พรพ.เยี่ยมชมการพัฒนาคุณภาพของจังหวัดกาฬสินธุ์


พรพ. เพื่อนเยี่ยมเพื่อน ค่ะ (พวกเราพวกเดียวกัน)

        วันที่ 20 กพ 49 ทีมงานสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล นำทีมโดย อ.นพ.เฉลิมชัย  ชูเมือง Mrs. Marion C.Suski นพ.อุดม  ลีลาทวีวุฒิ และ Paula ได้เดินทางไปชมการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาลในจังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อสร้างความเข้าใจ กระตุ้นการพัฒนาเพื่อสร้างความต่อเนื่อง มีโรงพยาบาลในจังหวัดสนใจส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมจำนวนประมาณ 150 คน มีท่านผชชว. นพ.เชาวลิต เป็นประธาน ในภาพรวมของจังหวัดมีความก้าวหน้าในการพัฒนาคุณภาพ มีการบูรณาการในหลายมาตรฐาน ทั้งHA HPH HNQA HCA  มีโรงพยาบาลที่ผ่านการรับรอง HA HPH แล้วหลายแห่ง และมีโรงพยาบาลบางแห่งที่รอผลการพิจารณา

หลังจากเปิดการประชุมโดยท่าน ผชชว. แล้ว ท่าน อ.เฉลิมชัย ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการประชุมแล้ว ได้เปิดโอกาสให้รพ.ได้เล่าถึงปัยหาอุปสรรคในการพัฒนาคุณภาพ ซึ่งสรุปแล้วมีประเด็นที่คล้ายๆกัน เช่น ปัญหาการสื่อสาร การบูรณาการ ความรู้ความเข้าใจในการนำสู่การปฏิบัติ หลังจากนั้นเราได้แบ่งห้องประชุมเป็น 2 ห้อง ห้องหนึ่งอ.เฉลิมชัย และ อ.แมเรียน พูดคุยกับทีมนำ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล ในเรื่องของ Leadership ,Coaching ,Communication ส่วนอีกห้องหนึ่งเป็นเรื่องของ 3CPDSA & Clinical tracer ได้มีการนำเสนอผลงานการพัฒนาคุณภาพในแต่ละโรงพยาบาล

อยากจะเล่าถึงการทบทวนสู่การวางระบบที่ชัดเจนจากรพ.แห่งหนึ่งที่เล่าให้ฟัง เป็นผลงานของห้องคลอด ได้ทบทวนอัตราการติดเชื้อที่สะดือเด็ก 7 ราย พบว่ามีอัตราสูงขึ้น จึงวิเคราะห์หาสาเหตุพบว่ามีสาเหตุมาจาก เทคนิคในการทำคลอด sterile technique รพ.ได้นำมาปรับระบบการทำคลอดการตัดสายสะดือ น้ำยาฆ่าเชื้อที่ใช้ การใช้ไหมเย็บ ปรับปรุงอาคารสถานที่ จัดระบบห้องผ่าตัด ปรับระบบการทำให้ปราศจากเชื้อทั้งระบบ ตั้งแต่งานจ่ายกลาง การทำให้ปราจากเชื้อ การตรวจสอบการทำให้ปราศจากเชื้อ ระบบการกำจัด ขนย้าย คัดแยกขยะ จัดหาอุปกรณ์การล้างมือ อุปกรณ์ป้องกัน  ทบทวนอีกรอบหนึ่งพบว่าเกิดในเวลาที่มีผู้คลอดพร้อมกัน  เวรดึก พยาบาลจบใหม่ ไม่มีทักษะเพียงพอ นำมาพัฒนาความรู้ความสามารถของเจ้าหน้าที่ สรุปแล้วจากรายเดียวเขาได้นำมาปรับระบบ IC ทั้งรพ. HRD  สิ่งแวดล้อม และติดตามผลลัพธ์อย่างต่อเนื่อง (รพ.เล่าว่าได้ไปดูงานจากรพ.ในจังหวัดที่ผ่านการรับรองแล้ว เกิดการแลกเปลี่ยนกันในจังหวัด) มีหน่วยงานอื่นๆ ในรพ.ได้ปฏิบัติตามแนวทางของห้องคลอดด้วย

ซึ่งในการประชุมนี้ เรื่อง Clinical tracer พบว่าเป็นเรื่องใหม่ ได้รับความสนใจเป็นอย่างสูง มคำถามจำนวนมากในเรื่องนี้ คำถามที่ top hit ทุกครั้งที่พูดเรื่องนี้ คือ CQI CPG ต่างกับ clinical tracer อย่างไร สามารถใช้ในหน่วยงานสนับสนุนได้หรือไม่ เราได้ตอบคำถามอย่างชัดเจน และจะส่งคำถามนี้ให้ ผอ.ของเราต่อไปค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 16151เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2006 19:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท