มาตรา105 ในป.วิฯอาญาของไทยเป็นหลักเกณฑ์ที่ขัดกับหลักสิทธิในการสื่อสารตามหลักสิทธิมนุษยชนหรือไม่


าหากเป็นการกระทำเพื่อความถูกต้องก็สามารถทำได้ แต่จะต้องกระทำไปตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้อย่างเคร่งครัด

     จากมาตรา 105 ในป.วิฯอาญาของไทยที่บัญญัติว่า "จดหมาย ไปรษณียบัตร โทรเลข สิ่งพิมพ์หรือเอกสารอื่นซึ่งส่งทางไปรษณีย์และโทรเลข จากหรือถึงผู้ต้องหาหรือจำเลย และยังมิได้ส่งถ้าเจ้าหน้าที่ต้องการเพื่อประโยชน์แห่งการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้อง พิจารณาหรือการกระทำอย่างอื่นตามประมวลกฎหมายนี้ ให้ขอคำสั่งจากศาลถึงเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์โทรเลขให้ส่งเอกสารนั้นมา "

          ถ้าอธิบดีกรมตำรวจหรือข้าหลวงประจำจังหวัดเห็นว่าเอกสารนั้นต้องการใช้เพื่อการดังกล่าวแล้ว ระหว่างที่ขอคำสั่งต่อศาลมีอำนาจขอให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายไปรษณีย์โทรเลขเก็บเอกสารนั้นไว้ก่อน

          บทบัญญัติแห่งมาตรานี้ไม่ใช้ถึงเอกสารโต้ตอบระหว่างผู้ต้องหาหรือจำเลยกับทนายความของผู้นั้น"

      จากเนื้อหาของมาตราดังกล่าว มีเนื้อหาที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเรื่องในการสื่อสาร ของผู้ต้องหาหรือจำเลย ในการเปิดอ่านจดหมาย โทรสาร โทรเลข หรือเอกสารหรือสิ่งสื่อสารต่างๆ ที่ใช้ในการติดต่อกับบุคคลภายนอก ซึ่งตาม

แข้อ12  บุคคลใด ๆ จะถูกแทรกสอดโดยพลการในความเป็นอยู่ส่วนตัวในครอบครัว ในเคหสถานหรือในการสื่อสาร หรือจะถูกลบหลู่ในเกียรติยศและชื่อเสียงไม่ได้ ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองของกฎหมายต่อการแทรกสอด หรือการลบหลู่ดังกล่าวนั้น

และ

 กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางการเมืองและสิทธิพลเมือง  ข้อ 17  บัญญัติว่า “การเข้าไปก้าวก่ายโดยพลการหรือมิชอบด้วยกฎหมายในกิจส่วนตัว ครอบครัว เคหสถาน หรือการติดต่อสื่อสารจะกระทำมิได้ บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายจากการก้าวก่ายดังกล่าว”

มีการบัญญัติว่าสิทธิดังกล่านั้นจะละเมิดมิได้ แต่ตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 36  บัญญัติว่า " บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยทางที่ชอบด้วยกฎหมาย

   การตรวจ การกัก หรือการเปิดเผยสิ่งสื่อสารที่บุคคลมีติดต่อถึงกัน รวมทั้ง การกระทำด้วยประการอื่นใดเพื่อให้ล่วงรู้ถึงข้อความในสิ่งสื่อสารทั้งหลายที่บุคคลมีติดต่อถึงกัน จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน "

ซึ่งต่างตรงที่ในรัฐธรรมนูญนั้นมีการบัญญัติข้อยกเว้นไว้ ว่าการละเมิดสิทธิในการสื่อสารดังกล่าวสามารถที่จะกระทำได้หากเพื่อความมั่นคงของรัฐหรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และต้องมีกฎหมายเฉพาะให้อำนาจไว้ ซึ่งก็คือ มาตรา 105 ในป.วิฯอาญา นั่นเอง

    ข้าพเจ้าจึงมีความเห็นว่าเหมาะสมเพราะว่าเป็นการกระทำตามกระบวนการยุติธรรมที่กฎหมายบัญญัติไว้ซึ่งก็เพื่อความยุติธรรมและเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมไม่ใช่เพื่อประโยชส่วนตัวของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะมีปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน หรือกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางการเมืองและสิทธิพลเมือง     บัญญัติห้ามไว้ก็ตามแต่ถ้าหากเป็นการกระทำเพื่อความถูกต้องก็สามารถทำได้ แต่จะต้องกระทำไปตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้อย่างเคร่งครัด

หมายเลขบันทึก: 160943เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2008 15:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท