สารเร่งจุลินทรีย์ พด.1- 7 ผลิตภัณฑ์เพื่อพัฒนาที่ดิน


        เกษตรกรส่วนใหญ่เมื่อได้ซองเชื้อสารเร่ง พด. ไปแล้ว ก็จะใช้ประโยชน์เพียงครั้งเดียวและไม่นิยมต่อเชื้อหรือขยายเชื้อ เพราะเชื่อว่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ต่อเชื้อมาจะอ่อนแรงด้อยประสิทธิภาพ และสาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ ว่าทำการต่อเชื้อผิดวิธีการและขณะนี้ทีมนักวิชาการเกษตรของกรมพัฒนาที่ดิน ได้คิดค้นวิธีการขยายเชื้อและเพิ่มปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งเทคนิคดังกล่าวนั้นก็ไม่ยุ่งยาก หากทุกคนเข้าใจวิธีการใช้ประโยชน์จาก สารเร่ง พด.1-7 และได้เรียนรู้วิธีการขยายเชื้ออย่างง่ายๆ ก็สามารถลงมือปฏิบัติทำด้วยตนเองได้

  1. สูตร พด.1 มีกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายเศษพืชสำหรับทำปุ๋ยหมัก เพื่อบำรุงดิน สารเร่ง
  2. สูตร พด.2 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการย่อยสลายเศษพืช ปลาและหอยเชอรี่ในลักษณะสด เพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำ สารเร่ง
  3. สูตร พด.3 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อสาเหตุโรครากและโคนเน่าของพืชเศรษฐกิจ สารเร่ง
  4. สูตร พด.4 เป็นสารปรับปรุงบำรุงดินที่ได้จากการผสมวัสดุธรรมชาติ ให้เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกพืชทุกชนิด และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมี สารพวกนี้ได้แก่ ยิปซั่ม หินฟอสเฟต ปูนมาร์ล เป็นต้น สารเร่ง
  5. สูตร พด.5 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการผลิตกรดและฮอร์โมนสูงใช้กำจัดวัชพืช สารเร่ง
  6. สูตร พด.6 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการย่อยสลายเศษอาหารหรือขยะสด เพื่อให้ได้ของเหลวนำไปใช้ทำความสะอาดคอกสัตว์ บำบัดน้ำเสีย
  7. สูตร พด. 7 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการสกัดสารที่เป็นประโยชน์จากพืชสมุนไพรชนิดต่าง ๆ เพื่อขับไล่แมลงศัตรูพืช

    และในสารเร่งจุลินทรีย์ พด.1 ซอง เมื่อเกษตรกรนำมาใช้ประโยชน์ตามความ
ต้องการแล้ว สามารถนำผลผลิตที่ได้ในขั้นต้นมาทำการขยายเพิ่มเชื้อจุลินทรีย์ได้อีก โดยเชื้อจุลินทรีย์ที่ขยายเพิ่มได้เองนั้น จะเป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีความแข็งแรงและมีคุณภาพสูงเหมือนเดิม ซึ่งมีขั้นตอนวิธีการทำไม่ยุ่งยากเลย และสามารถทำเองได้อย่างง่ายๆ ดังนี้

        1.การขยายเชื้อจุลินทรีย์ในสารเร่ง พด.1 ทำปุ๋ยหมัก ให้นำมูลสัตว์ 10 ก.ก. ผสมกับรำหยาบ 2 ก.ก. ใส่ลงในกระสอบปุ๋ยหรือถุงพลาสติกคลุกเคล้าให้เข้ากัน จากนั้นละลายสารเร่ง พด.1 ในน้ำแล้วนำไปผสมคลุกเคล้ากับส่วนผสมวัสดุ โดยให้มีความชื้นประมาณ 60% รัดปากถุงไว้ ตั้งทิ้งไว้บนพื้นซีเมนต์ให้หลบแดดและฝนเป็นเวลา 7 วัน จะได้เชื้อจุลินทรีย์ย่อยสลายเศษพืชเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก จากนั้นนำไปผึ่งให้แห้งในที่ร่ม จึงเก็บไว้สำหรับเป็นต้นตอเชื้อในการทำปุ๋ยหมักต่อไป โดยใช้เชื้อที่ขยายได้จำนวน 200 กรัม ต่อการหมักวัสดุเศษพืช 1 ตัน

        2.การขยายเชื้อจุลินทรีย์ในสารเร่ง พด.2 พด.5 พด.6 และ พด.7 เพื่อผลิตสารชีวภาพ ให้นำสารเร่งจุลินทรีย์ 1 ซอง ผสมกับกากน้ำตาล 2 ลิตร และน้ำ 5 ลิตร ใส่ลงในถังพลาสติกผสมให้เข้ากันแล้วปิดฝาหมักไว้เป็นเวลา 7 วัน เชื้อจะเจริญเติบโตเต็มที่ จากนั้นนำเชื้อที่ขยายได้ผสมกับรำหยาบหรือปุ๋ยหมัก 5 ก.ก. เพื่อลดความชื้น ผึ่งให้แห้งในที่ร่มและเก็บไว้ในถุงพลาสติกสำหรับเป็นต้นตอเชื้อในการผลิตสารชีวภาพต่อไป โดยใช้เชื้อที่ขยายได้จำนวน 100 กรัม ต่อการผลิตสารชีวภาพ 50 ลิตร

        3.การขยายเชื้อจุลินทรีย์ในสารเร่ง พด.3 ควบคุมโรครากและโคนเน่าของพืช ให้นำมูลสัตว์ 5 ก.ก. ผสมกับรำข้าว 1 ก.ก. ใส่ลงในกระสอบปุ๋ยหรือถุงพลาสติก คลุกเคล้าให้เข้ากัน จากนั้นละลายสารเร่ง พด.3 ในน้ำแล้วนำไปผสมคลุกเคล้ากับส่วนผสมวัสดุ โดยให้มีความชื้นประมาณ 60 % รัดปากถุงไว้ ตั้งทิ้งไว้บนพื้นซีเมนต์ หลบแดดและฝนเป็นเวลา 7 วัน จะได้เชื้อจุลินทรีย์ควบคุมโรคพืชเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก จากนั้นนำไปผึ่งให้แห้งในที่ร่ม จึงเก็บไว้สำหรับเป็นต้นตอเชื้อในการเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ ควบคุมโรคพืชต่อไป โดยเชื้อที่ขยายได้จำนวน 200 กรัม ต่อการขยายเชื้อในปุ๋ยหมัก 100 ก.ก.


คำสำคัญ (Tags): #พด1-7
หมายเลขบันทึก: 160882เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2008 10:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 15:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ห่กด่หกั่กั่แปอ่ากเดเก่าเดเก่เดี้เกปด้เหีรกดรหดะรีดรีหีระพกะกัหดั

ภัทราวี ยี่สุ่นแก้ว

หยาดได้ผงพด1-2อะค่ะพี่ดีสนใจจะเอาไปมัคปุ้ยราดต้นมะม่วงอะค่ะ



พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท