การจัดการเครือข่ายที่พลังชีวิตชีวา


             เครือข่าย เป็นคำยอดฮิตของกระบวนการพัฒนา จนอะไรๆ ก็ต้องเครือข่าย แต่เครือข่ายจริงๆ ที่มีชีวิตชีวา มีพลังขับเคลื่อนที่ต่อเนื่องเป็นอย่างไร มิใช่มาพบปะกันเพียงครั้งสองครั้งก็เป็นเครือข่ายแล้ว   อ.ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ ผู้อำนวยการสถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม ผู้ที่พูดถึงเรื่องความสำคัญของเครือข่ายมาตลอด และได้มาฝึกอบรมเรื่องการจัดการเครือข่ายให้กลุ่มนักพัฒนาประชาคมน่านอยู่หลายครั้ง ครั้งนี้อาจารย์ก็มาต่อยอดที่จะร่วมกันถอดบทเรียนการจัดการเครือข่ายในสภาวะวิกฤต กรณีน้ำท่วมน่านเมื่อปี ๒๕๔๙ ซึ่งเป็นภาคต่อจากการอบรมเรื่อง สภาวะผู้นำที่แท้ เมื่อต้นเดือนธันวาคม ๒๕๕๐ ความมุ่งหวังครั้งนี้จะช่วยกันคลี่เรื่องการจัดการเครือข่ายให้ลึกขึ้น ชัดขึ้น แล้วนำมาเป็นบทเรียนในการจัดการเครือข่ายในสภาวะวิกฤต รวมทั้งการนำมาประยุกต์ใช้ในกรณีปกติด้วย

เรียนรู้วันแรก

             กระบวนการเรียนรู้จัดในกลุ่มเล็กๆ ราว๑๒ คน มีเทศบาลเมืองน่านเป็นเจ้าภาพหลักในการจัดการเรียนรู้ครั้งนี้ จัดที่ศศิดารารีสอร์ท ชานเมืองน่าน ระหว่างวันที่ ๒๑-๒๓ มกราคม ๒๕๕๑กระบวนการเรียนรู้เริ่มจากการทบทวนเอกสารสรุปเรื่องการจัดการเครือข่ายน้ำท่วมที่ทีมงานได้ทำการบ้านมาก่อนที่อาจารย์จะมาอบรม หลังจากนั้นให้ทุกคนได้ตั้งสติครุ่นคิด (Reflection) กับตัวเองเงียบๆ เป็นการสร้างพลังในตัวเองให้มี สภาวะที่ตื่น แล้วทบทวนดูว่าการถอดบทเรียนในครั้งนี้ต่างจากครั้งอื่นๆ อย่างไร ? แล้วนำมาแลกเปลี่ยนร่วมกัน

          ข้อแนะนำจากอาจารย์เรื่องเครือข่ายน้ำท่วม

            ๑. ควรมีแผนที่ภูมิศาสตร์ด้วย เพื่อทำให้เห็นการไหลของน้ำ การทะลักของน้ำ เคลื่อนไหวของเครือข่าย หากสามารถทำในรูปโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วยจะยิ่งดีมาก

 

            ๒. การทำแผนที่ชุมชนของแต่ละพื้นที่ เพื่อให้เห็นว่าแต่ละบ้านมีคนอยู่กี่คนและมีใครบ้าง รวมทั้งข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ ข้อมูลน้ำท่วมย้อนหลัง

 

            ๓. ทำเส้นความสัมพันธ์ให้เห็นความเชื่อมโยงของเครือข่ายให้ได้

             ๔. ติดตามสิ่งที่ชาวบ้านคิด (แผนต่างๆ) ว่ามีการดำเนินการตามที่วางไว้หรือไม่ ให้กำลังใจ และบันทึกไว้             เครือข่าย เป็นสายใยความสัมพันธ์ระหว่างกันและกัน ทำให้เกิดการไหลลื่นของทรัพยากรส่งต่อกันและกัน (ท่อส่งต่อทรัพยากร)  

           จากนั้นอาจารย์ให้คิดว่า การจัดการเครือข่ายในช่วงน้ำท่วม มี Hub หรือไม่ แต่ละ Hub มีความสัมพันธ์กันอย่างไร (Hub คือ ศูนย์กลางการเชื่อมประสานคน/องค์กร Node คือ ชุมทางที่เชื่อมคน)

 

            แต่ละกลุ่มได้วิเคราะห์ Hub ที่มีเกิดขึ้นได้แก่ Hub ของฮักเมืองน่าน, Hub ของเทศบาลเมืองน่าน, Hub ของทหาร เป็นต้น

 

หลังจากนั้นแล้วอาจารย์ให้เราครุ่นคิดสะท้อนกลับสิ่งที่ได้วิเคราะห์ร่วมกัน และสรุปว่า กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันวันนี้แท้จริงก็คือการ Dialogue นั่นคือ การรับฟังกันอย่างลึกซึ้ง และเคารพกันละกัน รวมทั้งการนำเรื่อง System thinking มาใช้ด้วย เป็นการจัดการความรู้จากตัวคนออกมาเป็นความรู้ที่เปิดเผย และเป็นการเรียนรู้พื้นฐานที่จะนำไปสู่ Learning Organization (อาจารย์แนะให้บันทึกความคิด คำถาม สำคัญๆ ไว้ในรูปของแผนภาพของความคิด Mapping ภาษา)

 

ถ้าไม่มีคนที่ใฝ่เรียนรู้ ก็จะไม่มีทีมเรียนรู้ ไม่มีทีมเรียนรู้ ก็จะไม่มี Learning Organization ไม่มี Learning Organization ก็ไม่มี Learning Social เราต้องฝึกละความเคยชินเก่าๆ

 

กระบวนการจัดการเรียนรู้ต้องทำให้สมดุล (Balance) ในเรื่องการมีวินัยจริงจัง กับการผ่อนคลาย สบายใจ ความสุข ไม่ยึดมั่นใจทฤษฎี

 

หัวใจสำคัญของการถอดบทเรียนคือ การครุ่นคิด (Power of reflection)

เรียนรู้วันที่สอง

 

            เริ่มด้วยการครุ่นคิดว่า เครือข่ายที่มีพลังชีวิต เป็นอย่างไร ? เอาจากประสบการณ์จริงของตัวเรา ไม่ใช่ทฤษฎี

 

        สรุปเครือข่ายที่มีพลังชีวิต

             @ ข้อมูลถูกต้อง น่าเชื่อถือ ไว้วางใจ (Trusts)            @ ความสนใจของตนเอง เป้าหมายชีวิต ความศรัทธา ศักยภาพ/บุคลิกภาพภายในตัวบุคคล การเรียนรู้ตลอดชีวิต            @ เป้าหมายร่วม มีคนที่ชักชวนไปสู่เป้าหมาย            @ การเชื่อมประสานกัน และการมีนักเชื่อม            @ สถานการณ์ภายนอก/บริบทที่ส่งผลต่อการทำงานของเครือข่าย            @ การเห็นคุณค่า/เชื่อว่ามีค่า/ให้เกียรติ ให้กำลังใจคนเล็กๆ / share พลังกับคนอื่น            @ การรู้จักสร้าง บำรุงรักษา และให้อภัยกัน            @ ทลายกำแพง อคติ ที่มีต่อกัน             หัวใจของเครือข่าย คือ การเห็นเป้าหมายของชีวิตร่วมกัน เพราะเป้าหมายชีวิตจะมีพลังกว่าเป้าหมายของโครงการ ซึ่งไม่ยั่งยืน 

วิทยากรกระบวนการต้องรู้จักดึงเอาความรู้ออกมาจากผู้เข้าร่วมประชุม เป็นทักษะการสังเคราะห์ความรู้ที่มีอยู่ในตัวคนออกมา

 

โจทย์เรียนรู้

 

๑. จะทำอย่างไรให้ภาครัฐทลายกรอบไปเชื่อมกับภาคประชาชน

 

๒. ปัจจัยสำคัญๆ ที่ทำให้เกิดการป้อนกลับพลังทวีคูณ (จากประสบการณ์กรณีน้ำท่วม)

 

สรุป

@ วัฒนธรรมขององค์กร (Core Value)@ การสื่อสาร / ข่าวสาร@ การเชื่อมที่ตัวคน ไม่ใช่องค์กร@ สภาวะผู้นำกับ Reinforcing @ การมีนักเชื่อม/นักขาย คอยสังเกตบริบท@ ไม่ทลายกำแพง แต่ ลอด กำแพง@ การขยายความดี@ การบริหารผู้บังคับบัญชา

คำว่า บูรณาการ กับ เครือข่าย เหมือนหรือต่างกันอย่างไร ?

 

เครือข่ายที่แท้เป็นการบูรณาการ (Integrated) เป็นเรื่องของชีวิต มิใช่องค์กร เป็นเส้นความสัมพันธ์ (Relationship) ที่ไว้วางใจ เชื่อถือ ศรัทธากัน ฟังกัน เปิดใจเข้าหากัน

 

            Bonding Networks เครือข่ายที่มีสัมพันธ์แน่นแฟ้นกัน

 

            Bridging Networks สะพานที่เชื่อมเครือข่ายต่อกัน

 

            Gatekeeper ยามเฝ้าประตูที่คอยปิดเปิดให้คน เครือข่าย ได้เชื่อมต่อกัน

 

            เครือข่ายที่ดีจะต้องมีลักษณะทั้ง Bonding และ Bridging เพื่อเสริมจุดแข็งและปิดจุดอ่อนกันและกัน ซึ่งความเป็นเครือข่ายในทางปฏิบัติเครือข่ายที่เป็น Bridging กัน นานๆ เข้าอาจกลายมาเป็น Bonding กันก็ได้

             การเชื่อมโยงเครือข่ายก็คือการถ่ายเทข้อมูล (สัญญาณ) แปรให้เป็นพลัง 

โจทย์เรียนรู้ การไหลลื่นของข้อมูลข่าวสารที่มีความหมายทำให้เครือข่ายมีพลังอย่างไร ? 

Reflection

            @ ข้อมูลที่ชัดเจนแม่นยำ ที่มีความหมาย (Information Management)            @ การจับดูสัญญาณเตือนทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ ความรู้แบบโบราณ มาปรับใช้กับความรู้สมัยใหม่

            @ พลังแห่งบริบทมีความสำคัญ

 โจทย์เรียนรู้           

ครุ่นคิด

๑. เหตุ/ปัจจัยสำคัญในการสร้างเครือข่ายที่มีชีวิตชีวา                       

๒. เราได้เรียนรู้อย่างไรในการทำงานแบบบูรณาการ

            แล้วแลกเปลี่ยนกันและกัน

 อาจารย์สรุปเพิ่มเติมว่า เรื่องเครือข่ายเป็นเรื่องของเส้นความสัมพันธ์ของมนุษย์ ภายใน-ระหว่าง Hub, Node การดูแลเครือข่ายคือการดูแลความสัมพันธ์ Hub ที่ดีต้องมีทีมที่แข็งแรง มีเป้าหมายชีวิตร่วมกัน (พลังชีวิต) การเชื่อมเครือข่ายข้าม Bridging ต้องอาศัย ล่าม คนที่จะคอยเชื่อมและสื่อความหมาย 

การเรียนรู้วันที่สาม            

เริ่มด้วยการครุ่นคิด เครือข่ายอนาคตแห่งเทศบาลเมืองน่านเป้าหมายร่วมคืออะไร ? มี Hub หรือไม่ มี Node หรือไม่

            เป้าหมายร่วมเป็นหัวใจที่มองเห็น แต่ไม่ใช่สมองเห็น

             สรุป@ คุณภาพชีวิต@ โครงสร้างพื้นฐานฐานะความปลอดภัย@ พื้นที่สีเขียว......กลางชุมชน@ สุขกาย/ใจ@ ครอบครัว/องค์กรมีความสุข@ เศรษฐกิจเชิงคุณภาพ (พอเพียง) Creative Economy การบ้านของพวกเรา 

            ๑.น้ำท่วม ให้เขียนเรื่องราวออกมาเป็น Story Telling แล้วค่อยสรุปสังเคราะห์การจัดการเครือข่าย ตามแนวทางเรื่องการจัดการเครือข่าย (ไม่ต้องรีบ แต่อย่าช้าเดี๋ยวลืม)

 

            ๒. เครือข่ายอนาคตแห่งเทศบาลเมืองน่าน ให้ปลัดเทศบาล (คุณอมรรัตน์ ยาแก้ว) ไปคิดดูแล้วฟอร์มคณะทำงานด้านวิชาการมาดูบทเรียน ประสบการณ์ วิชาการที่เคยทำมาแล้ว และสังเคราะห์ออกมาให้เห็นว่ามีอะไรบ้าง ขาดอะไร ประมาณเดือนเมษายน ๒๕๕๑ อาจารย์จะมาช่วยอีกครั้ง

            สรุปว่าการเรียนรู้ไม่มีวันจบครับ ต้องเรียนรู้ พัฒนาต่อยอด อาจารย์ก็จะมาเติมเต็มให้เป็นระยะๆ แต่ความรู้จะฝังลึกเข้าไปในตัวเราหรือไม่ อยู่ที่การปฏิบัติ สติมาปัญญาเกิดครับ
หมายเลขบันทึก: 161368เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2008 16:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท