เพลงลิขสิทธิ์


เพลงลิขสิทธิ์

เมื่อวานนั่งดูทีวีที่บ้าน มีสกูปข่าวเรื่องการก๊อบปี้เพลง หนัง cd เถื่อน เห่อ เรื่องนี้ถือว่าเป็นปกติของสังคมทั่วโลกไปแล้ว ขนาดเด็กอายุน้อยๆ ก็สามารถก๊อปปี้ได้สบายๆ ไม่ได้ยุ่งยากอะไร ในสกูปฯ ก็จะไปสัมภาษณ์บุคคลต่างๆ เช่น เจ้าของค่ายเทปดังๆ คนขายเทปเพลง วัยรุ่นหลายคน ก็ให้สัมภาษณ์ต่างๆ นาๆ พอสรุปได้พอสังเขปคือ ผลกระทบของการก๊อปปี้เพลง หรือหนัง cd เถื่อน ทำให้ศิลปินขาดรายได้ที่แท้จริง เพลงดังแต่ไม่มีตังค์ใช้ ไม่มีกำลังใจในการทำงานเพลง (ศิลปะ) ทางวัยรุ่น(ผู้ที่ copy ฟังฟรี ดูฟรี หรือผู้ที่เสียเงินน้อยแต่ได้ฟังเพลงเยอะ) ก็ให้คำตอบว่า มันง่าย อยากฟังแค่บางเพลง อยากได้แค่ไม่กี่เพลง จ่ายเงินไม่กี่ร้อยก็ได้เพลงมาฟัง เกือบร้อยกว่าเพลง ประหยัดตังค์ บางคนก็ดีหน่อย เลือกฟังเพลงถ้าชอบก็ช่วยไปซื้อของแท้มาฟัง อันนี้ก็นะ จริงหรือเปล่าก็ไม่รู้ ส่วนใหญ่ก็จะพูดอ้อมๆ อ้างโน่นอ้างนี้  ถามว่าผมฟังเพลง mp3 เถื่อนไหม ก็ตอบได้เลยว่าฟัง แค่เข้าเว็บ ก็ download มาฟังได้แล้ว หรือไม่ก็ถามพี่ๆ น้องๆ เขามีก็ copy มาฟังซะ ชอบบ้างไม่ชอบบ้าง ฟังแล้วเบื่อ หาเพลงใหม่มาฟัง ถามว่าผมจะไปซื้อของแท้มาฟังไหม ตอบได้เลยว่าคงไม่ ผมไม่ได้ต้องการเสพเพลงขนาดนั้น ไม่ได้ชอบจนจะเป็นจะตาย แค่ฟังไปงั้นๆ  (เลวเนอะ เฮ่อๆ) ก็น่านแหละคือสิ่งที่เป็นความจริงในปัจจุบัน สังคมปัจจุบันเป็นแบบนี้จริงๆ ก็จะมีพวกที่ต้องการเสพจริงๆ ไม่กี่คนหรอกครับ

เช้ามาผมก็ขับรถ แล้วก็คิด ถ้าเป็นผมขายเพลง ผมจะแก้ปัญหายังไง.... เออนั้นว่างจัด คิดวิเคราะห์ดูว่าเหตุใดจริงมีการ copy กันง่าย ขอแยกเป็นข้อๆ เลยนะ เหตุใดผมถึงไม่ซื้อ

  1. เพลงที่ต้องการหาง่าย ในเน็ตก็มี ถามเพื่อนเอาก็ได้ ขนาดน้องก็ยังมี แป็บเดียวก็ได้ ในความที่มันง่าย ก็ไม่จำเป็นต้องเสียตังค์ซื้อ (ประหยัดเงินไปตั้งหลายร้อย) ฟังไม่กี่วันก็เบื่อ เดี๋ยวก็มีเพลงใหม่มาอีก
  2. ผมไม่ใช่คนบ้าเพลง ไม่ได้ต้องการเสพจนจะเป็นจะตาย ฟังวิทยุก็ได้ ก็คือ Demand ความต้องการน้อย มีสิ่งทดแทนได้ และเยอะ ก็ไม่จำเป็นต้องซื้อ (หลักการตลาด นิดหนึ่ง)

แค่ 2 ข้อนี้มันก็น่าจะ ok แล้วละ บอกไปเลยว่าไม่ต้องไปปลูกจิตสำนึกอะไรหรอก 100 ปี มันก็ไม่เปลี่ยน อีก 100 ปีมันก็ไม่ซื้อ จริงไหม

วิเคราะห์ทางผู้ผลิตบ้าง

  1. ผู้ผลิตสามารถผลิตเพลงได้ง่าย เร็ว และสามารถผลิตได้จำนวนมากๆ ได้ สามารถหาศิลปินหรือยัดเยียดเพลงให้ผู้ฟังมากเกินไป  ทำไมนะเหรอ มันทำให้เพลงไม่มีคุณค่า เปรียบเทียบกับภาพวาด เอาที่ดังๆ อย่างโมนาริซา ลองคิดดูนะ ถ้าภาพโมนาริซา ป้ำภาพมาเป็นหมื่นภาพ คิดดูว่าราคาภาพมันจะเหลือเท่าไหร่ คงไม่กี่ร้อยนะว่าไหม  โทษใครไม่ได้ โทษที่ผู้ผลิตเองว่าหวังกำไรมากเกินไป ก็สมควรแล้วที่เจอแบบนี้ (มารจริงๆเลยเรา)

คิดได้ข้อเดียวเอง เออ แต่ก็น่าจะเห็นภาพบ้างละ คราวนี้วิธีแก้ปัญหา แบบแปลกๆ

  1. เลิกผลิตเยอะๆ ผลิตออกมาไม่ต้องมาก ขายน้อยๆ ขายแพงๆ เอาจนศิลปินพอใจ เหลือชิ้นเดียวยิ่งดี ทำไมนะเหรอ ถ้าคุณคิดว่างานเพลงของคนคืองานศิลป งานที่ออกมามันก็ต้องมีคุณค่าจริงๆ คนที่จะจ่ายเงินซื้องานศิลปของคุณ หรือผู้ที่ต้องการเสพงานของคุณก็ต้องมองเห็นคุณค่าของมัน และยอมเสียเงินเพื่อเสพสุขตรงนั้น คุณจะกำหนดราคาแพงขนาดไหนก็ได้ เท่านี้ศิลปินก็ได้จำนวนเงินที่ตนพอใจ ไม่ได้ไปเครียดว่าใครจะมาก๊อปปี้อะไร ถึงก๊อปปี้ คุณได้เงินตามที่คุณต้องการแล้วนี่ ก็ไปฟ้องศาลเอาเอง เพราะคุณผลิตมาชิ้นเดียว หากมีการก๊อปปี้จริงคุณก็รู้เลยว่าใครทำ ... จริงไหม

แค่นี้คิดว่าน่าจะแก้ปัญหาได้แล้วละ แต่ข้อเสียคือ ค่ายเพลงต่างๆ คงเจ้ง  เม็ดเงินในธุรกิจนี้จะลดลงจำนวนมาก ศิลปินคงไส้แห้ง... งานเพลงคงน้อยลงเยอะ ศิลปินมีคุณภาพมากขึ้น มีแต่หัวกะทิจริงๆ ที่อยู่รอดได้... 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #เพลงลิขสิทธิ์
หมายเลขบันทึก: 161289เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2008 08:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ถ้าพูดในมุมของผู้ผลิต..ก็คิดว่าการโหลด ก๊อบปี้มันแย่มาก ๆ เพราะทุกงานที่ผลิดออกมาก็ตั้งใจและอยากให้ผลที่ได้รับมันค้มค่าที่สุด

แต่ถ้าเป็นผู้บริโภคอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ หากให้ไปเสียเงินซื้อแล้วได้เพลงห่วย ๆ เพลงไม่โดน...หรือรับรู้  รู้สึกได้ว่าผลงานที่ตัวเองต้องเสียเงินซื้อมา..เหมือนไม่ตั้งใจทำ.....คือไม่คุ้มค่ากับเงินที่เสียไป...สู้โหลดมา  ก๊อบปี้มาไม่ดีกว่าเหรอ.........

 แต่ถ้ามองแบบเป็นกลางที่สุด

1.เอาใจเขามาใส่ใจเรา

2.อย่าเอาเปรียบคนอื่น

3.ไม่เห็นแก่ตัวจนเกินไป

4.ทำอะไรรู้ผิดชอบชั่วดี

 คิดว่าดีที่สุด

เพราะมันเป็นเพียงความขัดแย้งทางความคิด  ส่งผลให้เกิดการกระทำที่ขัดแย้งทางความรู้สึกตามมา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท