การบริหารจัดการโรงเรียนโดยใช้ Balance Score Card (BSC)


Balance Score Card (BSC)

การบริหารจัดการโรงเรียนโดยใช้ Balance Score Card (BSC)
                    Balance Score Card เป็นระบบการบริหารการศึกษาที่จะช่วยให้โรงเรียนสามารถสร้างและพัฒนางานได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งมีหลักการง่ายๆ ดังนี้ 
                   1. ความหมาย Balance Score Card (BSC) หมายถึง เครื่องมือการบริหารที่ใช้
ในการพัฒนางาน โดยเชื่อว่า ความสมดุลย์ ระหว่างตัวป้อน
Input ได้แก่ 4 m  ผลผลิต
Output ได้แก่ Target ของงานที่มีความเหมาะสม  จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน ดังแผนภูมิ
                                                                                                          
Input                                                                                               Output  

 

-   คน                                                                                            TARGET
-   เงิน                                     ประสิทธิภาพ                            -   นักเรียนดูดี
-   การบริหารการจัดการ                                                         -   โรงเรียนดูดี           
-  
พัสดุ                                                                                    -    ครูดูดี             
โดยเราเชื่อว่า   เป้าหมายที่เกิดจากคน
                       
-      คนมี                                             ทำงานเป็นผู้กำหนด
                       
-          เงินมี                                              ขึ้นเองอย่างพอดีบน
                       
-          การบริหารจัดการดี                       พื้นฐานของตัวป้อน
                        
-          วัสดุพร้อมใช้                                 จะทำให้เกิดประสิทธิภาพ 
BSC : Balance Score Card            
                       
ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้           
                     
ขั้นที่  1    ขั้นศึกษารายละเอียดของงานที่ตนเองรับผิดชอบ โดยการจัดทำ
SWOT โดยใช้แผนภูมิ  อิชิกาว่า เพื่อให้ทราบข้อมูลที่เป็นจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและจุดวิกฤติ
                    
ขั้นที่  2   กำหนดวิสัยทัศน์ พร้อมทั้งเป้าหมายของการทำงาน (เป็นสิ่งที่ผู้ทำงาน
คาดหวัง)
                     
ขั้นที่  3   กำหนดกลยุทธ์           
                    
ขั้นที่  4   วางแผนการจัดกิจกรรมตามกลยุทธ์นั้นๆ
           
                    
ขั้นที่  5   ลงมือปฏิบัติกิจกรรม
                    
ขั้นที่   ตรวจสอบข้อมูล ปรับปรุงแก้ไข
                    
ขั้นที่  7  ประเมินผลและวัดผล สรุป รายงาน  
แผนการจัดกิจกรรม     เพื่อนำไปสู่ภารกิจหลัก
                    
1.       จัดประชุมครูและบุคลากร เพื่อสร้างความเข้าใจ พร้อมทั้งขอความเห็นชอบ ในกรอบความคิดที่จะพัฒนาโรงเรียนให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์
                    
2.       กำหนดให้โรงเรียนจัดทำพันธสัญญาในระดับต่างๆ ตามภารกิจหลักดังนี้
                           
2.1  ระดับกลุ่มสาระ ครู หัวหน้ากลุ่มสาระ
                          
2.2  ระดับฝ่าย เจ้าหน้าที่ฝ่าย รองผู้อำนวยการ
                           2.3  ระดับโรงเรียน หัวหน้าหน่วยงานย่อย ผู้อำนวยการ
                          
2.4  ระดับภาคี หัวหน้ากลุ่มสาระ + รองผู้อำนวยการ + ผู้อำนวยการ   ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา + นายกสมาคม
                    
3.       จัดทำแผนงานระยะสั้น (รายภาค) โดยใช้ภารกิจหลักเป็นเป้าหมายของการทำงาน
                     
4.       จัดตั้งกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และปรับปรุงวิธีการทำงาน
                    
5.       จัดตั้งกรรมการประเมินผล วัดผล สรุปผล และรายงานสู่สาธารณชนและหน่วยเหนือ 
บทบาทหน้าที่ของบุคลากรตามกรอบความเชื่อที่ใช้ในการบริหารจัดการ
 
                   
-       ทีมบริหารโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียนและรองผู้อำนวยการโรงเรียน มีหน้าที่ อำนวยความสะดวก เสนอแนะ การสนับสนุน การตรวจสอบ การวัดผลประเมินผล การให้กำลังใจ การให้คำปรึกษาหารือ
                     
-         ครู อาจารย์ คือผู้ปฏิบัติงาน โดยเฉพาะการใช้หลักสูตรให้บรรลุเป้าหมาย การเป็นเจ้าภาพและรับผิดชอบนักเรียนทุกคนให้เป็นผู้ดูดี



หมายเลขบันทึก: 162356เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2008 19:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 09:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท