์กลาง

เมื่อเราย้อนกลับมาดูตัวเราเอง หรือตัว อ.นกเองสมัยเป็น นศ.พยาบาล เป็นอย่างนี้บ้างรึเปล่าน๊า บางทีเราอาจไม่รู้ตัวแต่นึกแล้วก็ขำดี อ.ของเราสมัยที่สอนเราก็คงคิดไม่ต่างจานี้มั๊ง แต่ประสบการณ์หลังจากเรียนจบแล้วมาทำงานก็จะค่อยๆสอนตัวเราเอง ให้ยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง การเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุดทั้งวิชาการ ประสบการณ์ คนรอบข้าง ฯลฯ

แต่ตอนนี้เมื่อเรารู้ก่อนก็สามารถสอน นศ.ก่อนได้ บางครั้งกว่าจะรอให้ประสบการณ์สอนเค้าก็ไม่รู้ว่าต้องรออีกนานเพียงไรเนอะ

ตัวคนนี้เองจบพยาบาลมาเช่นกัน ไม่ได้เป็นอาจารย์ เป็นเพียง อ.พี่เลี้ยงมี นศ.จากแหล่งฝึกต่างๆมาฝึกงานทั้ง ทันตฯ สาสุขศาสตร์ ฯลฯ มาฝึกที่ รพ.ทั้งคลีนิกบริการและลงชุมชน งานอีกอย่างที่ละเอียดอ่อนมากที่ดูแลอยู่ก็คือดูแลหญิงตั้งครรภ์-หลังคลอดและครอบครัวที่ติดเชื้อ HIV ต้องใช้เทคนิค Csg.และการใส่ใจคู่สนทนาเป็นอย่างมากที่สำคัญการได้รับความไว้วางใจจากผู้รับบริการกลุ่มนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก

*-* เป็นกำลังใจให้พี่นกนะคะ *-*

[email protected]

  • สวัสดีค่ะ อาจารย์ วันนี้อยู่ดี ๆ ก็อยากเจอเพื่อนในบล็อกค่ะ บันทึกคำว่าพยาบาล สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์ เลยพบอาจารย์หลายคนเชียว
  • อ่านบันทึกนี้เป็นบันทึกที่สอง ต่อจากอาจารย์ท็อป วิชากฎหมาย เหมือนฝึกแบบไม่เสียค่าลงทะเบียนค่ะ :)
  • ได้ประโยชน์มากค่ะ เพราะตอนนี้เป็นวิทยากรมือใหม่ กำลังจะจัดประชุมกลุ่ม ลปรร เพื่อประเมินการอบรมฟื้นฟูทักษะการให้การปรึกษาก่อนการตรวจวินิจฉัยโรค ที่บรรดาผู้เข้าอบรมเป็นพยาบาลแบบเขี้ยว ๆ กับวิทยากรทั้งนั้นเลยค่ะ
  • อ่านบันทึกของ นศ. แล้ว นึกถึง "สติมาปัญญาเกิด สติเตลิดเลยไม่เกิดปัญญา" ค่ะ
  • หนูสงสัยว่าน้องจะรีบทำงานตามสั่ง ประมาณจานด่วน เลยลืมว่า "เจ็บ" เป็นความรู้สึก จับต้องและตรวจไม่ได้ว่า เจ็บมีลักษณะอย่างไร
  • โชคดีนะคะที่ คนไทย เป็นคนใจดี เจ็บก็ทนประมาณนั้นรึเปล่าคะอาจารย์
  • จะคอยติดตามอ่านนะคะ เคารพรักค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท