สมานฉันท์
มูฮัมมัด วรนันท์ รอมฎอน บุนนาค

ถอดบทเรียนประสบการณ์ผู้นำองค์กรมุสลิม (สมานฉันท์เพื่อสันติสุข)


ผู้นำองค์กรมุสลิมในทุกระดับไม่ว่าจะเป็นอิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น กรรมการมัสยิด ประธานจังหวัด กรรมการกลาง หรือตำแหหน่งอื่นใด จากบทเรียนประสบการณ์พบว่าส่วมมากผู้นำเหล่านี้จะมีความรู้ศาสนาค่อนข้างดดี เป็นผู้ที่เสียสละ อ่อนน้อมถ่อมตนและระมัดระวังในการกระทำและการพูด ที่สำคัญผู้นำเหล่านี้มีจิตใจงดงาม หลายต่อหลายท่านระมัดระวังตัวสูงด้วยคิดว่าทุกการกระทำ ทุกการตัดสินใจ เป็นอามานะห์(ได้รับมอบหมาย ได้รับความโปรดปราณจากพระผู้เป็นเจ้าเอกองค์อัลลอฮ(ซ.บ) เพราะท่านผุนำเหล่านี้รู้ดีว่าเขาจะต้องถูกสอบสวนอย่าหนัก และหลายท่านเมื่อรู้ว่า นัฟซู(กิเสศมาก)เขาจะสละหน้าที่เหล่านี้เพราะทราบดีว่าการสอบสวนของพระผู้เป็นเจ้ารุนแรงมากจึงกลัวกัน ผิดกับอีกหลายคนที่เมื่อได้เป็นผู้นำ มีตำแหน่งกลับลืมตัว บ้าอำนาจ เย่อหยิ่งสะโส มองพี่น้องอย่างต่ำทราม
                ทักษะการเป็นผู้นำมุสลิมที่ดีเป็นเรื่องที่น่าสนใจไม่ใช่น้อย ทั้งนี้เพราะศาสนาอิสลามไม่มีนักบวช นักพรต ดังนั้นแบบอย่างที่ดี ที่งดงามของท่านศาสดามูฮัมมัด(ซ.ล)จึงต้องถูกนำมาใช้และวิถีคำสอนที่สูงส่งของพระผู้เป็นเจ้าพระองค์อัลลอฮ(ซ.บ) ผู้นำทุกระดับของอิสลามจะต้องสำเหนียกให้มากมาก ขัดเกลาตนเองให้มาก ทัศนะการมองหรือหาทางออกกับปัญหาจึงต้องรอบคอบ และเทิดแบบอย่างศาสดา ท่านนบี(ซ.ล)ในเรื่องความสุขุม อ่อนน้อมถ่อมตน และที่สำคัญความซื่อสัตย์สุจริตต้องรักษาไว้ให้มาก ผู้นำอิสลามไม่สามารถแยกเรื่องทางโลกและทางธรรมออกจากกันได้ ผู้นำศาสนาอิสลามจึงต้องฮาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ในท่วงทำนองการบริหารจัดการองค์กร การเมืองการปกครอง การใช้ชีวิตและสร้างแบบอย่างให้เกิดความศรีทธา เชื่อถือ และให้สัปปุรุษมุสลิมและพี่น้องต่างศาสนิกยอมรับ รัก และเคารพ  แต่จากบทเรียนประสบการณ์ที่พบ กรณีจังหวัดขอนแก่น กว่าจะมีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดต้องใช้เวลา เกือบ 2 ปีกว่าจะได้กรรมการจังหวัดชุดใหม่(ปี 2550-2556)เราพบว่าเมื่อดำเนินงานไป ผู้นำมีลักษณะไม่โปร่งใสเรื่องการเงิน มีการนำเงินฮาลาลไปใช้โดยไม่ผ่านที่ประชุมหลายครั้ง และให้รองประธานซึ่งเป็นอิหม่ามมัสยิดดารุลอามาน อำเภอบ้านไผ่ส่งเงินไปให้หลายครั้ง ซึ่งเรื่องนี้จำเป็นต้องผ่านมติที่ประชุม และที่สำคัญต้องนำเงินฮาลาลเข้าบัญชีก่อนจากนั้นจึงขอมติที่ประชุม ผู้นำของเราขาดทักษะการวางแผนโดยเฉพาะในเรื่องโครงการ อ่อนแอมาก ขาดการประสานงานกับส่วนกลางทั้งๆที่ลงไปประชุมบ่อยบางครั้งไปขลุกอยู่ส่วนกลางเป็นเดือนๆ และหลายครั้งหวาดระแวงว่าจะมีคนเล่นงาน(ลอบกัด)ตัวเอง นิสัยของผู้นำเช่นนี้ไม่ดีเสียเลย นอกจากนี้ยังขาดทักษะแม้กระทั่งการพบปะ พูดคุยกับผู้หลักผู้ใหญ่ของจังหวัด มีลักษณะหวงอำนาจ ใจไม่กว้าง กรณีมัสยิด1ใน 5 มัสยิด ผู้นำเราขึ้นมาทำงาน 11 เดือนแล้ว และอยากเป็นอิหม่ามมัสยิดนี้มาก จนปิดกั้นการเลือกตั้งกรรมการมัสยิดนี้ไปอย่างชนิดที่สร้างความเกลียดชังไปทั้งจังหวัดและคณะกรรมการกลางก็ทำอะไรไม่ได้ องค์กรอิสลามมี พ.ร.บ อิสลามที่ไม่มีบทลงโทษ เป็นกฏหมายที่อ่อนแอ จึงทำให้ผู้นำอิสลามหลายคนมีพฤติกรรมไม่ดี และบ่อยครังทำตังขัดแย้งกับ พ.ร.บ บ่อยครั้ง และเรื่องที่ไม่น่าเกิดขึ้นก็คือขณะนี้กรรมการอิสลามประจำจังหวัดขอนแก่นทำงานร่วมกันไม่ได้อีกแล้ว ผู้นำพไปดำเนินงานฮาลาล ด้วยการไปต่ออายุเพียงอย่างเดียวไม่ตรวจสอบ มากกว่า 10 โรงงาน (คณะกรรมกลางผ่านไปได้อย่างไร) บัญชีฮาลาล ตรวจสอบไม่ได้ ผู้นำไม่ได้รับการยอมรับ จะมีองค์กรใดและใครเข้ามาจัดการเรื่องนี้ได้ หรือว่าต้องใช้ศาลเพื่อขับไล่ใสส่งกัน บทเรียนนี้สอนว่า คนที่ขึ้นมาเป็นผู้นำขาดความรู้เรื่องศาสนา มักจะมีนัฟซู(กิเลศ)สูง เห็นองค์กรแงนขององค์กร(งานฮาลาล)เป็นที่แสวงหารายได้ อย่างนี้สิทธิ การดูแลพี่น้องและงานส่งเสริมอาชีพและรายได้จะเกิดได้อย่างไรกับผู้นำลักษณะดังกล่าว


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท