หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

ภัยที่ถูกลืมของคนเบาหวานกระบี่


area based ของ ระบบคุณภาพของร.พ. ไม่ได้มีขอบเขตยุติอยู่แค่รั้วร.พ. หากมองเห็นความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นเป้าหมาย

เช้าวันนี้  ในระหว่างอาหารมื้อเช้า  ครอบครัวฉันได้พบกับประธานจัดงานกินเจ ของตำบลแห่งหนึ่ง  จากการสนทนาแลกเปลี่ยนระหว่างกันฉันได้รับรู้พัฒนาการของกระบวนการในชุมชนในตำบลนั้นอย่างคร่าวๆ   เรื่องที่ได้รับรู้ทำให้ฉันทึ่งในกระบวนการกลุ่มของพวกเขา  มี tacit knowledge เกี่ยวกับการจัดการกระบวนการทำงานเป็นทีมซ่อนอยู่มากมายในกลุ่มคนที่เป็นกรรมการจัดงาน   ฟังแล้วรู้เลยว่า เขามีการทำ KM ถ่ายทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น และมีสิ่งที่ยังขาด  คือ  การรู้จักใช้ KM  ทำให้เกิดข้อสัญญาต่อกันของแต่ละรุ่น 

เรื่องที่สนทนากัน เป็นประเด็นของการจัดการเตรียมงานในปี 2551 ด้วยงานนี้ถือว่าเป็นงานใหญ่ของตำบลทีเดียว  มีข้อคัดแย้งกันในด้านความคิดเกี่ยวกับพิธีกรรมและงานรื่นเริง  และการจัดการค่าใช้จ่าย    การที่ยังมีข้อคัดแย้งกัน บ่งว่า สิ่งที่ยังขาด คือ พันธสัญญา หรือ เป้าหมายร่วมของทีม  หรือพูดให้ตรงก็คือ  ผู้ร่วมทีมไม่ได้ทำให้ทีมเข้าใจว่า อะไรคือผลงานที่ทีมกำลังจะส่งมอบจากการจัดงาน

การกินเจ มาเกี่ยวข้องกับคนไข้เบาหวาน ตรงที่ บางคนลด ละ เลิกเนื้อสัตว์ มากินเจ เพื่อหลีกเลี่ยงอาหารมัน  แต่ลืมไปว่า อาหารเจ ส่วนใหญ่ทำจากแป้ง  คนเป็นเบาหวานที่กินเจ ผิดวิธี  จึงมักจะคุมเบาหวานไม่ได้ดี  

เพราะคนเป็นเบาหวาน มีปัญหาของเส้นประสาทเสื่อมถอยร่วม   การรับรู้ความรู้สึกต่างๆของคนเบาหวานจึงมีระดับต่ำกว่าคนไม่เป็นเบาหวาน   แปลว่า หากจะรับรู้ความรู้สึกเช่น ร้อน  เย็น  กดเจ็บ  ระดับที่จะทำให้คนเบาหวานรู้สึกได้ ต้องมากกว่าคนไม่เป็น   ความร้อนต้องร้อนกว่าจึงรู้สึกร้อน  แรงกดต้องมากกว่าจึงรู้สึกเจ็บ  ความเย็นต้องเย็นกว่าจึงรู้สึกเย็น

เมื่อพูดถึงพิธีกรรม  ฉันย้อนนึกไปถึงภาพงานพิธีกรรมในศาลเจ้าที่คุ้นตา  ผู้คนมักจะจุดธูปกำใหญ่ไว้ในมือ เพื่อสักการะสิ่งที่นับถือ เคารพ   เวลามีไฟลามลุกธูป คนบางคนจะลืมตัวเผลอสะบัดทิ้งไว้เรี่ยราดให้คนที่ผ่านมาทีหลังเดินเหยียบขี้ธูปร้อนบาดเจ็บ   

หากผู้ที่เดินผ่านมาทีหลังคือคนเป็นเบาหวาน  ดูไม่จืดเลยใช่ไหม    ถ้าละเลยจุดเล็กน้อยนี้ ไม่แนะนำคนไข้เบาหวานซึ่งมีโอกาสไปร่วมพิธีกรรม  ร.พ.ก็อาจจะได้คนไข้เบาหวานที่ต้องตัดขารายใหม่  จากอุบัติเหตุที่ป้องกันได้เช่นนี้

 

การบริหารความเสี่ยงเพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานปลอดภัย สำหรับบริบทในชุมชน พึงให้ความสำคัญกับ สิ่งแวดล้อมที่ผู้ป่วยเบาหวานดำรงชีวิต  เพราะแม้เรื่องเล็กๆอย่างเช่น ตาปลา   ยังส่งผลให้คนไข้ต้องตัดขา แล้วการโดนไฟพองลวกลึก จะไปเหลืออะไร

24   มกราคม 2551

หมายเลขบันทึก: 161732เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2008 20:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 17:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

อาจารย์ช่างคิดอะไรปลีกย่อยจังเลยค่ะ

น่านับถือค่ะ มองทุกมุม

คิดปลีกย่อยกับคิดเล็กคิดน้อยดูจะคล้ายๆกัน   คิดเล็กคิดน้อยไม่ค่อยทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์  

การคิดปลีกย่อยแล้วมีความปลอดภัยของคนไข้เป็นหัวใจ ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ค่ะ  และมองเห็น root cause ที่ทำให้เกิดความเสี่ยงที่ต้องบริหารค่ะ 

การบริหารที่รากของปัญหา ง่ายกว่าการตามจัดการดอกผลที่ตามมาค่ะ

 

 

การเก็บประเด็นปลีกย่อยเหล่านี้รวบรวมไว้ ใช่ว่าเพื่อทำทุกอย่างให้ complete แต่เพื่อฝึกการมองมุมกว้าง เพื่อฝึกทำเรื่องเจาะจงที่สำคัญเท่านั้น  ตามหลัก look globally but act locally  ด้วย bird eye view  คือเหมือนนกเหยี่ยวที่แม้จะบินสูง แต่ก็ยังตาแหลมคมว่าปลาที่จะเป็นอาหารอยู่ที่ไหน

สำหรับบันทึกเรื่องนี้ จำเป็นสำหรับวิถีชีวิตในช่วงเดือนตุลาคม ของทุกปีของคน 3-4 จังหวัดตอนบน ตั้งแต่ ภูเก็ต กระบี่ พังงา ตรัง เพราะเป็นเทศกาลประเพณีประจำปี  

ตามหลักการให้บริการในชุมชน มี 7 เครื่องมือมหัศจรรย์ที่คุณหมอโกมาตรกล่าวไว้ มี เครื่องมือที่เรียกว่า "ปฏิทินชุมชน"  ให้พิจารณามาใช้ทำแผนบริการชุมชน จะเข้ากับวิถีชีวิตชาวบ้านและทำงานชุมชนได้ผล

กรณีนี้เป็นเรื่องหนึ่งที่ต้องบันทึกไว้ในปฏิทินชุมชน  เพื่อใช้ลงมือทำเมื่อถึงวัน 

 

  • เป็นข้อคิดและเตือนใจคนทำงานชุมชนอย่างหนูรัตน์ได้เป็นอย่างดีเลยค่ะอาจารย์
  • ขอขอบคุณอย่างที่สุด ที่มีเรื่องราวดีๆและมีประโยชน์มาให้อ่านอย่างต่อเนื่อง
  • คิดถึงค่ะ
ตกลงพี่จะมาพิษณุโลก  ในช่วงวันจักรีน่ะจ๊ะ   ถ้าคนอื่นไม่มาด้วย ก็จะมาแบบฉายเดี่ยวจ๊ะ

ไม่มีเืรื่องอะไรที่ปลีกย่อยหรือเป็นเรื่องเล็กน้อยเกินไปในการดูแลผู้ป่วย

  • สวัสดีค่ะคุณ km
  • ความหมายของคำว่า "ปลีกย่อย" "เล็กน้อย" สื่อถึงจุดเล็กๆที่คนไม่ให้ความสำคัญ จุดเล็กๆที่มันซ่อนอยู่เพราะมันเล็กไง
  • เห็นด้วยว่ากับความเห็นคุณค่ะ
  • หมอเจ๊จึงได้เอาเรื่องนี้มาเขียนบันทึกแลกเปลี่ยนกันไว้ค่ะ
  • เพื่อจะขอชักชวนคนอื่นๆที่มองเห็นจุดสำคัญเล็กๆนี้
  • ให้เขียนบันทึกออกมาเล่าสู่กันฟัง แลกเปลี่ยนกัน
  • ซึ่งยิ่งมีจุดเล็กที่สำคัญๆมากๆเขียนออกมาได้เยอะๆ
  • คนที่ได้ประโยชน์ คือ ผู้ป่วย นั่นแหละค่ะ
  • ความปลอดภัยของผู้ป่วย คือ หัวใจของการดูแลที่ให้ค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท