สิ้นหวังกับระบบราชการไทย..ดีแต่อ้างประชาชน สุดท้ายก็เพื่อตนเอง


สิ้นหวังกับระบบราชการไทย..

ประเทศไทยมีระบบราชการมานานแสนนาน เป็นระบบที่หลายคนรู้สึกว่ามีเกียรติ เป็นระบบที่ได้รู้สึกว่าหากได้เข้ามาทำงานในระบบนี้แล้วจะได้ทำงานให้กับประชาชน

ผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่คิดเช่นนั้น แต่พอได้มีโอกาสสัมผัสกับระบบนี้จริงๆ ก็พบว่านั้นเป็นเพียงข้ออ้าง ไม่ต่างกับนักการเมืองทั้งหลาย ที่อ้างว่าทำเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เพราะสุดท้ายก็คือทำเพื่อตนเอง และมีประชาชนเป็นเพียงข้ออ้าง

จึงไม่น่าแปลกใจหรอกว่าทำไมปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ถึงไม่จบ ข้าราชการไม่เคยสำนึกว่าตนเองก็ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยภาษีของประชาชน แต่กลับทำตัวมีอภิสิทธิ์เหนือประชาชน

อย่างนี้แล้วการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ให้มีความเป็นรูปธรรม ซึ่งมีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 โดยได้มีการปฏิรูประบบราชการครั้งสำคัญตามกรอบแนวทางซึ่งกำหนดไว้ในมาตรา 3/1 ของพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พงสง 2545 ว่า “ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจ ความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐ การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การลดภารกิจและยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จำเป็น การกระจายภารกิจและทรัพยากรให้แก่ท้องถิ่น การกระจายอำนาจการตัดสินใจ การอำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชน” เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการต่าง ๆ บรรลุผลตามเจตนารมอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จึงได้มีการกำหนดกติกาใหม่ของการบริหารราชการแผ่นดินขึ้นในรูปแบบของ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 เพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวิธีคิดและวิธีการทำงาน รวมทั้งวัฒนธรรมการทำงานของบุคลากรภาครัฐ ซึ่งการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ก็คือ การปฏิบัติราชการเพื่อบรรลุเป้าหมายหลักอย่างน้อย 7 ประการ ตามที่ได้กำหนดไว้ในหมวด 1 ของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ประกอบด้วย
          1. เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
          2. เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ เป็นการมุ่งเน้นผลลัพธ์ ในหมวดนี้ มีการกำหนดตัวชี้วัดผลการทำงาน/การจัดทำความตกลงในการปฏิบัติงานหรือคำรับรองการปฏิบัติราชการ/การจัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี 
         3. มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
         4. ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกิดความจำเป็น การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
         5. มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์
         6. ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวก และได้รับการตอบสนองความต้องการ
         7. มีการประเมินการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอพรก.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 นับเป็นก้าวสำคัญของการกำหนดแนวทางการปฏิบัติราชการสมัยใหม่อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร โดยวางหลักเกณฑ์และวิธีการในการปฏิบัติราชการให้มีความชัดเจน สามารถวัดผลได้ ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยยึดเอาประโยชน์สุขของประชาชนเป็นที่ตั้ง เพื่อให้การบริหารราชการตอบสนองความต้องการและยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง

มันจึงเป็นเพียงพอความบนกระดาษที่สวยหรู แต่การปฏิบัติตรงกันข้าม เข้าทำนองว่า "ปากว่า ตาขยิบ" จึงไม่แปลกหรอกที่มีผู้กล่าวไว้ว่า "การดำรงชีวิตในประเทศที่เจริญแล้ว ย่อมดีกว่าการดำรงชีวิตในประเทศด้อยพัฒนา หรือกำลังพัฒนา เพราะระบบการเมือง ระบบราชการ มันเต็มไปด้วยความไม่โปร่งใสนานับประการ ทั้งคอร์รัปชัน เล่นพรรคเล่นพวก สารพัด

การลงทุนในการพัฒนาระบบราชการโดยตั้งสำนักงาน ก.พ.ร. ขึ้นมาดำเนินการจึงดูเหมือนจะสูญเปล่าทั้งงบประมาณแผ่นดิน และเวลาที่ใช้ไป หากเรายังมีบุคลากรภาครัฐที่ขาดสำนึกที่จะปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง

(-_-)(-_-)(-_-)(-_-)(-_-)(-_-)(-_-)(-_-)(-_-)(-_-)(-_-)(-_-)(-_-)(-_-)(-_-)(-_-) 

หมายเลขบันทึก: 161932เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2008 18:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 10:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

"ข้าราชการไม่ใช่อภิสิทธิ์ชน หากแต่จะต้องบำเพ็ญตนให้เป็นแบบอย่างของคนดีต่อสังคม... ได้ทรงสอนไว้ว่าเอกลักษณ์ของคนไทย คือ ความนอบน้อมถ่อมตนที่จะยิ่งทำให้ตนเองสูงในสายตาของผู้อื่น นอกจากคนโง่เขลาเท่านั้นที่ดูไม่ออก"

-- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ --

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท