ทำอย่างไรกับลิตเติ้ลแองเจิลลูกรัก (ตอนที่ ๑)


เรื่องการกอดก็เป็นเรื่องที่สำคัญ “พวกผมกอดกันเป็นปกติ”
  • วัน/เวลา อังคารที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๑ เวลา ๙.๐๐-๑๒.๐๐ น.
  • สถานที่  ห้องอเนกประสงค์ใหม่  โรงเรียนเพลินพัฒนา
  • วิทยากร   ดร.วรภัทร์  ภู่เจริญ  และ คุณทวีสิน ฉัตรเฉลิมวิทย์
  • ผู้เข้าฟัง  ผู้ปกครองโรงเรียนเพลินพัฒนา

การเสวนาในวันนี้ เป็นการเสวนาที่อ้างอิงถึง ภาพยนตร์สารคดีที่ทุกคนน่าจะเคยชมมาแล้วผ่านทางรายการโทรทัศน์  ตอนที่พวกเราจะพูดถึงในวันนี้เป็นตอนของครอบครัวลูกสี่  เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในประเทศอังกฤษ  เป็นเรื่องของสามีภรรยาคู่หนึ่ง  สามีทำงานทั้งวัน  ส่วนภรรยาอยู่บ้านเลี้ยงลูก ๔ คน  และรัฐมีหน่วยงานส่งนักจิตวิทยามาช่วย  โดยได้บันทึกพฤติกรรมเด็กๆ และการให้คำแนะนำพ่อแม่ในการจัดการพฤติกรรมเหล่านั้น
(ตอนนี้ต่างชาติมีปัญหาเด็กเกเรเยอะ  ญี่ปุ่นมีโรค Giant syndrome คือเด็กเกเรมาก)

เคล็ดในการจับความรู้จากภาพยนตร์  ให้จับความรู้ ๓ แบบ
- ความรู้ที่บอกตรงๆ 
- ความรู้แฝง
- ความรู้ที่ผุดขึ้นกลางใจของเรา  ตรงนี้เป็นธรรมะ  ใจของเราที่ยินดี สับสน ตื่นเต้น เพ่งโทษ  คือ ตัวจิตที่ผลิต inner voice ออกมา  ดูให้ทัน 

  • Voice of judgment เป็น เสียงวิตก วิจารณ์  แม่มักจะวิตก  ส่วนพ่อก็มักจะวิจารณ์  ปิดกั้นการเปิดความคิด (open mind)

  • voice of condition เสียงแห่งการไม่รักใคร เห็นแก่ตัว รังเกียจคนอื่น ปิดกั้นการเปิดใจ (open heart)

  • voice of fear เสียงแห่งความกลัว  ที่จะไม่อยากทำนู่นทำนี่  ปิดกั้นความกล้า (open view)

อาจารย์วรภัทร์เริ่มด้วยการทักทายผู้ฟังแบบสบายๆ  พร้อมกับแนะนำคณะที่มาจากปูนซิเมนต์ไทย คือ คุณทวีสิน คุณป๊อบ คุณส้ม คุณหมี และน้องอุง 
เมื่อที่ประชุมเริ่มแลกเปลี่ยนความประทับใจจากการได้ชมภาพยนตร์ เรื่องนี้

คุณทวีสินเล่าว่ามีรายการจุดเปลี่ยนออกเรื่องการกอด  มีการไปสำรวจในโรงเรียนหนึ่งปรากฏว่ามีพ่อแม่กอดลูกแค่ 4%  แต่พอสอบถามนักเรียนต่อว่าอยากได้อะไรจากพ่อแม่  ปรากฏว่าเด็กตอบว่าอยากให้พ่อแม่กอด 47%  การกอดเป็นเรื่องของ bonding  เป็นสิ่งที่เราต้องทำให้เร็วที่สุด 
ตั้งแต่แรกคลอด  ควรให้แม่ได้กอดลูกก่อน  ให้เกิด bonding 
และระหว่างการดำเนินชีวิต  เรื่องการกอดก็เป็นเรื่องที่สำคัญ 
bonding ช่วยแก้ปัญหาได้หลายอย่าง  “พวกผมกอดกันเป็นปกติ”

น้องอุง เสริมว่า  ตามหลักจิตวิทยา  ระหว่างเด็กอยู่ในท้องแม่จะอุ่น
และได้ยินเสียงหัวใจแม่ตลอดเก้าเดือน 
การที่ได้แนบอกแม่ทันทีหลังคลอด  เด็กออกมาจะได้รู้สึกปลอดภัย 
การแนบหน้าอกซ้ายจะได้ยินเสียงหัวใจแม่ที่คุ้นเคย 
ถึงแม้จะหนาวก็ยังได้ยินเสียงหัวใจแม่  ยังรู้สึกปลอดภัย ผูกพันกับแม่ 
จะได้สร้างสายสัมพันธ์  เด็กจะไม่รู้สึกหวาดระแวง 
ตั้งแต่ ๐-๓ ขวบเป็นระยะสร้างสายสัมพันธ์ (Attachment) 
และเป็นช่วงระแวดระวังภัยให้ตัวเองไม่กลัวพ่อแม่เท่านั้น 
ถ้าสายสัมพันธ์นี้เข้มแข็ง  เกิดความผูกพันกับพ่อแม่
จะทำให้อาการกลัวคนแปลกหน้าจะสั้นลง จะร่าเริงแจ่มใส  มีสังคมได้ง่ายขึ้น 

อาจารย์วรภัทร์  “อุงจบจิตวิทยา มาทำงานที่ปูนซิเมนต์ไทย  ตอนนี้ต้องมีคนจบจิตวิทยามาอยู่ในองค์กรเพราะเป็นเรื่องสำคัญใน การดูแลอย่างใกล้ชิด”

คุณทวีสิน  เน้นว่า Bonding จะเกิดขึ้นได้ต้องเกิดจากทั้งสองฝ่าย  เป็นพลังมหัศจรรย์

อาจารย์วรภัทร์ ให้ข้อสังเกตว่า
๑. บ้านในภาพยนตร์เรื่องนี้ ไม่ค่อยมีธรรมชาติ 
เป็นบ้านเต็มไปด้วยวัตถุที่ไม่ได้มาจากธรรมชาติ 
เต็มไปด้วยคลื่นอิเล็กทรอนิกส์  หมุนด้วยความเร็วสูง 
ทำให้คลื่นในตัวเราไม่สู่อัลฟ่า (Alfa) ถูกกระตุ้นให้เข้าสู่เบต้า (Beta) ง่าย 

เด็กถูกกระตุ้นมาก เร็วเกิน  ไม่ธรรมชาติ  พอโตก็จะเรียกหาสิ่งเร้า สิ่งกระตุ้นอยู่ตลอด 
“เราไม่เคยอยู่ในสภาวะ chill chill ชื่นชมกับสิ่งที่อยู่ข้างๆ ที่ไม่ได้ปรุงแต่ง 
ชื่นชมในสิ่งที่มีอยู่  เห็นกระดาษเปล่าก็สวยได้  เห็นใบไม้หล่นก็สวยได้ 
สิ่งนี้เป็น “สุนทรียภาพ” ซึ่งจะก่อเกิดนวัตกรรม ความคิด ปัญญา มากมาย 
เราไปนิยามความสวยว่าต้องเป็นแบบนี้เท่านั้น  ความจริงคนแก่อย่างยายก็สวยได้ 
เราไปเห็นความแก่เป็นความพ่ายแพ้  เราหลงทาง”

๒. แสงในบ้านในภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นแสงนีออนเป็นแสงคงที่ (Constant) 
ส่วนแสงในห้องนี้ (ห้องอเนกประสงค์ โรงเรียนเพลินพัฒนา)  มีการเปลี่ยนแปลงเสมอ 
ทำให้ม่านตาขยับอยู่เสมอ จะแข็งแรง ตอบสนองอยู่ตลอด 
“อันนี้ก็เป็นการ bonding กับธรรมชาติ   อย่าไป bonding กับสิ่งที่ไม่เป็นธรรมชาติ”

๓. ของเล่นในบ้านนี้เสมือนจริงเกินไป  “ดูอย่างค้อน คีม  อย่าไปทำอย่างนั้น
เด็กธรรมชาติ  หยิบก้อนหิน  ผ้าพันคอ  ก็ทำของเล่นได้เป็นร้อยกว่าชิ้น 
นั่นเป็นปัจจัยในการบริหารเรื่องธรรมชาติ  ถ้า bonding กับธรรมชาติ 
ใจเราจะลงสู่คลื่น เทต้า (tetra)
ระดับความถี่ของคลื่น
วีนสุดขีด  - แกมม่า (น่าจะส่งเข้าโรงพยาบาลได้)
ประสาทกิน  - เบต้า 
Chill chill  - อัลฟ่า 
Bonding   - เทต้า
ต่ำสุด - เดลต้า  (ครูบาอาจารย์ใช้ติดต่อกันตอนตีสาม เป็นมือถือของ  หลวงพ่อ)

”นักจิตวิทยาในเรื่องนี้บอกว่า ครอบครัวนี้ไม่ค่อยได้เจอกัน 
“พวกเราเจอกันพร้อมหน้าพร้อมตากันวันละกี่ชั่วโมง  และตอนที่เจอกันนั้นอยู่ในคลื่นอะไร 
ฉะนั้น ในภาพยนตร์นี้ให้ความสำคัญกับมื้อเย็น  เพราะเกิด bonding ได้ 
พยายามเข้าสู่อัลฟ่าให้ได้  ส่วนการกอดที่คุณทวีสินพูดถึงเป็นการเข้าสู่เทต้า 
และถ้ามานั่งสมาธิ ปฏิบัติธรรมด้วยกันก็จะเข้าสู่เดลต้าด้วยกันได้”

(มีต่อตอนที่ ๒)

หมายเลขบันทึก: 161771เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2008 23:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 เมษายน 2012 08:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

น่าสนใจมากครับ เข้ามาแอบเรียนรู้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท