นาง
ผศ.ดร. / นาง นางจุฑารัตน์ สถิรปัญญา

เริ่มฝึกฝนกระบวนท่าจากสำนัก IOCS


ถึงเวลาเผชิญโลกแห่งความเป็นจริง

หลังจากได้เข้ารับการเรียนรู้ในช่วงแรก 9 คืน 10 วัน ของหลักสูตร IOCS รุ่นที่ 1 และกลับมายังเคหสถานเดิม (ที่ทำงานของเรา) ก็ได้รู้ว่า ชีวิตแห่งความเป็นจริงได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว

   วันที่ 29 มกราคม 2551 ท่านรองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและยุทธศาสตร์การพัฒนา (อ.ดร.วัลลภา คชภักดี) ได้ประชุมทีมผู้เข้าอบรม และบุคลากรสำนักยุทธศาสตร์การพัฒนา โดยให้ผู้เข้าอบรมเล่าเรื่อง และสรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการเรียนรู้  และร่วมวางแผนและแนวทางการทำงานเพื่อพัฒนาองค์กรต่อ เรียกได้ว่า ตีเหล็กตอนที่กำลังร้อนได้ดีทีเดียว

   น้องแม๊ก (นันทกิตติ) เป็นผู้เล่าเรื่องราว กระบวนการให้เพื่อนๆ สำนักยุทธศาสตร์ฟังกัน และ อ.ดร.วัลลภาได้ให้ข้อเสนอแนะ ร่วมกันวางแผนการทำงานในลำดับต่อไป

  เรากำลังเริ่มทำสิ่งดีๆ ในรั้วมหาวิทยาลัยทักษิณ และด้วยความหวังลึกๆ ของตัวเอง เราก็อยากเห็นความสำเร็จของการเป็นองค์กรที่รู้จัก รัก และพัฒนาตัวเอง ต่อไป

หมายเลขบันทึก: 162389เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2008 23:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย นะครับผม เช่น ความดี กำลังใจคือการต่อสู้ครับผม

สู้ๆคะ หนูเชื่อว่าอาจารย์กำลังทำสิ่งดีๆคะ

หนูกลับมางานเพียบเลย อยู่บนโลกแห่งความจริงเหมือนกันคะ

ปล.ผอมจริงๆด้วย อย่างที่เคยบอกหนูไว้เลย สวยๆคะ

สู้ๆๆๆๆ ค่ะ แค่พี่กลับไปเริ่ม ลอยก็เชื่อว่ามันต้องสำเร็จค่ะ

การเผชิญกับ ก้าวย่างสู่การพัฒนาองค์กร

     ทีมงานของเรา (นำโดย รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและยุทธศาสตร์การพัฒนา) สมาชิก IOCS ม.ทักษิณ ได้เริ่มปฏิบัติการขยับเขยื่อน หลังจากที่ได้ประชุม และเลือกเอาเวทีการพัฒนาแผน KM ปี 50 ของหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย ภายใต้ชื่อ KM Miniworkshop การพัฒนาองค์กรอย่างมีความสุข โดยน้องแม๊กเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงหลัก และมีพี่บ่าว (ผศ.ดร.สุรศักดิ์ คชภักดี)เป็นที่ปรึกษาและคอยดูแลให้ทั้งกระบวนการและกิจกรรมเป็นไปตามวัตถุประสงค์

     สำนักวิทยบริการ วิทยาเขตุพัทลุง เป็นสถานที่รวมใจในกิจกรรม 1 วัน รูปแบบแปลกไปจากทุกครั้งที่เราจะเข้าห้อง ฟังบรรยาย แต่ครั้งนี้ไม่ใช่ เป็นแบบสบายๆ เริ่มด้วยเรื่องเล่าความประทับใจ และกิจกรรมการชื่นชม บ่ายเป็นการเรียนรู้ประสบการณ์ KM ของหน่วยงานต่างๆ จาก VCD และ เอกสาร

   ถึงแม้จะไม่ได้แผน KM ที่สำเร็จรูปกลับไป แต่เชื่อมั่นว่า ได้เกิดประกายในดวงใจของชาวชุมชน KM ม.ทักษิณ และที่สำคัญ workshop นี้ แฟนคลับล้นหลาม เกือบ 80 คน เราได้ผู้ร่วมขับเคลื่อน องค์กรจิ๋วแต่แจ๋ว ดังคำที่ รองฯ.วัลลภา ได้กล่าวไว้ และนี่คือ อีกก้าวย่างหนึ่งของการทำงานโดยทีมประชาคม ม.ทักษิณ

อีกกิจกรรมหนึ่งที่ขยับไปกับองค์กร "การพัฒนาขีดความสามารถสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ"

   การพัฒนาองค์กรสุ่การเป็นองค์กรสร้างเสริมสุขภาพไปพร้อมๆ กับมหาวิทยาลัยน้องพี่ 7 แห่ง คือ ม. แม่โจ้ ม.สารคาม ม.นเรศวร ม.บูรพา ม.ฟาร์อิสเทอร์น ม.ราชมงคลล้านนา และ ม.ทักษิณ ในช่วงระยะเวลา 1 ปี ในขณะนี้ ส่วนของม.ทักษิณ คณะกรรมการใน 7 ประเด็นปัญหา (อุบัติเหตุ การออกกำลังกาย อาหาร แอลกอฮอล์ บุหรี่ เพศสัมพันธ์ และสุขภาพจิต) กำลังเร่งการดำเนินงาน อุปสรรคต้องมีแน่ แต่เราจะยังไม่ขอยอมแพ้ก่อน  ต้องลองก่อน

   ภารกิจครั้งนี้ต้องขอบคุณ ผศ.ดร.อุษา อ้นทอง รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สำนักคอมพิวเตอร์ และทีมงานทุกๆ ท่าน เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2551 ประชุม teleconference ระหว่างวิทยาเขตุสงขลาและพัทลุง คงเป็นการประชุมที่มีสมาชิกเข้ามากที่สุดเท่าที่ตัวเองพบมานะ เพราะห้องประชุม 3 ล้นห้อง ที่นั่งไม่พอ คุณนงลักษณ์ (ประชาสัมพันธ์ ม.)ต้องขอฟังเฉพาะเสียงอยู่ข้างๆ ทางพัทลุง มีข้าวยำในภาชนะที่เรียกว่า พรก (กะลา) อร่อยและได้สุขภาพจริงๆ

   การขับเคลื่อนการทำงานทุกอย่างต้องอาศัยทีมงานและพันธมิตรจริงๆ เหมือนกับที่เราได้เรียนรู้มาจากบทเรียน IOCS พันธมิตรกลุ่มนี้จะเป็นเพื่อนร่วมทางเดินอีกทีมหนึ่งที่จะนำพาองค์กรของเราไปสู่สิ่งที่ดี

   ไม่ว่าพรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร การทำงานที่เปี่ยมไปด้วยความสุข และมิตรภาพ กับทีมงานที่อยากเรียกว่า ทีมงานจิตอาสา ทั้งอาจารย์อาวุโส อาจารย์รุ่นพี่ เพื่อน และน้อง

   ขอบคุณผู้ใหญ่ใจดี รองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ ผศ.ดร.สมภพ อินทสุวรรณ นำทีม วข.พัทลุง และ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและยุทธศาสตร์การพัฒนา อ.ดร.วัลลภา คชภักดี นำทีม วข.พัทลุง เครือข่ายของเราเชื่อมโยงด้วยใจที่ดี จิตที่ขันอาสา นำพามหาวิทยาลัยไปสู่สิ่งที่ดีขึ้นเสมอ

 

  

 

ตาม แบบไม่ต้องติด แต่สนิท กว่า ติดและตาม

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อติดตามผลจากการดำเนินงานในโครงการ IOCS ครั้งที่ 1

หลังจากที่ได้เข้ารับการเรียนรู้ในโครงการ IOCS เมื่อสองเดือนที่ผ่านมา แล้วกลับไปเริ่มกิจกรรมในหน่วยงานของตนเอง พวกเราน้องพี่รุ่น 1 สคส.ได้จัดกิจกรรมเพื่อให้พวกเราได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และวางแผนเพื่อดำเนินงานในขั้นต่อไป

สาระหลักๆ คือการปรับแผนที่ได้จัดวางไว้ และวิธีการติดตามการดำเนินงานระหว่าง สคส.และหน่วยงาน แต่กระบวนการที่ได้จัดวางไว้ ใน 3 วัน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และทบทวนแผน เป็นวิธีการที่น่าสนใจทีเดียว

การเล่าเรื่องจากโจทย์เพียง 2 ข้อ คือ หัวข้อเรื่อง ชาวนากับงูเห่า โดยบางคนอาจจะได้เล่าที่ทำให้คนฟังรู้สึกสนุก บางคนก็จะถูกมอบโจทย์ให้เล่าเพื่อให้คนฟังรู้สึกเศร้า เป็นอะไรที่ทำให้เรารู้ว่า เราต้องเรียนรู้ความเป็นจริงแห่งชีวิตที่มีทั้งสุขและทุกข์ แต่ที่สำคัญคือ เราน่าจะบอกกับตัวเอง และทำให้ตัวเองเป็นสุขแบเรียบง่ายได้ให้มากที่สุด เพราะนั่น จะทำให้สมองเราแจ่มใส คิดอะไรที่บรรเจิด และมีพลังที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป

การรายงานผลการดำเนินงานด้วย Role Play เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ทีมงานมอบเป็นโจทย์ที่สอง น่าทึ่งมาก บางทีละครที่เราดู ชม สามารถสื่อ ความคิด และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินชีวิต แต่ที่สำคัญที่ Role-play ให้กับทั้งผู้เล่นและผู้ชม คือให้ทั้งความรู้สึก และเป็นการรวบรวมความคิดหลักของผู้ที่ได้ลงมือปฏิบัติมาแล้ว ที่สำคัญไปยิ่งกว่านั้นคือ การสะท้อนมุมมองจากเพื่อนผู้ร่วมชม เป็นการช่วยกันเติมเต็ม และมองในมุมบวก แบบเพิ่มพลังแห่งใจจริงๆ

โปรแกรม 3 วันนี้ ไม่ได้มีเฉพาะบรรยากาศเฉพาะในห้องเรียนเท่านั้ง แหล่งเรียนรู้ของเรามีทั้งตลาดน้ำ การล่องเรือชมแสงหิ่งห้อย และอื่นๆ อีกมากมาย แม้จะเป็นเพียงช่วง 3 วัน แต่เป็น 3 วันที่มีทั้งสาระ และคุณค่า ผู้ร่วมโครงการทุกคนรู้สึกสดชื่น และเป็นสุขโดยถ้วนหน้ากัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท