สิ่งที่เกิดขึ้นท่านคิดว่า เทคโนโลยีจะช่วยทำให้ดีขึ้นหรือไม่


การอ่าน

    หลายปีที่ผ่านมา มีข้อสังเกตว่าคนไทย อ่านหนังสือน้อยมาก ทั้งนี้เนื่องจาก สังคมไทยมิใช่สังคมที่มีวัฒนธรรมใน การอ่านแต่คนไทยรับรู้ด้วยการบอกเล่า และทำให้ดูซึ่งเป็นที่มาของคำว่า เลียนแบบก่อนจึง เรียนรู้ได้  ในปีพ.. ๒๕๔๘ สำนักงานสถิติแห่งชาติได้สำรวจพฤติกรรมการอ่านของคนไทยในวัยต่างๆ พบว่าคนไทยยุคนี้เริ่มหนังสือมากขึ้น แต่เป็นหนังสือพิมพ์ และตำราเรียนมากกว่า หนังสือวิชาการด้านอื่นๆ หรือ การอ่านทั่วๆไป ในปีพ.. ๒๕๔๘ สำนักงานสถิติแห่งชาติได้สำรวจพฤติกรรมการอ่านของคนไทยในวัยต่างๆ พบว่าคนไทยยุคนี้เริ่มหนังสือมากขึ้น แต่เป็นหนังสือพิมพ์ และตำราเรียนมากกว่า หนังสือวิชาการด้านอื่นๆ หรือ การอ่านทั่วๆไป

                                             

         แม้จะเชื่อว่าการอ่านเป็นเครื่องชี้นำไปสู่การแสวงหาข่าวสารข้อมูล ก็ดี ความรู้ใหม่ก็ดี การอ่านมิได้จำกัดเฉพาะการอ่านด้วยสายตา แต่การอ่านหมายถึงการรับรู้ข้อมูล ความรู้ ด้วยประสาทสัมผัสทั้ อ่าน ผ่านตัวอักษร ลายขีดเขียน ลวดลาย เส้นสี ภาพนิ่งภาพเคลื่อนไหว สัญลักษณ์ เสียงต่างๆ และเสียงดนตรี เพลง ภาพยนตร์ สื่อต่างๆ ที่มีการสร้างและบันทึกแตกต่างกันไป ในความเป็นจริงการอ่านที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมในการใฝ่รู้ใฝ่เรียนเพื่อพัฒนาตนเอง เกี่ยวข้องกับการรู้หนังสือที่มีรากศัพท์ตรงกับภาษอังกฤษว่า Literacy ที่องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ให้นิยามของการรู้หนังสือว่า: 1 

                                         

การรู้หนังสือเป็นความสามารถในการแสดงความแตกต่างได้ มีความเข้าใจ แปลความ สร้าง สื่อสาร และคำนวณ ด้วยการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ และงานเขียนที่เกี่ยวโยงกับบริบทต่างๆ การรู้หนังสือเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ต่อเนื่องเพื่อนำไปสู่เป้าหมายของแต่ละบุคคล เพื่อพัฒนาศักยภาพและความรู้ อันนำไปสู่การมีส่วนร่วมในสังคมที่กว้างขึ้น1

ในสภาพปัจจุบันที่เรียกว่าสังคมข่าวสารข้อมูลและความรู้เป็นสิ่งสำคัญยิ่งนั้น การรู้หนังสือได้ขยายขอบเขตสู่ความสามารถมิเพียงแต่อ่านได้ อ่านเป็น และเขียนได้เท่านั้น การรู้หนังสือ (Literacy, Numeracy) จำต้องเป็นความสามารถรอบรู้และทักษะในการแสวงหาความรู้ ด้วยการอ่านออกและเขียนได้ตามบริบทต่างๆ อาทิ ทักษะการวิเคราะห์ สังเคราะห์ (critical literacy, ความสามารถในการใช้สื่อ(media literacy), ความสามารถในเทคโนโลยี (technacy), การสร้างความหมายจากภาพหรือสัญลักษณะ  (visual literacy), การใช้คอมพิวเตอร์เป็น (computer literacy), การรอบรู้และมีความเข้าใจสื่อผสม (multimedia literacy), การใช้ข้อมูลสารสนเทศ(information literacy), การดูแลสุขภาพ(health literacy)และ ความรู้ด้านดิจิตัล (digital literacy) เป็นต้น ล้วนเป็นขอบเขตในการรู้หนังสือแนว ใหม่ที่ทำให้การรู้หนังสือกลายเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการพัฒนามนุษย์ เป็นความจำเป็นพื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรอย่างต่อเนื่อง  1 The United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization (UNESCO) defined "Literacy is the ability to identify, understand, interpret, create, communicate and compute, using printed and written materials associated with varying contexts. Literacy involves a continuum of learning to enable an individual to achieve his or her goals, to develop his or her knowledge and potential, and to participate fully in the wider society." http://en.wikipedia.org/wiki/Literacy           อ้างอิง 1 http://elibrary.nfe.go.th/elibliving.pdf                      จากบทความเทคโนโลยีทางการสื่อสารช่วยได้หรือไม่ เทคโนโลยีอะไรหรือโครงข่ายใดที่ที่จะเข้าไปแก้ไขได้บ้าง โครงข่ายwimax จะเข้ามาใช้ในการแก้ปัญหาได้หรือไม่
        
 
คำสำคัญ (Tags): #wimax
หมายเลขบันทึก: 161824เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2008 10:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 12:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท