มารู้จักกับระบบควบคุมการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียนชุมชนบ้านพุดหงกันเถอะ


ขั้นตอนการใช้ห้องควบคุม

ขั้นตอนการใช้ห้องควบคุมการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม

 

  1. ศึกษาแผนผังระบบควบคุมทั้งหมดของห้อง
  2. ตรวจสอบการทำงานของเครื่องควบคุมเวลาในการทำงานของอุปกรณ์อย่างละเอียด ว่าทำงานตรงตามเวลาของนาฬิกาหรือไม่ ถ้าตรงตามเวลาก็ปล่อยให้ทำงานต่อไป แต่ถ้าไม่ตรงเวลาก็สามารถดำเนินการตั้งเวลาใหม่โดยหมุนหน้าปัดเวลาให้ตรงกับเวลาที่เป็นจริงขณะนั้น
  3. ตรวจสอบแผงไฟที่ตัวควบคุมเวลาเสียบอยู่ว่ามีไฟสีแดงขึ้นหรือไม่ถ้าไม่ก็กดสวิทให้ไฟสีแดงขึ้นเพื่อให้เครื่องตั้งเวลาทำงาน
  4. ตรวจสอบคัดเอาท์(Cut Out) ว่ายกขึ้นหรือยังถ้ายังให้ยกคัดเอาท์(Cut Out)ขึ้น
  5. เมื่อถึงเวลา 08.00 น. เครื่องจะทำงานโดยอัตโนมัติทุกเครื่อง โดยสังเกตจากที่หน้าปัดของเครื่องจะขึ้นไฟแสดงสถานะการทำงานของรับสัญญาณดาวเทียมไว้
  6. กรณีที่เครื่องหนึ่งเครื่องใดไม่มีไฟแสดงสถานะการทำงาน แสดงว่าไฟไม่เข้าก็ให้สำรวจว่าปลั๊กไฟหลวมหรือไม่(ห้ามใช้รีโหมดเด็ดขาดเพราะจะทำให้เครื่องอื่นๆเปลี่ยนตามรีโหมดไปด้วย) ถ้ายังไม่ติดอีกให้ถอดออกเพื่อส่งซ่อม แต่ถ้าไฟติดแต่ไม่มีสัญญาณก็ให้ตรวจสอบด้านหลังเครื่องว่าสายที่ต่ออยู่มีส่วนไหนหลุดหรือหลวมบ้าง ถ้าทุกอย่างปกติแต่ไม่มีสัญญาณภาพให้ส่งซ่อม
  7. เมื่อเครื่องทุกเครื่องทำงานเป็นปกติก็ตรวจสอบการทำงานของภาพแต่ละช่องโดยเริ่มที่ช่อง 10 หน้าเครื่องทีวี ซึ่งจะเป็นของชั้น ป.1 ช่องที่ 11 เป็นของชั้น ป.2 ช่องที่ 12 เป็นของชั้น ป.3 ช่องที่ 13 เป็นของชั้น ป.4 ช่องที่ 14 เป็นของชั้น ป.5 ช่องที่ 15 เป็นของชั้น ป.6 ช่องที่ 16 เป็นรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา (ETV) ช่องที่ 17 เป็นรายการถ่ายทอดสด(การอ่านข่าว,การประชุมครูและนักเรียน)/รายการจาก วีซีดี/รายการจากวีดีโอ ช่องที่ 18 เป็นรายการทั่วไปจากหลายๆช่อง ช่องที่ 19 เป็นช่องเกี่ยวกับจริยธรรมและข่าว
  8. ในกรณีที่เครื่องใดเครื่องหนึ่งเกิดไม่ติดขึ้นมา ห้ามใช้รีโหมดโดยเด็ดขาดเพราะจะทำให้เครื่องอื่นๆเปลี่ยนแปลงไปตามรีโหมดที่ทำงาน ให้สำรวจเครื่องดูว่าปลั๊กที่เสียบหลวมหรือเปล่ากรณีที่ทดสอบแล้วยังไม่ติดก็ส่งให้ช่างดำเนินการซ่อมต่อไป ถ้าเครื่องทำงานแต่ช่องที่ปรากฏไม่ตรงกับที่กำหนดไว้ก็ให้ใช้ปุ่มหน้าเครื่องเป็นตัวปรับแต่งเมนูต่างๆให้ถูกต้องต่อไป ห้ามใช้รีโหมดโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้เครื่องอื่นๆเปลี่ยนตามคำสั่งจากรีโหมด แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้รีโหมดจริงๆก็ควรเอารีโหมดไปจี้ให้ติดกับตัวเครื่องนั้นๆเพื่อป้องกันการเปลี่ยนตาม
  9. ในการใช้งานแต่ละช่องคงไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าเป็นการใช้ช่องที่ 17 ต้องมีวิธีการต่างๆ ดังนี้
  10. 9.1 การใช้เพื่อต้องการรายงานข่าวหรือถ่ายทอดสด ต้องใช้กล้องวงจรปิดเพื่อทำการถ่ายทอดสด ให้นำสายสัญญาณภาพที่อยู่หลังกล้องเสียบเข้ากับช่องรับภาพที่กล่องดำ และนำสายไมค์มาเสียบในช่องสัญญาณเสียงจากไมค์

    9.2 ในกรณีที่ต้องใช้วีซีดีหรือวีดีโอ ก็ต้องใช้สายสัญญาณจากวีซีดี/วีดีโอทั้งภาพและเสียงมาเสียบที่กล่องดำ

    10.   เครื่องรับโทรทัศน์ที่ใช้ในการดูช่องต่างๆจากสัญญาณดาวเทียมทุกเครื่องจะอยู่ทางด้านหน้าของห้อง เพื่อตรวจสอบการทำงานของเครื่องว่าสัญญาณที่มาเป็นอย่างไร จากเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมทั้ง 9 เครื่อง โดยเริ่มตั้งแต่ช่อง 10 หน้าเครื่องทีวี ซึ่งจะเป็นของชั้น ป.1 ช่องที่ 11 เป็นของชั้น ป.2 ช่องที่ 12 เป็นของชั้น ป.3 ช่องที่ 13 เป็นของชั้น ป.4 ช่องที่ 14 เป็นของชั้น ป.5 ช่องที่ 15 เป็นของชั้น ป.6 ช่องที่ 16 เป็นรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา (ETV) ช่องที่ 17 เป็นรายการถ่ายทอดสด(การอ่านข่าว,การประชุมครูและนักเรียน)/รายการจาก วีซีดี/รายการจากวีดีโอ ช่องที่ 18 เป็นรายการทั่วไปจากหลายๆช่อง ช่องที่ 19 เป็นช่องเกี่ยวกับจริยธรรมและข่าว

คำสำคัญ (Tags): #นวัตกรรม
หมายเลขบันทึก: 162260เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2008 11:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท