สมานฉันท์
มูฮัมมัด วรนันท์ รอมฎอน บุนนาค

เรียนรู้ชุมชนพหุวัฒน์ ต้องตระหนักและเข้าใจอัตลักษณ์ของกันและกันทั้งไทยพุทธและไทยมุสลิม


พหุวัฒนธรรมความแตกต่างของ 2 กระแสวัฒนธรรม ที่ชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมอยู่ร่วมกัน เรียนรู้ร่วมเข้า เข้าใจความแตกต้างของความเชื่อและข้อปฏิบัติร่วมกัน ให้เกียรติและเคารพในความแตกต่างร่วมกัน

          จะมีใครทราบและเข้าใจว่า ผู้ที่เป็นมุสลิมห้ามกราบมนุษย์(ทุกระดับ) วัตถุสิ่งของ ธรรมชาติ อะไรก็ตามทั้งที่มีตัวตนและไม่มีตัวตน และจะมีใครเข้าใจว่าผู้ที่เป็นมุสลิมนั้นห้ามไว้ทุกข์ แต่ในสถาณการณ์ของการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระพี่นางฯ มีมุสลิมที่เป็นข้าราชการไม่น้อยที่แต่งดำ ผู้หญิงคลุมฮิญาบ สีดำเสื้อดำ แม้ว่าผู้รู้ศาสนา อุสตาส จะห้ามปราบก็ตาม นี่คือระดับของหัวใจและการแยกแยะที่ทำความยากลำบากใจให้กับมุสลิมทั้งชายและหญิงเหลือเกิน ความต้องการให้เกิดความเข้าใจเช่นนี้เป็นการเรียนรู้อัตลักษณ์ของกันและกัน พี่น้องไทยพุทธ หากเข้าใจเรื่องนี้ว่าทำไม ก็จะเกิดความเข้าใจและทำให้อยู่ร่วมกันได้อยากสมานฉันท์มากกว่าจะตั้งข้อสังเกตุเชิงแบ่งแยกและไม่พยายามทำความเข้าใจ การนำพามุสลิมเข้าวัดฟังธรรมก็จำเป็นต้องเรียนรู้ว่าเมื่อคนมุสลิมกราบรูปเคารพไม่ได้ก็ควรรนำพาเขาไปและเปลี่ยนกับพระ พูดคุยหรือฟังธรรมที่ก่อให้เกิดสติปัญญาแห่งการเรียนรู้เปรียบเทียบอันจะเกิดเป็นองค์ความรู้ถึงแก่นของสัจจธรรมที่ร่วมกันได้ของ 2 ศาสนา เป็นความละเอียดอ่อนแต่ต้อง เรียนรู้และศึกษาร่วมกันจึงจะเกิดปัญญา ปัญญาจะนำไปสู่แสงสว่าง และนำไปสู่ความสมานฉันท์ ร่มเย็นในการอยู่ร่วมกันในที่สุด

 

 

หมายเลขบันทึก: 161550เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2008 18:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท